Author : วรางคณา พงษ์สพัง
Sourceเส้นทางเศรษฐี 23,415 (เม.ย.2560) 78
Abstract : ส้มตำเป็นอาหารประจำชาติไทย ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นความสำคัญ ของภูมิปัญญาและนำมาสร้างอาหารแปรรูปให้ง่ายต่อการบริโภค และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน โดยทำส้มตำสำเร็จรูปในรูปแบบซอง ภายใต้ชื่อ ส้มตำไทยอบกรอบ ตราแม่ตุ๊ก ซึ่งใช้นวัตกรรมการผลิตแบบ Freeze Dry ที่สามารถรักษาความกรอบของชิ้นมะละกอ มะเขือเทศ หรือถั่วฝักยาวได้นานขึ้น การรับประทานส้มตำ แบบซองให้เติมน้ำเปล่า ประมาณครึ่งแก้ว ทิ้งไว้ 5 นาที คุกเคล้าให้เข้ากัน ส้มตำไทยอบกรอบตราแม่ตุ๊ก มี 3 รสชาติ คือ เผ็ดน้อย เผ็ดกลาง และเผ็ดมาก

Subjectส้มตำ--การแปรรูป.

Author : กระผมเอง... นายพี, นามแฝง
Sourceวารสาร อพวช. 15, 179 (พ.ค. 2560) 10-13
Abstract : ไอศกรีมในประเทศไทย เริ่มต้นจากการนำน้ำแข็งเข้ามาสู่สยามในเวลานั้นเป็นครั้งแรกด้วยเรือกลไฟที่มาจากสิงคโปร์ เพื่อนำขึ้นถวายรัชกาลที่ 4 ในรัชกาลที่ 5 มีการทำไอศกรีมในพระราชวัง โดยทำจากน้ำมะพร้าวอ่อนใส่เม็ดมะขามคั่ว กระทั่งในปี พ.ศ.2446 ชาวบ้านทั่วไปจึงเริ่มมีโอกาสรับประทานไอศกรีมสูตรง่ายๆ คล้ายน้ำเชื่อมที่ปั่นจนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง และต่อมาได้พัฒนาเป็นน้ำแข็งใสนั่นเอง ในรัชกาลที่ 7 เริ่มมี “ไอศกรีมหลอด” หรือนิยมเรียก “ไอติมหลอด” ที่นำน้ำหวานหลายรสหลากสีมาทำเป็นหวานเย็น แล้วเทใส่พิมพ์โลหะทรงกระบอก เสียบเรียงกันในถังเหล็กทรงกลม ที่ภายในบรรจุน้ำแข็งใส่เกลือ จากนั้นจึงหมุนถังไปมาจนน้ำแข็งเริ่มแข็งตัว จึงเสียบไม้เพื่อถือเวลารับประทาน ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นแบบตักเป็นลูกใส่ถ้วยโคลนกรอบ หรือขนมปังผ่ากลางพร้อมใส่เครื่องต่างๆตามชอบ เช่น ข้าวเหนียว ลูกชิด มันเชื่อม ถั่วลิสงคั่ว ฯลฯ ราดด้วยนมสด ผู้ผลิตไอศกรีมรายแรกของไทยคือ บริษัท ป๊อบ ผู้ผลิตไอศกรีมตราเป็ด ที่บุกเบิกการขายในรูปแบบสามล้อถีบ คนขายจะถือ Duck call เสียงดังคล้ายเป็ด จนกระทั่งในปี พ.ศ.2520 มีการตั้ง “ศาลาโฟรโมส” ร้านไอศกรีมแบบแฟรนไซส์แห่งแรกของไทย และในปี พ.ศ.2529 มีการซื้อลิขสิทธิ์ไอศกรีมสเวนเซ่นส์จากอเมริกา เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย หลังจากนั้นก็มีไอศกรีมลิขสิทธิ์ต่างประเทศเข้ามาในไทยอีกหลายยี่ห้อ อย่างไรก็ตาม ไอศกรีมแบบไทยๆ ไม่ว่าจะเป็นไอติมหลอด ไอศกรีมกะทิ ก็ยังคงพบเห็นอยู่ แม้จะมีจำนวนลดลงไปบ้างก็ตาม

Subjectไอศกรีม. ไอศกรีม--ประวัติ.

