เผยผลดำเนินโครงการขนส่งสินค้ายั่งยืนในลุ่มน้ำโขงนาน36เดือนที่ได้รับการสนับสนุนจากอียูระบุช่วยประหยัดพลังงานในภาคขนส่ง16%โดยผลจากการดำเนินงานจะเป็นแนวทางในการขนส่งของ5ชาติลุ่มน้ำโขงให้มีประสิทธิภาพต่อไป

สหภาพยุโรปได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานSWITCHAsia Programme โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน(GIZ)เป็นผู้ดำเนินโครงการฯร่วมกับสมาคมขนส่งอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS-FRETA)และสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง(MI)และได้ดำเนินงานเป็นเวลา36เดือนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2559ถึงเดือนมกราคม2562
SWITCHAsia การขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภาคลุ่มแม่นํ้าโขงมีสมาคมที่เกี่ยวข้องอีก5ประเทศได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาวเมียนมาร์ เวียดนาม และไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานปรับปรุงสภาพแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในภาคการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์และมีพิธีปิดโครงการระดับภูมิภาคเมื่อวันที่ 22มกราคม62ณโรงแรมฮิลตัน สุขุมวิท24ฯพณฯเปียร์ก้า ตาปิโอลาเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าวว่า โครงการขนส่งฯได้ช่วยเหลือและสนับสนุนกระทรวงคมนาคมทั้ง5ประเทศในการปรับปรุงกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายผลลัพธ์นี้เกิดจากการร่วมมือของพันธมิตรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญรวมถึงหน่วยงานภาครัฐSMEsด้านการขนส่งสินค้าและสมาคมการขนส่งต่างๆแนวทางการปฏิบัติที่ดีและบทเรียนที่ได้จากโครงการจะถูกนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้าที่ยั่งยืนกว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
“แผนงานSWITCH-Asiaจะสนับสนุนประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียให้มีการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนและจนถึงปัจจุบันมีโครงการจำนวนกว่า100โครงการที่ได้รับเงินทุนนี้แล้วโครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้รับเงินทุนสนับสนุนจำนวน2.4ล้านยูโรนับว่าประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของSMEsด้านการขนส่งลดการใช้เชื้อเพลิงโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ16และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย”เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าวนายชัยวัฒน์ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าการคมนาคมขนส่งถูกยอมรับว่าเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาและบูรณาการเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเพราะการคมนาคมขนส่งมีบทบาทสำคัญในการขนย้ายสินค้าบริการและประชาชนนอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเช่นการอำนวยความสะดวกด้านขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งอาเซียน
“โครงการขนส่งสินค้าได้ให้การสนับสนุน5ประเทศในการดำเนินงานโดยเฉพาะประเทศไทยก็มุ่งดำเนินงานเช่นการขับขี่ปลอดภัยประหยัดพลังงานขนส่งสินค้าอันตรายให้ปลอดภัยพัฒนามาตรฐานการให้บริการรถบรรทุกนอกจากนี้ไทยยังมุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ร้อยละ20ตามวาระการประชุมระดับโลก”ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวด้านข้อตกลงปารีสเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประเทศในกลุ่มGMSได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้สำหรับการลดการปล่อยมลพิษเวียดนามไทยและกัมพูชามุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามความตั้งใจที่กำหนดไว้ในระดับประเทศ(INDCs)ในขณะที่ลาวและพม่าตกลงที่จะดำเนินกิจกรรมบรรเทาผลกระทบ
“เมื่อเร็วๆนี้รัฐบาลของเราได้นำแผนปฏิบัติการการดำเนินโครงการด้านการขนส่ง(NDC)มาใช้ซึ่งเราคาดหวังว่าจะได้รับความสนใจอย่างมากจากทั้งภาคการขนส่งผู้โดยสารและอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าประเทศไทยมีเป้าหมายที่ท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเราลง20%ส่วนใหญ่มาจากภาคพลังงานที่ขนส่งคิดเป็น19.2%เรามุ่งมั่นต่อแผนนี้และหวังว่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเพื่อนของเราในภูมิภาคแม่น้ำโขงที่มีแผนคล้ายกันและควรจะให้ความมั่นใจว่าโครงการที่แสดงในทางปฏิบัติการประหยัดเชื้อเพลิงและCO2อย่างมีนัยสำคัญนั้นไม่เพียงเป็นไปได้แต่ยังสามารถประหยัดงบประมาณของเราได้อีกด้วย”นายชัยวัฒน์กล่าวปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวต่อว่าผลของการดำเนินโครงการขนส่งสินค้าที่ยั่งยืนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อยุทธศาสตร์ภาคการขนส่งGMS2030 กลยุทธ์นี้เตือนว่าการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อำนวยความสะดวกโดยการบริการขนส่งที่ดีขึ้นอาจนำไปสู่มลพิษและดำเนินการเพื่อต่อสู้กับมลพิษและขยายเศรษฐกิจอย่างเป็นมิตรเพื่อปกป้องชีวิตและสุขภาพของผู้คนและสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าอันตรายสามารถขนส่งได้อย่างปลอดภัยทั้งนี้ยังมีตัวแทนจากแต่ละประเทศมารวมพูดคุยถึงความสำเร็จความท้าท้าย และบทเรียนจาก5 ประเทศรวมถึงความต่อเนื่องและภาพอนาคตของการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์อย่างยั่งยืนในภูมิภาคโดยผู้แทนโครงการจากประเทศกัมพูชาลาว พม่า เวียดนาม และไทยซึ่งโครงการนี้ได้ปิดตัวลงแล้วแต่ผลงานของโครงการจะเป็นแนวทางในการพัฒนาการขนส่งที่มีประสิทธิภาพต่อไปในภายภาคหน้า

ที่มา : Manager online 23 มกราคม 2562  [https://mgronline.com/science/detail/9620000008127]