Authorกนกพร เนียมศรี

Sourceวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 26, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2554) 80-81

Abstractน้ำผึ้ง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ใช้เป็นส่วนผสมในยาสมุนไพรของไทยหลายขนาน อีกทั้งนิยมนำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าและให้รสหวาน มีการนำน้ำผึ้งมาใช้แทนน้ำตาลในการทำเค้กและคุกกี้ โดยมีสูตรกำหนดปริมาณการทำเค้กในอัตราส่วนของน้ำตาล 1 ถ้วย ต่อน้ำผึ้ง 3 / 4 ถ้วย ส่วนการทำคุกกี้ไม่มีสูตรตายตัวขึ้นอยู่กับชนิดของคุกกี้ แต่ทั้งนี้การใช้น้ำผึ้งแทนน้ำตาลก็มีข้อควรระวังในขั้นตอนผสมน้ำผึ้ง ไม่ควรผสมในขั้นตอนที่ผสมแป้งแล้ว เพราะจะทำให้น้ำผึ้งลอยตัวอยู่ด้านบน ขั้นตอนการอบควรใช้อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิเดิม เพราะน้ำผึ้งไวต่ออุณหภูมิที่ใช้อบกว่าสารให้ความหวานอื่นๆและข้อควรระวังที่สำคัญ คือ ไม่ควรนำน้ำผึ้งไปใช้เลี้ยงเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะน้ำผึ้งมีแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค Botulism ส่งผลให้ระบบลำไส้ของทารกทำงานผิดปกติหรือเกิดโรคร้ายและเสียชีวิตได้

Subjectคุกกี้. เค้ก. น้ำผึ้ง.

Authorชนะ พรหมทอง, อนันต์ บุญมี, นิรันดร์ เขื่อนควบ, ธีรพงษ์ ธิวรรณ, ประพิมพรรณ จันทร์แก้ว และอาทิตย์ บริบูรณ์

Sourceวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 26, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2554) 36-41

Abstractเห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำอยู่ในกลุ่มรา มีความแตกต่างจากพืชคือ ไม่มีคลอโรฟิลล์หรือสารสีเขียวที่ใช้สำหรับปรุงอาหาร แต่เห็ดก็มีคุณค่าอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี6 โฟเลต และเกลือแร่ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้สามารถลดระดับคอเลสเตอรอล มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก เบาหวาน ภูมิคุ้มกัน ลดน้ำหนัก อีกทั้งเห็ดยังช่วยกำจัดสารปนเปื้อนในดินและเป็นตัวย่อยสลายซากพืชซากสัตว์และขยะต่างๆได้อีกด้วย

Subjectเห็ด. เห็ด -- สรรพคุณทางยา. เห็ด -- แง่โภชนาการ.

Sourceวารสาร อพวช 17, 205 (ก.ค. 2562) 24-27

Abstractลูกชิ้นนอกจากจะมีส่วนประกอบหลักคือ แป้ง เนื้อสัตว์ และไขมันแล้ว ยังมีสารอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตราย ได้แก่ สารบอแรกซ์หรือน้ำประสารทองที่ทำให้เกิดความเด้ง ยืดหยุ่น คงตัวได้นาน และไม่บูดง่าย สารกันบูดหรือกรดเบนโซอิก ซึ่งอาจสะสมและมีผลต่อไต โซเดียมที่มีปริมาณสูงซึ่งส่งผลต่อการเกิดโรคไต ความดันโลหิตสูง ฯลฯ รวมทั้งสีผสมอาหารซึ่งหากรับประทานบ่อยและนานก็จะทำให้ตับและไตทำงานหนักและมีโอกาสที่จะมีผู้ประกอบการใช้สีย้อมผ้ามาใช้ด้วย ดังนั้น การเลือกซื้อลูกชิ้นจึงต้องสังเกตเครื่องหมายรับรองของ อย. และระบุการไม่ใช้วัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ รวมทั้งการเก็บควรมีการควบคุมความเย็น เตาที่ใช้ย่างสะอาด ไม่มีคราบดำ หรือน้ำมันที่ใช้ทอดหากมีสีน้ำตาลขุ่นหรือดำควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจเกิดการสะสมของสารก่อมะเร็งได้

Subjectลูกชิ้น. บอแร็กซ์. Borax.

Sourceวารสาร อพวช 17, 205 (ก.ค. 2562) 10-13

Abstractน้ำตาลเทียมถูกค้นพบในปี ค.ศ.1879 ในชื่อของซัคคารีน (Saccharin) หรือขัณฑสกร ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 300-700 เท่า มีรสหวานจัด ติดลิ้น หากใช้มากอาจรู้สึกขม ในปี ค.ศ.1937 มีการค้นพบไซคลาเมต (Cyclamate) ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 30 เท่า ทั้งไซคลาเมตและแซคคารีนนิยมใช้ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 และ 2 เนื่องจากภาวการณ์ขาดแคลนน้ำตาลทราย จนกระทั่งในปี 1960 มีการวิจัยพบว่าทั้งแซคคารีนและไซคลาเมตก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนูทดลอง จึงทำให้ได้รับความนิยมลดลง และหลายประเทศสั่งห้ามใช้สารทั้ง 2 ชนิด ต่อมาในปี ค.ศ.1965 มีการค้นพบแอสปาร์แตม (Aspartame) ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 เท่า และมีรสชาติใกล้เคียงน้ำตาลทรายมากที่สุด ทั้งนี้ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้บริโภคได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

Subjectน้ำตาล. แซ็กคาริน.