Author : กิ่งกระดังงา, นามแฝง
Sourceวารสาร อพวช. 179, 15 (พ.ค. 2560) 14-17
Abstract : “น้ำพริก” มีความหมายจากการปรุงด้วยการนำสมุนไพร พริก กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศกลิ่นแรง มาโขลก บดรวมกัน เพื่อใช้สำหรับจิ้ม โดยมีดอกแค มะเขือยาว แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือม่วง ถั่วพู และมักนิยมรับประทานคู่กับสัตว์น้ำต่างๆ เช่น ปลา กุ้ง เพื่อเพิ่มรสชาติอาหารและดับกลิ่นคาว น้ำพริกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ น้ำพริกกะปิ(ร้อยละ 54.5) น้ำพริกปลาร้า(ร้อยละ 12.6) นอกนั้นคือ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก น้ำพริกปลาทู และน้ำพริกอ่อง คุณสมบัติทางยาของน้ำพริกได้ถูกประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุขว่า นอกจากจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าแล้ว ยังช่วยประหยัดค่ารักษาสุขภาพของคนไทยปีหนึ่งไม่ต่ำกว่าพันล้านบาท จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า ร้อยละ 60 ของโรคมะเร็งมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการอดอาหาร และการอดอาหารยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง กระทรวงสาธารณสุขจึงสนับสนุนให้รับประทานน้ำพริกแทนการอดอาหาร เนื่องจากน้ำพริกมีส่วนผสมของสมุนไพรกว่า 100 ชนิด เพิ่มการสร้างเซลล์กำจัดเชื้อโรคได้ตามธรรมชาติ ส่งเสริมระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบการหายใจให้ดีขึ้น ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน และยังมีส่วนประกอบของ antioxidants และ anti-aging ซึ่งสามารถลดการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ได้ร้อยละ20 โรคลม โรคทางสมองได้ร้อยละ 26-42 และเส้นใยผักยังช่วยในระบบการย่อยอาหารอีกด้วย

Subjectน้ำพริก. น้ำพริก--แง่โภชนาการ.

Author : บุศรินทร์ สมานพันธ์ชัย
SourceFOOD FOCUS THAILAND 12, 132 (Mar. 2017) 49-51
Abstract : เมล็ดเชีย (chia seeds) เป็นพืชท้องถิ่นในแถบประเทศเม็กซิโกใต้และกัวเตมาลา เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือเป็นแหล่งของโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ที่เป็นกรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัว ก่อผลดีในการลดอันตรายของโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นแหล่งของใยอาหาร ที่มีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนัก เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดโอกาสการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันการเกิดปฏิกิริออกซิเดชันของไขมันในอาหาร และเป็นแหล่งของแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เมล็ดเชียยังมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความหนืด ความคงตัว ทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์ และเพิ่มเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มสมูทตี้ของหวาน น้ำสลัด และอาหารแช่แข็ง นอกจากนี้ยังมีการนำเมล็ดเชียมาผ่านกระบวนการให้อยู่ในรูปผงเชีย ที่มีโปรตีนสูงและมีใยอาหารสูง ในรูปน้ำมันเชียและผงเอแอลเอ จากกระแสความนิยมการบริโภคเพื่อสุขภาพ ทำให้มีโอกาสทางการตลาดของการใช้เมล็ดเชีย ผงเชีย น้ำมันเชีย และผงเอแอลเอ (ALA powder) สำหรับการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆได้อย่างเหมาะสม

Subjectเมล็ดเจีย. เมล็ดเจีย--แง่โภชนาการ.