Source : ฉลาดซื้อ 25, 220 (มิ.ย. 2562) 24-31
Abstract : โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 12 ตัวอย่างในปี พ.ศ.2561 เพื่อทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม พบว่าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่98 พ.ศ.2529 คือ ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ส่วนแคดเมียมไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศดังกล่าว จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) คือ แคดเมียมต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์ มผช. เช่นกัน ทั้งนี้ จากการทดสอบซ้ำในปี พ.ศ.2562 จากตัวอย่างจำนวน 15 ตัวอย่าง เป็นผลิตภัณฑ์เดิม 9 ตัวอย่างและผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 6 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์หาสารโลหะหนักตะกั่วและแคดเมียม และเพิ่มการทดสอบหาปริมาณสารกันบูดกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกด้วย พบว่า ผลทดสอบหาปริมาณโลหะหนักทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และผลทดสอบแคดเมียมผ่านเกณฑ์ มผช. ส่วนผลทดสอบหาปริมาณสารกันบูด พบบางผลิตภัณฑ์ฉลากไม่ระบุว่ามีวัตถุกันเสีย แต่ผลทดสอบพบปริมาณกรดเบนโซอิกซึ่งไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน คือไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และหลายผลิตภัณฑ์พบว่ามีปริมาณกรดเบนโซอิกในปริมาณไม่มากคือ ไม่ถึง 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม.
Subject : วัตถุกันเสีย. น้ำปลาร้า. น้ำปลาร้า -- ปริมาณแคดเซียม. น้ำปลาร้า -- ปริมาณตะกั่ว. อาหาร.