Author : คมส์ ธนนท์ศุข.
Sourceหมอชาวบ้าน 39, 459 (ก.ค. 2560) 27
Abstract : ไบโอพลาสติก หรือพลาสติกชีวิภาพ เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือของภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการลดการสูญเสียผลิตผลสดเพื่อความมั่นคงอาหาร และความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ภายใน 4 เดือน ซึ่งทำจากแป้งมันสำปะหลังและแป้งข้าวโพด เพื่อทดแทนถุงพลาสติกแบบเดิมซึ่งเป็นผลพลอยได้จากปิโตเลียม ที่ใช้เวลา 450 ปีในการย่อยสลาย ซึ่งสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม และเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในไบโอพลาสติก จึงมีการทำไบโอพลาสติก เพื่อบรรจุชุดส้มตำ พบว่ายืดอายุได้ 7-10 วัน ขึ้นกับสภาพความเย็นในการเก็บรักษา ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้งบประมาณต่อยอดในการวิจัย กับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตถุงไบโอพลาสติกขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม เพื่อตอบโจทย์ให้เกษตรกร และคนทั่วไปใช้ถุงพลาสติกชีวภาพ.


Subjectพลาสติก. พลาสติก. -- การย่อยสลายทางชีวภาพ. พลาสติกชีวภาพ.

Sourceวารสาร อพวช 16, 193 (ก.ค. 2561) 56-59
Abstractไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นสารเคมีอินทรีย์ มีลักษณะเป็นผงแป้งสีขาว คล้ายเกลือ หรือน้ำตาล ไม่มีกลิ่น ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง จัดเป็นสารที่ถูกลักลอบนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ให้สรรพคุณลดน้ำหนัก ในปี 2553 มีการตรวจสอบพบผลข้างเคียงที่อันตราย ทำให้ประเทศในแถบยุโรป รวมถึงประเทศไทย ประกาศยกเลิกใช้ และงดจำหน่ายไซบูทรามีน โดยผลจากการรับสารไซบูทรามีน จะมีอาการความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้หรืออาเจียน ท้องผูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และตามข้อต่อต่างๆ หากบริโภคไซบูทรามีนเป็นระยะเวลานาน หัวใจจะเต้นผิดจังหวะ เกิดภาพหลอน เกิดภาวะไตวาย ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดตีบตัน ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีมติยกระดับควบคุมสารไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ.2559.


Subjectผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร -- ไซบูทรามีน. ยาลดความอ้วน -- ไซบูทรามีน.

Author : มลฤดี สุขประสารทรัพย์.
Sourceหมอชาวบ้าน 39, 459 (ก.ค. 2560) 10-18
Abstract : ส้มตำ เป็นสลัดผัก ที่มีหลายรสชาติ ให้พลังงานต่ำ ไม่มีส่วนประกอบของไขมัน ส้มตำไทย เป็นอาหารสุขภาพ โดยส่วนประกอบที่นาปรุง เช่น มะละกอดิบ อุดมด้วยเส้นใยอาหาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบขับถ่ายได้ดี ถั่วฝักยาว มีบีตาแคโรทีน ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี มะเขือเทศ มีสารไลโคพีน ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง กระเทียม มีสารออร์แกโนซัลเฟอร์ ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย พริกขี้หนู มีวิตามินซีและบีตาแคโรทีน ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การบริโภคส้มตำ ควรระวังเครื่องปรุงที่ใช้เป็นส่วนผสม เช่น ผงชูรส อาจทำให้เกิดอาการชา แน่นหน้าอก กุ้งแห้ง อาจมีการผสมสีแดงปองโซ 4 อาร์ (Ponceau-4R) ซึ่งเป็นสีสังเคราะห์ ที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ถั่วลิสง อาจมีสารอะฟลาท็อกซิน ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของส้มตำ พบว่า ส้มตำไทย ให้พลังงานรวมสูงกว่าส้มตำปู หรือส้มตำปลาร้า หรือส้มตำอีสาน เนื่องจากส้มตำไทยมีการใส่น้ำตาล ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ให้พลังงานสูง อย่างไรก็ตามส้มตำไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะท้องเสียง่าย และสำหรับผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ไม่แนะนำให้กินส้มตำขณะท้องว่าง เนื่องจากน้ำมะนาวที่ปรุง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้.


Subjectส้มตำ. ส้มตำ. -- แง่โภชนาการ.

Author : วรรณสม สีสังข์.
Sourceประชาคมวิจัย 23, 138 (มี.ค.-เม.ย. 2561) 21-25
Abstract : ในปี 2018 อาหารหมักดองจำพวกกิมจิ มิโซะ โยเกิร์ต กระเทียมดอง และถั่ว ซึ่งมีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ดีต่อแบคทีเรียในลำไส้และระบบขับถ่าย ได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้คนรับประทานโปรตีนทางเลือก เช่น เนื้อหลอดแก้ว (In Vitro Meat) ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการหรือฮีม (Heme) โปรตีนสังเคราะห์จากธาตุเหล็ก หรือใช้โปรตีนจากพืชตระกูลถั่วเพิ่มขึ้น ทิศทางอาหารของปัจจุบันและในอนาคตนั้นต้องตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจำแนกเป็น 5 ประเภท คือ อาหารเฉพาะโรค อาหารพร้อมรับประทาน (ready to eat) อาหารสำหรับผู้สูงอายุ อาหารสำหรับนักกีฬา และอาหารปั่นผสมหรืออาหารทางสายยาง (tube feeding).


Subjectอาหาร. สุขภาพ.