Scientific American เผย (22 ม.ค.) บทความของคณะนักวิจัยจีน ไห่โถว กั่ว และกวงซิง โหลว, โซว เจียง เกา (Haitao Guo, Guangxiang "George" Luo, Shou-Jiang Gao)
ซึ่งใช้การวิเคราะห์รหัสโปรตีนของโคโรนาไวรัส อู่ฮั่น 2019 เปรียบเทียบกับรหัสโปรตีนจากโคโรนาไวรัส อื่น ๆ ที่พบในสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก งู มาร์มอต เม่น ค้างคาว และมนุษย์ พบว่ารหัสโปรตีนในโคโรนาไวรัส 2019-nCoV นั้นใกล้เคียงกับที่พบใน "งู" มากที่สุด
รายงานระบุว่า งูมักตามล่าค้างคาวในป่า ขณะที่ก็มีการขายงูในตลาดอาหารทะเลท้องถิ่นในอู่ฮั่นจึงเพิ่มความเป็นไปได้ที่โคโรนาไวรัส 2019 อาจกระโดดจากงูถึงมนุษย์ในช่วงแรกของการระบาดของโรคโคโรนาไวรัส อย่างไรก็ตามวิธีที่ไวรัสสามารถปรับให้เข้ากับโฮสต์ของไวรัสโคโรนาซึ่งมีเลือดเย็นและเลือดอุ่นต่างกันยังคงเป็นปริศนา
ผู้เขียนรายงานและนักวิจัย ต่างยังต้องตรวจสอบที่มาของไวรัสผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการ การ ค้นหาลำดับ 2019-nCoV จากงูจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เกิดการระบาดตลาดอาหารทะเลได้รับการฆ่าเชื้อและปิดตัวลงแล้ว ซึ่งทำให้มีความท้าทายในการติดตามสัตว์ที่มาจากไวรัสตัวใหม่
การสุ่มตัวอย่าง DNA จากสัตว์ที่ขายในตลาด ทั้งจากงูและค้างคาวป่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อยืนยันที่มาของไวรัส อย่างไรก็ตามผลการวิจัยที่รายงานจะให้ข้อมูลเชิงลึกสำหรับการพัฒนาโปรโตคอลการป้องกันและการรักษา
การระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019-nCoV เป็นอีกสิ่งเตือนใจว่าผู้คนควรจำกัดการบริโภคสัตว์ป่าเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน
ที่มา : Manager online 23 มกราคม 2563 [https://mgronline.com/china/detail/9630000007465]