Authorแก้ว กังสดาลอำไพ
Sourceฉลาดซื้อ 24, 205 (มี.ค. 2561) 62-64
Abstractอายุรเวทเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบำบัดโรคและอาหารผิดปกติของร่างกาย ซึ่งตามความเชื่อทางอายุรเวท อาหารแต่ละชนิดมีความเฉพาะในรสชาติ ความเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการให้พลังงานและผลที่เกิดหลังการย่อยต่างกัน การนำอาหารสองชนิดมาผสมกัน ต้องคำนึงถึงกระบวนการย่อยอาหารที่ถูกผสมว่าไม่ขัดขวางกัน การผสมอาหารที่ไม่เข้ากัน อาจก่อให้เกิดการย่อยที่ไม่สมบูรณ์ในร่างกาย ส่งผลให้มีการหมัก เกิดก๊าซในทางเดินอาหาร เช่น การกินนมกับกล้วย ทำให้เกิดการยับยั้งการย่อยในกระเพาะอาหาร ปรับเปลี่ยนจุลินทรีย์ธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ เกิดการสร้างสารพิษที่ก่อให้เกิดอาการไซนัสอักเสบ หนาว ไอ และแพ้อาหาร นอกจากนี้ยังมีอาหารที่รับประทานพร้อมกันไม่ได้ตามหลักอายุรเวท ได้แก่ ปลากับนม น้ำผึ้งกับเนยใสหรือกี่ ในสัดส่วนที่เท่ากัน (เนยใสหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมหรือครีม หรือเนย โดยแยกธาตุน้ำนมไม่รวมมันเนยและระเหยเอาน้ำออก) ดื่มน้ำร้อนหลังกินน้ำผึ้ง กินอาหารที่ไม่ถูกต้องตามกาลเวลา เช่น กินอาหารรสฉุนในฤดูร้อน และอาหารรสเย็นในฤดูหนาว ดื่มน้ำเย็นทันที่หลังดื่มชาร้อนหรือกาแฟร้อน


Subjectอาหาร. อาหาร -- พืชวิทยา.