Author : กองบรรณาธิการฉลาดซื้อ.
Source : ฉลาดซื้อ 26, 231 (พ.ค. 2563) 32-39
Abstract : ปลาทูน่า (TUNA) เป็นปลาทะเลที่นิยมรับประทานสด และนำมาทำปลากระป๋อง ปลาทูน่าอุดมไปด้วยโปรตีนและโอเมก้า 3 ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง ลดไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล ให้ไขมันต่ำและเป็นไขมันดีมีแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย โครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋อง จำนวน 28 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของโลหะหนัก 3 ชนิดได้แก่ ปรอท ตะกั่ว และแคดเมียม พบว่า ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องทุกตัวอย่าง มีปริมาณการปนเปื้อนโลหะหนักประเภทปรอท ตะกั่วและแคดเมียมไม่เกินมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข.


Subject : อาหาร. ปลาทูน่า. ปลาทูน่ากระป๋อง. โลหะหนัก. การปนเปื้อนในอาหาร. อาหารทะเลกระป๋อง. ผลิตภัณฑ์อาหาร. อาหารแปรรูป.

Author : กองบรรณาธิการฉลาดซื้อ.
Source : ฉลาดซื้อ 26, 231 (พ.ค. 2563) 25-31
Abstract : จากการขอให้มีการยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร 3 ชนิด แบ่งเป็นสารกำจัดวัชพืช 2 ชนิด คือพาราควอตและไกลโฟเซต กับสารกำจัดแมลง 1 ชนิด คือ คลอร์ไพริฟอส ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่6) พ.ศ.2563 ให้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก ครอบครอง ส่วนสารไกลโฟเซต ยังอยู่ในการควบคุมระดับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 3 หรือจำกัดการใช้ จึงมีการเก็บตัวอย่างถั่วเหลืองแบบเต็มเมล็ด และแบบผ่าซีกจำนวน 8 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาการตกค้างของไกลโฟเซต พบว่ามีการตกค้างของไกลโฟเซตจำนวน 5 ตัวอย่าง แต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน และมีการตรวจสอบหาสารที่เป็นเมตาโบไลท์หลักของไกลโฟเซต ชื่อ Aminomethyphosphonic acid : AMPA พบการตกค้างของ AMPA จำนวน 4 ตัวอย่าง การค้นพบการตกค้างของไกลโฟเซตนี้ ทำให้มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ หากบริโภคในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านความร้อนสูง เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ ฟองเต้าหู้.


Subject : ถั่วเหลือง. ไกลโฟเชต. ยากำจัดวัชพืช. Glyphosate. สารพิษตกค้างในอาหาร. สารพิษตกค้างทางเกษตรกรรม.

Author : จีระวรรณ สุทธิลักษณ์.
Source : วารสารการบรรจุภัณฑ์ 28, 4 (ก.ค.-ก.ย. 2563) 24
Abstract : บริษัท StePac ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ผลิตผลสด ประเทศอิสราเอลได้พัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับการยืดอายุผลิตผลสด ภายใต้สภาวะบรรยากาศดัดแปร (Modified Atmosphere Packaging : MAP) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยคงความสด ชะลอการสุก และรักษาคุณภาพของผลิตผลไม่ให้เน่าเสียก่อนถึงผู้บริโภค สามารถเพิ่มอายุการเก็บได้นานกว่าเดิม 50-100 เปอร์เซ็นต์ บรรจุภัณฑ์ของ StePac ถูกนำมาใช้สำหรับจัดเก็บสินค้าประเภท ผัก ผลไม้หลายชนิด เช่น บรอกโคลี บลูเบอร์รี เชอร์รี ทับทิม ฟิล์มที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เป็นพอลิเมอร์ที่มีปะสิทธิภาพในการรักษาคุณค่าทางโภชนาการ และสามารถเก็บรักษาผลิตผลสดได้เป็นเวลานาน ซึ่งจากการวิเคราะห์คุณภาพผลทับทิมในบรรจุภัณฑ์ MAP ของ StePac พบว่า สามารถรักษาปริมาณวิตามินซีได้ดีกว่าแบบไม่ใช้บรรจุภัณฑ์ เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ MAP นี้ช่วยให้ผู้ปลูก ผู้บรรจุ ผู้จัดจำหน่ายสามารถนำสินค้าวางจำหน่ายได้นานขึ้น ลดความสูญเสีย การปนเปื้อนหลังการเก็บเกี่ยว ระหว่างการขนส่งและจัดจำหน่ายได้.

Subject : บรรจุภัณฑ์อาหาร. อาหาร. การถนอมอาหาร. ภาชนะบรรจุอาหาร. อาหาร -- การเก็บและถนอม. อาหาร -- การบรรจุหีบห่อ.

Author : ภาณุภัทร พลขำ.
Source : วารสารการบรรจุภัณฑ์ 28, 3 (เม.ย.-มิ.ย. 2563) 21-22
Abstract : PRISM (Plastic Packaging Recycling using Intelligent Separation technologies for Materials) เป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกที่ใช้ในการระบุชนิดพลาสติกด้วยฉลากอัจฉริยะหรือฉลาก PRISM โดยทำเครื่องหมายบนฉลากด้วยหมึกฟลูออเรสเซนต์ หรือสารที่มีความเรืองแสงสูงที่สามารถมองเห็นได้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยเครื่องกำเนิดแสงอัลตราไวโอเลต (UV) เทคโนโลยีนี้ช่วยให้สามารถแยกความแตกต่างระหว่างพลาสติกที่ใช้กับอาหารและไม่ใช้กับอาหาร รวมถึงพลาสติกสีดำและฉลากฟิล์มหดหุ้มขวด ส่งผลให้สามารถนำพลาสติกรีไซเคิลมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่มและอาหารได้อย่างปลอดภัย เทคโนโลยี PRISM ผ่านการทดสอบใช้งานในโรงงานคัดแยกขยะ Materials Recovery Facilities (MRFs) และได้ทดลองใช้เชิงพาณิชย์กับบริษัทเครื่องดื่ม สำหรับการรีไซเคิลขวด เทคโนโลยี PRISM จึงเป็นแนวทางการจัดการขยะสำหรับกระบวนการรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อวงจรบรรจุภัณฑ์พลาสติก.


Subject : บรรจุภัณฑ์อาหาร. บรรจุภัณฑ์อาหาร -- การนำกลับมาใช้ใหม่. ขวดพลาสติก. การพิมพ์บรรจุภัณฑ์.