แม้ปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังจะหมดไปในช่วงกลางปีนี้ แต่ปี 2024 นี้ โลกจะยังคงมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น และสูงสุดจนทุบสถิติเดิมอีกทั้ง และบางส่วนของทวีปเอเชียรวมถึงทะเลโดยรอบทวีปจะร้อนระอุเป็นพิเศษ ทำให้เกิด ภัยแล้ง ไฟป่า และปะการังฟอกขาว ในหลายพื้นที่

.

งานวิจัย Enhanced risk of record-breaking regional temperatures during the 2023 – 24 El Niño ในวารสาร Scientific Reports งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2024 ได้ระบุว่า จะมีโอกาส 90% ที่ปี 2024 โลกของเราจะมีอุณหภูมิสูงสุดทุบสถิติเดิม

.

หลังเมื่อเดือนมกราคม 2024 ที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ได้ประกาศว่า ภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ทำให้ปี 2023 เป็นปีที่อากาศร้อนที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติเมื่อปี 1850 หรือในรอบ 173 ปี  ปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังเกิดขึ้นจะทำให้อุณหภูมิอากาศใกล้ผิวโลกสูงจนทำลายสถิติอีกครั้ง โดยบริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอันดามัน และทะเลจีนใต้ จะได้รับผลกระทบสูงเป็นพิเศษทั้งด้านอุณหภูมิ จนเกิดปะการังฟอกขาวขึ้น

.

เต๋อเหลียง เฉิน ศาสตราจารย์ภาควิชาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก หนึ่งในทีมผู้เขียนงานวิจัย กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก เคยก่อปัญหาให้หลายพื้นที่ในโลกมาแล้ว การวิจัยจึงพยายามเตือนผู้คนล่วงหน้าไว้ก่อน ด้วยการสร้างแบบจำลองเพื่อที่จะได้รู้ถึงผลกระทบ ซึ่งอาจจะแก้ไขได้ทัน

.

งานวิจัยนี้ใช้การสร้างแบบจำลองสถานการณ์เอลนีโญในระดับความรุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก จากนั้นจึงศึกษาผลกระทบด้านระดับอุณหภูมิและภัยธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ของโลก และผลจากแบบจำลองชี้ว่า ไม่ว่าเอลนีโญจะมีความรุนแรงระดับใด ก็มีความเป็นไปได้ถึง 90% ที่อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยรายปีทั่วโลกในปี 2024 นี้จะสูงจนทำลายสถิติเดิมอีกครั้ง

.

ในกรณีที่เอลนีโญมีความรุนแรงระดับปานกลาง พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจะเป็นบริเวณอ่าวเบงกอล และทะเลอันดามัน ที่น้ำทะเลจะอุ่นขึ้นตลอดทั้งปี ทำให้แนวปะการังเกิดการฟอกขาวเป็นวงกว้าง และจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล และยังกระทบไปถึงเศรษฐกิจ

.

แบบจำลองยังคาดการณ์ว่า หากเกิดเอลนีโญรุนแรงมาก พื้นที่รอบทะเลจีนใต้จะกลายเป็นอีกจุดที่ได้รับผลกระทบหนัก อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้แนวปะการังปอกขาว และยังกินวงกว้างไปถึง บริเวณป่าแอมะซอนจะเกิดภัยแล้งและไฟป่า และบริเวณอะแลสกาจะสูญเสียธารน้ำแข็งและชั้นดินเยือกแข็งอย่างถาวร

.

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9670000019361