Author : ยศพิชา คชาชีวะ
Sourceเส้นทางเศรษฐี 22, 398 (มิ.ย. 2559) 54-55
Abstractนกปล่อย หรือ ลอดช่องไทย ทำจากแป้งหลัก คือ แป้งข้าวเจ้า ผสมกับแป้งมันสำปะหลัง ทำให้เหนียวและใส ใส่น้ำปูนใส เพื่อปรับค่าความเป็นด่าง ทำให้ขนมมีสีสวย และคงสภาพอยู่ตัวดี ลอดช่องไทยในปัจจุบัน มีการเพิ่มแป้งถั่วเขียวหรือแป้งซ่าหริ่มลงไปด้วย จะทำให้ขนมใส แข็ง แต่ไม่เหนียว และใส่แป้งเท้ายายม่อม หรือแป้งมันสำปะหลังดัดแปลง ให้มีความนุ่มและเหนียว ซึ่งในบทความมีวิธีการทำและส่วนผสมของลอดช่องไทย และลอดช่องสิงคโปร์บอกไว้อย่างละเอียด.

Subjectลอดช่อง--แง่โภชนาการ.

Author : พิชญาดา เจริญจิต
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 27, 593 (ก.พ. 2558) 118-119
Abstract : “ข้าวแช่” เป็นวัฒนธรรมทางด้านอาหารที่เก่าแก่ เป็นอาหารประจำฤดูร้อนของไทยในอดีต จะกินกับเครื่องเคียงหลายชนิด ได้แก่ พริกหยวกสอดไส้ ปลายี่สนผัดหวาน เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หัวหอมสอดไส้ ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้งผัดหวาน หมูสับกับปลากุเลา หมูฝอย รวมถึงกะปิทอดที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ นอกจากเครื่องเคียงแล้ว คนไทยยังนิยมกินข้าวแช่ แนมกับผักสดที่มีกลิ่นหอมและออกรสเปรี้ยวนิด ๆ เช่น แตงกวา มะม่วงดิบ ต้นหอม กระชาย และพริกชี้ฟ้าสด สรรพคุณที่ได้จากข้าวแช่ จะช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร ลดอุณหภูมิในร่างกายคลายร้อนปรับสมดุลในร่างกาย ลดอาการผิวแห้ง ปากแตก รวมถึงอาการร้อนใน เป็นต้น.

Subjectข้าวแช่--วิธีทำ--เพชรบุรี.

Author : พิชญาดา เจริญจิต
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 28, 624 (มิ.ย. 2559) 120-121
Abstract : นางเล็ด ข้าวแต๋น ข้าวพอง เป็นขนมพื้นบ้านโบราณที่ทำจากข้าวเหนียว ขั้นตอน และวิธีการทำข้าวแต๋น ข้าวพอง นางเล็ดให้นำเอาข้าวเหนียวมาแช่น้ำไว้ 1 คืนให้อ่อนตัว หลังจากแช่น้ำจนข้าวอ่อนตัวแล้ว จึงนำข้าวเหนียวมานึ่งให้สุก แล้วนำมาเข้าแบบจากนั้นนำข้าวเหนียวนึ่งมาตากแห้ง นำเอาไปทอดฟู กรอบ แล้วเอามาโรยน้ำตาลที่เคี่ยวจนเหนียว ซึ่งข้าวเหนียวที่นำมาทำข้าวแต๋นต้องเป็นข้าวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ ยังร้อนอยู่ การทอดต้องใช้น้ำมันร้อนจัด เวลาทอดต้องให้แผ่นข้าวได้รับความร้อนทั่วถึงกัน ใช้เวลาทอดขนมประมาณ 2-3 นาที แผ่นข้าวก็จะพอง กรอบได้ที่ ขนาดใหญ่กว่าเดิม ค่อยตักวางบนกระดาษซับมัน หลังจากการทอดต่อมาก็เริ่มเคี่ยวน้ำตาลสำหรับโรยหน้า ซึ่งต้องใช้น้ำตาลปิ๊ปและน้ำตาลมะพร้าว เพราะจะได้หอมอร่อยยิ่งขึ้น.

Subjectข้าวเหนียว--ผลิตภัณฑ์. อาหารพื้นบ้าน--การแปรรูป.

Author : คุณนายเขียว, นามแฝง
SourceGREEN NETWORK Iss. 72 (Dec. 2015) 25
Abstract : ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ ปรับปรุงสายพันธุ์โดยการผสมเลียนแบบธรรมชาติระหว่าง ข้าวหอมนิล และข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งทำการคัดเลือกโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพจนได้พันธุ์ข้าวที่มีความบริสุทธิ์ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง มีสรรคุณในการช่วยบำรุงร่างกาย และทำให้เกิดการสร้างคอลลาเจน ลดการอักเสบที่ผิวหนัง ช่วยลดริ้วรอย และชะลอความแก่ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคสมองเสื่อมได้ สารอาหารสำคัญที่อยู่ในข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ ประกอบด้วย โอเมก้า 3 ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก นอกจากนี้ยังมี วิตามินบี 1 เบต้าแคโรทีน ลูทีน โอลิฟีนอล แทนนิน และแกมมาโอโรซานอล ดังนั้น ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จึงเป็นอาหารสุขภาพที่ดีต่อทุกเพศทุกวัย สามารถรับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพและทดแทนข้าวขาวหรือข้าวกล้องปกติได้.

Subjectข้าวไรซ์เบอร์รี่--แง่โภชนาการ.