milk-152319.jpg - 125.26 kB

Author : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสริมสุขภาพ.
Source : EGAT MAGAZINE 13, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2563) 46-49
Abstract : นมเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์อีกทั้งเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับทุกเพศ ทุกวัย อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน แคลเซียม ซึ่งมีความสำคัญมากในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้นมยังมีสารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามินบี 12 ใน 1 วัน เราควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2 แก้วหรือปริมาณ 400 มิลลิลิตร เพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรง ซึ่งนมมีหลายประเภท ได้แก่ นมพาสเจอร์ไรส์ นมยูเอชที และนมสเตอริไลซ์ ดังนั้นการเลือกซื้อมีหลากหลายวิธี 1. ดูวัตถุประสงค์และความต้องการดื่มนม 2. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์นมโดยอ่านข้อมูลบนฉลาก 3. สังเกตข้อมูลสำคัญต้องครบถ้วน 4. ภาชนะบรรจุต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ 5. เลือกนมที่มีเครื่องหมายสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น 6. เลี่ยงการซื้อนมจากร้านค้าที่สถานที่เก็บไม่ได้มาตรฐาน.

Subject : อาหาร. นม. น้ำนม. ผลิตภัณฑ์นม. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม. เครื่องดื่ม.
แหล่งที่มาของภาพ : https://pixabay.com

Author : ทองกร พลอยเพชรา.
Source : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว 35, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563) 36-39
Abstract : Plant-based protein หรือโปรตีนจากพืชที่ได้จากพืชตระกูลถั่ว เห็ด และสาหร่าย รวมถึงผักอีกหลายชนิดที่มีโปรตีนสูง เช่น ปวยเล้ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง เมล็ดฟักทอง แม้การรับประทานโปรตีนจากพืชจะส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นพวกเมไทโอนีน (methionine) และไลซีน (lysine) เมื่อเทียบกับโปรตีนจากสัตว์ แต่การรับประทานโปรตีนจากพืชจะช่วยลดระดับ LDL (Low density lipoprotein) – cholesterol ดังนั้นการได้รับไลซีนและเมไทโอนีนในระดับต่ำจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่การรับประทานผักอย่างเดียว อาจมีผลเสียในด้านการลดลงของอัตราการสร้างกล้ามเนื้อและมวลกล้ามเนื้อ ต่อมาจึงมีการทำ Plant-based meat หรือ Meat analogue (เนื้อเทียม) ขึ้นมาทดแทนเนื้อสัตว์ โดยอาจใช้โปรตีนจากพืชจำพวกถั่วเหลือง กลูเตน (gluten) หรือ Plan-based derivatives (PBD) ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเนื้อเทียมให้คล้ายคลึงกับเนื้อสัตว์ และคุณสมบัติของ PBD ยังช่วยในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพได้อีกด้วย.

Subject : พืช. โปรตีนจากพืช. โภชนาการพืช. พืชอาหาร. กรดอะมิโน. กรดอะมิโนในโภชนาการ. อาหาร. ไลซีน. เมไทโอนีน . Lysine. Methionine.

Author : สุพจน์ บุญแรงและวิศนี สุประดิษฐอาภรณ์
Source : พิฆเนศวร์สาร 16,1(ม.ค-มิ.ย2563)1-10
Abstract : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอาหาร โดยอาศัยความรู้ สากลทางด้านการแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร เคมีอาหาร จุลชีววิทยาอาหาร และการประกันคุณภาพอาหาร มาประยุกต์พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยและบริการวิชาการของอาจารย์ นักวิชาการและนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่จะใช้ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ในด้านการออกแบบ เครื่องมือแปรรูปตามหลักวิศวกรรม การออกแบบขั้นตอนการแปรรูปและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน การควบคุมและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ปลอดภัยจากจุลินทรีย์และสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ทำความเข้าใจในบริบทและเข้าถึงความต้องการของชุมชนทำให้เกิดหลักการผลิตสินค้าชุมชนบนฐานคิดความพอเพียง ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งองค์ความรู้จากอาหารท้องถิ่นศึกษานี้จะพัฒนานักศึกษาในหลักสูตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารให้มีความเป็นผู้บริหารจัดการผลิตอาหารที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบอาชีพและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยเป็นไปตามข้อกำหนด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนจากความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น.

Subject : อาหาร. เคมีอาหาร. ผลิตภัณฑ์. จุลินทรีย์. แปรรูปอาหาร.

Author : ศิริพร ทิพย์สิงห์, เสาวนิต ทองพิมพ์ และรัชนู เมยดง.
Source : วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 1906-9790
Abstract : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกและศึกษาคุณสมบัติของแบคเทอริโอซินจากบาซิลลัสที่แยกจากอาหารหมักของไทย โดยบาซิลลัส 258 ไอโซเลต แยกมาจากตัวอย่างอาหารหมักจำนวน 62 ตัวอย่างและนำไปศึกษาความสามารถในการผลิตแบคเทอริโอซินต้านเชื้อก่อโรคปลาด้วยวิธี agar well diffusion assay ผลการวิจัยพบว่า ไอโซเลต BB60a ซึ่งแยกมาจากผลิตภัณฑ์ปลาส้ม มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งเชื้อก่อโรคปลาที่เป็นแบคทีเรียแกรมบวก (Streptococcus agalactiae) และแบคทีเรียแกรมลบ (Aeromonas hydrophila) เมื่อจำแนกระบุชนิดของไอโซเลต BB60a ด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกับลำดับ 16S rDNA พบว่า มีความใกล้เคียงกับ Bacillus megaterium ร้อยละ 99.83 นอกจากนี้ยังศึกษาผลของแหล่งไนโตรเจนต่อ B. megaterium BB60a ในการผลิตสารแบคเทอริโอซิน พบว่า yeast extract ความเข้มข้น 12 กรัมต่อลิตรที่เป็นองค์ประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อช่วยส่งเสริมให้เชื้อผลิตแบคเทอริโอซินได้สูงสุด (p < 0.05) จากการศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นของสารแบคเทอริโอซินพบว่ามีความเสถียรในช่วง pH4-10 และในช่วงอุณหภูมิ 40-70 °C และพบว่าสารนี้ถูกทำลายได้ด้วยเอมไซม์ trypsin และ proteinase K แต่ทนต่อเอนไซม์ α-amylase และ lipase จากผลการศึกษานี้สรุปได้ว่าแบคเทอริโอซินจาก B. megaterium BB60a ออกฤทธิ์การยับยั้งเป็นแบบ broad spectrum ทนสภาพกรด-เบสได้ในช่วงกว้าง และทนต่อความร้อน จึงเหมาะสมที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงปลาเพื่อยับยั้งการติดเชื้อก่อโรคปลา.
Subject : Bacillus (Bacteria). อาหารหมัก. อาหาร. แบคทีเรีย. บาซิลลัส.