Author : กิ่งกระดังงา, นามแฝง
Source : วารสาร อพวช. 179, 15 (พ.ค. 2560) 14-17
Abstract : “น้ำพริก” มีความหมายจากการปรุงด้วยการนำสมุนไพร พริก กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศกลิ่นแรง มาโขลก บดรวมกัน เพื่อใช้สำหรับจิ้ม โดยมีดอกแค มะเขือยาว แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือม่วง ถั่วพู และมักนิยมรับประทานคู่กับสัตว์น้ำต่างๆ เช่น ปลา กุ้ง เพื่อเพิ่มรสชาติอาหารและดับกลิ่นคาว น้ำพริกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ น้ำพริกกะปิ(ร้อยละ 54.5) น้ำพริกปลาร้า(ร้อยละ 12.6) นอกนั้นคือ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก น้ำพริกปลาทู และน้ำพริกอ่อง คุณสมบัติทางยาของน้ำพริกได้ถูกประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุขว่า นอกจากจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าแล้ว ยังช่วยประหยัดค่ารักษาสุขภาพของคนไทยปีหนึ่งไม่ต่ำกว่าพันล้านบาท จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า ร้อยละ 60 ของโรคมะเร็งมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการอดอาหาร และการอดอาหารยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง กระทรวงสาธารณสุขจึงสนับสนุนให้รับประทานน้ำพริกแทนการอดอาหาร เนื่องจากน้ำพริกมีส่วนผสมของสมุนไพรกว่า 100 ชนิด เพิ่มการสร้างเซลล์กำจัดเชื้อโรคได้ตามธรรมชาติ ส่งเสริมระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบการหายใจให้ดีขึ้น ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน และยังมีส่วนประกอบของ antioxidants และ anti-aging ซึ่งสามารถลดการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ได้ร้อยละ20 โรคลม โรคทางสมองได้ร้อยละ 26-42 และเส้นใยผักยังช่วยในระบบการย่อยอาหารอีกด้วย
Subject : น้ำพริก. น้ำพริก--แง่โภชนาการ.