ปัญหา “สารตกค้างในผักและผลไม้” เป็นภัยใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะสารเคมีที่รู้จักกันในนามของ “ยาฆ่าแมลง” และ “ยาฆ่าหญ้า”
สารทั้งสองประเภทนี้จัดเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นสารที่มีการใช้ในภาคเกษตรกรรมเพื่อกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นอันตรายหรือก่อความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่น แมลง วัชพืช หนู สัตว์แทะ หอย และปู เป็นต้น นอกจากยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้าแล้วยังมีสารเคมีอีกหลายชนิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อกำจัดศัตรูพืช โดยสามารถแบ่งสารเคมีเหล่านี้ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการควบคุมหรือกำจัด ดังตารางนี้
สารเคมีดังกล่าวนอกจากจะมีประโยชน์ต่อทางเกษตรกรรมแล้ว แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งก็เป็นสารเคมีอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค หากสัมผัส สูดดม หรือรับประทานเข้าสู่ร่างกาย โดยสารบางชนิดก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง “พิษเฉียบพลันที่พบบ่อย” ได้แก่ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นต้น ส่วน“พิษเรื้อรัง” ได้แก่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ก่อมะเร็ง และก่อให้เกิดความพิการแก่ทารก เป็นต้น
ผลกระทบเหล่านี้นำไปสู่การยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิดในหลายประเทศทั่วโลก เช่น การยกเลิกการใช้พาราควอตในประเทศในสหภาพยุโรป กัมพูชา จีน คูเวต ลาว เกาหลีใต้ ศรัลังกา ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยมีความพยายามยกเลิกการใช้พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส เนื่องจากสารดังกล่าวเป็นสารเคมีอันตรายสะสมที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไต โรคมะเร็ง โรคตับ รวมทั้งส่งผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ และพัฒนาการทางสมองของเด็ก เป็นต้น
แต่ระหว่างนี้การป้องกันตนเองเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภคผลิตผลทางการเกษตรจึงจำเป็น เพื่อลดปริมาณสารเคมีตกค้าง เป็นการ“ลดความเสี่ยง”ก่อนที่จะบริโภค ซึ่งทำได้โดย “การล้าง” พืชผักผลไม้ให้สะอาดก่อนนำไปรับประทานหรือประกอบอาหาร โดยมี 10 วิธีล้างที่นำไปใช้ได้ตามตารางด้านล่างนี้
ที่มา : Manager online 8 ตุลาคม 2562 [https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9620000096816]