- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1847
Author : กองบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ
Source : ฉลาดซื้อ 24, 198 (ส.ค. 2560) 24-31
Abstract : เฉาก๊วยเป็นขนมหวานนุ่มเหนียว รับประทานพร้อมน้ำแข็ง น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำเชื่อม หาทานได้ทั่วไป ได้นำผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยยี่ห้อต่างๆ จำนวน 30 ตัวอย่างมาวิเคราะห์หาสารกันบูดคือเบนโซอิก และซอร์บิก พบว่า 14 ตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อน และอีก 16 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของเบนโซอิกและซอร์บิก ซึ่ง 1 ใน 16 ตัวอย่างนี้มีปริมาณเบนโซอิกเกินปริมาณสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้คือ 1,000 กิโลกรัมต่อเฉาก๊วย 1 กิโลกรัม ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยที่ได้รับมาตรฐาน และมีการแสดงเครื่องหมายและฉลากบนบรรจุภัณฑ์ เช่น ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วัน เดือน ปี ที่ผลิต และหมดอายุ ชื่อสถานที่ผลิตและสถานที่ตั้ง ข้อแนะนำในการบริโภคและการเก็บรักษา เป็นต้น ทั้งนี้ เฉาก๊วยชนิดที่จำหน่ายในภาชนะบรรจุนอกจากจะมีมาตรฐานที่ควบคุมโดยกระทรวงสาธารณสุข ยังมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ช่วยยกระดับคุณภาพของสินค้า และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วย
Subject : เฉาก๊วย. สารกันบูด.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2960
Author : เอนก หาลี , บุณยกฤต รัตนพันธุ์
Source : วารสารวิจัยแลพัฒนา มจธ. 40, 2 (เม.ย.-มิ.ย.2560) 283-293
Abstract : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของ สมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งใช้พืชสมุนไพรที่หาซื้อได้ในเขตตำ บลนครชุม อำ เภอเมือง จังหวัดกำ แพงเพชร เพื่อเป็นแนวทาง ในการคัดเลือกสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ทำการศึกษาประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระโดย 3 เทคนิคคือ ABTS DPPH และ FRAP รวมถึงศึกษาปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สมุนไพรที่ใช้ในการทดลองได้แก่ อัญชัน ขมิ้น ใบเตย มะรุม กระเจี๊ยบ โหระพา สะระแหน่ มะตูม ข่า ขิง มะขาม กะเพรา ตะไคร้แมงลักและมะนาว ผลการศึกษาพบว่า กระเจี๊ยบมีประสิทธิภาพใน การต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสมุนไพรชนิดอื่น โดยเฉพาะ DPPH ที่มีค่าสูงที่สุดคือ 21.21 µmol Trolox equivalents/g สมุนไพรชนิดอื่นมีค่าอยู่ในช่วง 0.39-17.62 µmol Trolox/g นอกจากนี้ยังมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกที่สุดคือ 4.83 mg of gallic acid/g สมุนไพรชนิดอื่นมีค่าอยู่ในช่วง 0.42-4.80 mg of gallic acid/g ส่วนฟลาโวนอยด์นั้น อัญชัน และกระเจี๊ยบมีปริมาณฟลาโวนอยด์สูงใกล้เคียงกันคือ 8.65 และ 7.96 mg of catechin/g ตามลำดับ
Subject : สารต้านอนุมูลอิสระ. สมุนไพร.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2153
Author : กองบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ
Source : ฉลาดซื้อ 24, 198 (ส.ค. 2560) 32-36
Abstract : กาแฟทรีอินวันเป็นกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพราะสะดวก มีรสชาติอร่อยและราคาไม่แพงมาก มีส่วนประกอบหลักคือ กาแฟ ครีมเทียม และน้ำตาล ซึ่งผสมผสานพร้อมกับวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ ทำให้ได้รสชาติกลมกล่อม เนื่องจากกาแฟประเภทนี้อาจมีปริมาณน้ำตาล ไขมันสูง จึงได้นำตัวอย่างมาทดสอบ 15 ยี่ห้อ จำนวน 18 ตัวอย่าง เพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาล ไขมัน และพลังงาน ทั้งนี้มี 7 ยี่ห้อที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะไม่มีฉลากโภชนาการ ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการดื่มกาแฟประเภทนี้ หากบริโภคมากเกินไปสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน หัวใจ และไขมันในเลือดสูง
Subject : กาแฟทรีอินวัน. น้ำตาล.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1808
Author : ดวงกมล เจริญวงศ์
Source : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 32, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2560) 46-48
Abstract : พืชดัดแปรทางพันธุกรรม หรือ Genetically Modified Crops ; Gm crops เข้ามาในห่วงโซ่อาหารมากขึ้น ประเทศที่มีการปลูกพืชดัดแปรทางพันธุกรรมเป็นอันดับต้นๆคือ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา อินเดีย จีน และอเมริกา อัตราปลูกพืชดัดแปรทางพันธุกรรมในประเทศดังกล่าวมีการเพิ่มขึ้นทุกปี พืชที่ดัดแปรทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ คือ ถั่วเหลือง (47%) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(32%) ฝ้าย(15%) จุดเริ่มต้นของการพัฒนาพืชดัดแปรทางพันธุกรรม เริ่มมาจากต้องการให้พืชทนทานต่อยาปราบวัชพืช (herbicide tolerance) และยาฆ่าแมลง (pesticide resistance) การใส่สารพันธุกรรมหรือยีนที่ต้องการลงในพืช คือ Promoter และ Terminator ในช่วงแรกมีข้อจำกัดในเรื่องของยีน ทำให้สามารถตัดต่อได้ในพืชไม่กี่ชนิด เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และน้ำมันจาก rapeseed แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถตัดต่อในพืชอื่นๆ เช่น ข้าว ฝ้าย มันฝรั่ง นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดงานวิจัยในการพัฒนาพืชดัดแปรพันธุกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารหรือสร้างมูลค่าของพืชชนิดนั้นๆ ในสหภาพยุโรป (European Union ; Eu) มีการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มีสารดัดแปรทางพันธุกรรมอย่างเข้มงวด ด้วยวิธีการแสดงฉลาก (Labelling) ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์อาหารมีการผลิตจากวัตถุดิบที่มีการดัดแปรทางพันธุกรรมมากกว่า 0.9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเมล็ดพืชที่ดัดแปรพันธุกรรม ต้องระบุว่าเป็นเมล็ดที่มีการดัดแปรทางพันธุกรรมทั้งหมด การตรวจสอบสารดัดแปรทางพันธุกรรมในตัวอย่างทดสอบสามารถวิเคราะห์โดย DNA based method อาศัยหลักการ Polymerase chain reaction (PCR)
Subject : อาหารดัดแปรงพันธุกรรม. อาหารดัดแปรงพันธุกรรม--แง่โภชนาการ.