ในปัจจุบัน "พลังงานจากแสงอาทิตย์" ถือเป็นนึ่งในพลังงานสะอาดหลักที่หลายๆ ประเทศให้ความสำคัญ และมีไอเดียใหม่ๆ ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ยิ่งนับวันมีความต้องการใช้มากขึ้น อย่างเช่น ประเทศฝรั่งเศสที่มีไอเดียดีๆ ในการนำโซลาร์เซลล์มาติดตั้งไว้ที่สุสาน ทำให้ชุมชนรอบสุสานมีไฟฟ้าใช้อย่างฃมีประสิทธิภาพ อีกทั้งคนเป็นและคนจากไปยังได้ร่วมกันรักษ์โลก ด้วยการใช้พลังงานสะอาดที่ไม่มีที่สิ้นสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

สมาคมฝรั่งเศส French associations Brier’energie และ RECIT กำลังติดตั้งม่านบังแสงโซลาร์เซลล์เหนือสุสาน ใน ชุมชนแซ็ง-โจอาคิม (saint joachim france) แคว้นเปย์สเดอลาลัวร์ (Pays de la Loire) ทางตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานการบริโภคด้วยตนเอง ซึ่งประชาชนในชุมชนประมาณ 420 คน ตกลงที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเพียง 5 ยูโร (5.20 ดอลลาร์) เพื่อใช้พลังงานที่จะผลิตจากโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งไว้ในสุสานของชุมชน

.

การตั้งโซลาร์เซลล์เหนือสุสานของชุมชนแซ็ง-โจอาคิม ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 5,000 แผง พื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 180 ตารางเมตร และผลิตไฟฟ้าได้ 1.3 เมกะวัตต์

.

Éric Boquaire ประธาน French associations Brier’energie กล่าวกับนิตยสาร PV France ว่า นอกจากการผลิตไฟฟ้าแล้ว โครงสร้างม่านบังแดด PV ยังช่วยป้องกันน้ำท่วมสุสานซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หนองน้ำ โดยการกักเก็บน้ำฝนสำหรับศูนย์กีฬาที่อยู่ใกล้เคียง การผลติไฟฟ้าจะแจกจ่ายให้กับชุมชนโดยรอบซึ่งคาดว่าจะเพียงพอสำหรับบ้าน 2,000 หลังคาเรือน และจะแบ่งปันไฟฟ้าที่ผลิตได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เอื้ออำนวยหรือลงโทษผู้บริโภคใดๆ

.

การบูรณาการการผลิตพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ถือเป็นเรื่องของการร่วมมือกันเพื่อช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม และจากข้อมูล การดำเนินการดังกล่าวควรช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการประหยัดค่าไฟฟ้ารายปีได้เฉลี่ย 150 ถึง 250 ยูโร

.

ในอนาคตหลังคาโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งในสุสาน จะกลายเป็นแหล่งพลังงานของชุมชน และยังจะกลายมาเป็นสถานที่ที่โดดเด่นของชุมชนด้วย โดยมีการจำลองทางสถาปัตยกรรมที่สะดุดตา หลังคาโซลาร์เซลล์ขนาด 1.3 เมกะวัตต์ (MW) ให้ร่มเงาแกทั้งคนเป็นที่มาร่วมอาลัย และคนที่จากไป อีกทั้งยังทำให้คนเป็นและคนจากไปยังได้ร่วมกันรักษ์โลกไปพร้อมๆ กันอีกด้วย

.

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9670000038952