Author : พิชญาดา เจริญจิต.
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 32, 709 (15 ธ.ค. 2562) 116-117
Abstract : ผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในปัจจุบัน จำเป็นต้องมีฉลากอาหารหรือฉลากโภชนาการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค ซึ่งได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับ 182) พ.ศ.2541 เรื่องฉลากโภชนาการโดยกำหนดให้อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ ได้แก่ อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ อาหารที่มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย อาหารทีระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขาย และอาหารอื่นๆ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด ซึ่งแบ่งตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ได้ 7 ชนิด ประกอบด้วย กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์ กลุ่มเครื่องดื่ม (พร้อมดื่ม) กลุ่มอาหารขบเคี้ยวและขนมหวาน กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ กลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ โดยในฉลากโภชนาการต้องแสดงคุณค่าต่อหนึ่งหน่วยบริโภคด้วย.

Subject : อาหาร. ฉลาก.

Author : อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช.
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 32, 709 (15 ธ.ค. 2562) 56-57
Abstract : ผักเสี้ยว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia Purpurea Linn อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เสี้ยวดอกแดง เสี้ยวหวาน ผักเสี้ยวเป็นผักที่นิยมนำยอดใบอ่อนมาประกอบอาหาร เช่น แกงผักเสี้ยวใส่ปลาย่าง แกงกับเนื้อ ใบแก่และรากจะมีรสเฝื่อน ใช้แก้ไอ ใบอ่อนกินบำรุงร่างกาย ดอกมีรสเฝื่อนผสมสมุนไพรอื่นๆ รักษาไข้เป็นยาระบาย ในด้านคุณค่าทางอาหาร ผักเสี้ยว 100 กรัม ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม โปรตีน 34 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม เส้นใย 1.8 กรัม แคลเซียม 6.3 มิลลิกรัม มีวิตามิน A,B1,B2,C และไนอะซิน.

Subject : อาหาร. พืช – สรรพคุณทางยา. ผักเสี้ยว. ยา. พืชอาหาร.

Author : ประพจน์ เภตรากาศ.
Source : ฉลาดซื้อ 26, 223 (ก.ย. 2562) 62-63
Abstract : หุ่นที่ไร้ไขมัน มีกล้ามเนื้อหน้าท้อง กำลังเป็นกระแสนิยมกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในหมู่คนรักสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รีดไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อจึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยม โดยที่ไม่รู้ถึงอันตรายของผลิตภัณฑ์ แอลคาร์นิทีนเป็นสารประกอบที่พบได้ในเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะในกล้ามเนื้อลาย แอลคาร์นิทีนถูกสังเคราะห์ขึ้นที่ตับจากกรดอะมิโนไลซีน (lysine) ซึ่งมีส่วนสำคัญในกระบวนการสลายไขมันโดยทำหน้าที่ในการขนส่งกรดไขมันอิสระเพื่อสร้างเป็นพลังงานสำหรับร่างกายเอาไว้ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ถ้าขาดคาร์นิทีน ร่างกายจะไม่สามารถนำไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ทำให้เกิดการสะสมไขมัน ทำให้อ้วน ผลข้างเคียงของการกินแอลคาร์นิทีนในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อยากอาหารเพิ่มขึ้น และมีกลิ่นตัว แอลคาร์นิทีนมีอยู่ในอาหารต่าง ๆ ตั้งแต่ ปลา สัตว์ปีก หมูเนื้อแดง และนม เป็นสารประกอบที่ร่างกายสร้างขึ้นหรือได้รับจากอาหารต่างๆ จึงไม่มีความจำเป็นต้องกินแอลคาร์นิทีน การรีดไขมันและการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อที่ดี ประหยัด และปลอดภัย คือการออกกำลังกาย และการกินอาหารสุขภาพ.

Subject : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. อาหาร.

Author : ปานชลี สถิรศาสตร์.
Source : ความรู้คือประทีป ฉ. 3 (2562) 3-7
Abstract : ความเค็มเป็นรสพื้นฐานที่ทำให้อาหารอร่อย เกลือช่วยยืดอายุอาหารจากสัปดาห์ให้ยาวหลายปี อาหารเค็มไม่เน่าเร็ว เพราะเกลือเข้าไปแทนที่น้ำในอาหาร เป็นกระบวนการดูดน้ำออกจากสสาร จุลินทรีย์จึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ การหมักดองทำให้อาหารย่อยง่ายและมีรสดีขึ้น จุลินทรีย์จะสลายกรดที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และคายสิ่งที่มีคุณต่อร่างกายออกมาหลายตัว เช่น ถั่วหมักน้ำเกลือ ให้เป็นเต้าหู้ มีโปรตีน แคลเซียม ไขมัน โอเมก้าบำรุงผิวพรรณ อาหารจำพวก แฮม ไส้กรอก น้ำจิ้ม ซอสปรุงรส ซีอิ้ว โชยุ ซอสมะเขือเทศ น้ำผลไม้ ตลอดจนเครื่องแกงต่างๆ ของประเทศไทย ส่วนเป็นอาหารที่มีเกลือ เป็นส่วนผสม เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อย.

Subject : เกลือ. การถนอมอาหาร.