Author : หนึ่งฤทัย แสแสงสีรุ้ง และดารัตน์ พัฒนะกุลกำจร.
Source : วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 68, 211 (ก.ย. 2562) 26-27
Abstract : ในปัจจุบันการใช้กระดาษบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารมีปริมาณเพิ่มขึ้น กระดาษบรรจุภัณฑ์อาหารมีทั้งชนิดที่สัมผัสกับอาหารโดยตรง เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม และกระดาษชนิดที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ภายนอกไม่ได้สัมผัสกับอาหารโดยตรง ซึ่งแม้อาหารจะผลิตจากวัตถุดิบ กระบวนการผลิตที่สะอาด แต่บรรจุในวัสดุสัมผัสอาหารประเภทกระดาษที่มีสารอันตรายตกค้าง สารเหล่านี้ก็สามารถแพร่กระจายเข้าสู่อาหารได้ สารอันตรายที่อาจตกค้างในกระดาษสัมผัสอาหารหรือกระดาษบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือสารอนินทรีย์อันตราย เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และกลุ่มสารอินทรีย์อันตรายที่มีฤทธิ์ก่อมะเร็ง เช่น บิสฟินอล A พอลีไซคลิกแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) สารกลุ่มพทาเลต เบนโซฟีโนน ในปี พ.ศ. 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการได้นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการสำรวจปริมาณสารตกค้างกลุ่มเบนโซฟีโนน จากตัวอย่างกระดาษที่ยังไม่ผ่านการบรรจุอาหาร ผลกาศึกษาพบว่า มีการปนเปื้อนของเบนโซฟีโนน การนำกระดาษมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารจำเป็นต้องมีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและป้องกันอันตรายจากสารเคมีตกค้างสู่ผู้บริโภค.
Subject : บรรจุภัณฑ์กระดาษ. บรรจุภัณฑ์อาหาร.
แหล่งที่มาของภาพ : https://pixabay.com