Author : สุจิต เมืองสุข.
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 688 (ก.พ. 2562) 50-51
Abstract : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแปรรูป ผลิตภัณฑ์ที่ได้ประกอบด้วยวาฟเฟิลอบกรอบ รสมัทฉะชาเขียวญี่ปุ่น และบลูเบอร์รี่และมันสำปะหลังอบกรอบรสดั้งเดิม รสสมุนไพร และน้ำพริกเผา เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หัวมันสำปะหลังสด ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ 2-3 บาท สามารถผลิตเป็นฟลาวแป้งมันสำปะหลัง กิโลกรัมละ 25-30 บาท จากนั้นนำฟลาวมันสำปะหลังมาผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อผลิตเป็นวาฟเฟิลอบกรอบ มีราคากิโลกรัมละ 1,000 บาท สำหรับมันสำปะหลังอบกรอบมุ่งพัฒนาเป็นขนมขบเคี้ยวสำหรับผู้รักสุขภาพ ทดแทนผู้ชอบมันฝรั่งทอด เพราะใช้กระบวนการอบแทนการทอด และยังปราศจากสารกลูเต็น ทุกผลิตภัณฑ์ผลิตภายใต้แบรนด์และมีผู้ประกอบการนำไปผลิตและจัดจำหน่ายทั้งช่องทางออนไลน์ เฟซบุ๊ก และไลน์


Subjectมันสำปะหลัง -- ไทย. มันสำปะหลัง -- การแปรรูป.

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 688 (ก.พ. 2562) 84-85
Abstractตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียเขตร้อน ลักษณะคล้ายหญ้า มีใบสูงยาวและมีกลิ่นเฉพาะตัว นำมาประกอบอาหาร ทำเครื่องดื่ม และนำไปใช้ในด้านอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมสบู่ เครื่องสำอาง การบำบัดด้วยกลิ่น หรือสกัดเป็นยา มีบางงานวิจัยเกี่ยวกับผลของตะไคร้ต่อสุขภาพในด้านต่างๆ ยกตัวอย่าง น้ำยาบ้วนปากผสมสารสกัดจากตะไคร้ช่วยยับยั้งแบคทีเรียบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดกลิ่นปาก โลชั่นกันยุงและตัวริ้นผสมน้ำมันตะไคร้ น้ำมันบำรุงเส้นผมผสมน้ำมันสกัดจากตะไคร้ช่วยลดรังแค การใช้น้ำมันหอมระเหยสกัดจากตะไคร้รักษาผู้ป่วยโรคเรื้อน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ที่จะยืนยันประสิทธิภาพของการรักษาหรือคุณประโยชน์ต่อสุขภาพได้อย่างชัดเจน จึงควรมีการศึกษาค้นคว้าต่อไป ดังนั้น ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากตะไคร้จึงควรใส่ใจและระมัดระวัง เช่น บริโภคตะไคร้ในปริมาณและวิธีการที่เหมาะสมตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอายุ สภาพร่างกาย ปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร และศึกษาข้อมูลบนฉลากก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่มีสารสกัดจากตะไคร้ก่อนเสมอ


Subjectตะไคร้. ตะไคร้ -- สรรพคุณทางยา.

English TitleEffects of tea processing on antioxidant agents in green tea

Authorกฤษฏา โกวิทยะวงศ์

Sourceวิทยานิพนธ์. (2005) 79 หน้า

AbstractFresh tea leaves contains high amount of polyphenols but more than 50 percent of these antioxidants are destroyed during processing. Therefore, effects of processing conditions on the antioxidant yield, especially, ECGC need to be investigated in order to determined the suitable processing condition for green tea processing with minimum EGCG loss. The results showed that the maximum loss of total polyphenols and tannin content occurred in panning and drying step. Polyphenols were degraded by thermo- physiochemical and oxidation reaction of enzymatic. Panning steps reduced total polyphenols and tannin around 10-15 percent on dry basis. Caffeine is more stable with only 2-3 percent reduction in every step while loss of chlorophyll loss in withering step by enzyme chlorollase was around 0.5-0.7 percent on dry basis. The tea product contained 1-3 percent moisture which was less than the standard (7 percent on dry basis). Therefore, the moisture content of tea in drying step could be increased to 7 percent by reducing the operating time. Moreover, overdrying tea product also results in unnecessary loss of total polyphenols.

ใบชาเขียวมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง แต่เกือบ 50%ของสารต้านอนุมูลอิสระจะเสื่อมสลายใน ระหว่างกระบวนการผลิต ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงผลกระทบของกระบวนการผลิตชา เขียวที่มีต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในใบชาเขียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาร EGCG ซึ่งเป็นสารที่ พบในปริมาณมากที่สุด เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสื่อมสลายของสารต้านอนุมูล อิสระและ เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตชาเขียวเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ชาเขียวที่มี คุณภาพสูงนั่นคือมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง จากการศึกษาพบว่า การคั่วจะเป็นขั้นตอนที่ทำให้สารต้านอนุมูลอิสระสูญเสียไปมากที่สุดประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักแห้ง แต่ทำให้คาเฟอีนสูญเสียไปประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ โดย น้ำหนักแห้งเท่านั้น ส่วนคลอโรฟิลล์นั้นจะสูญเสียมากที่สุดในขั้นตอนการผึ่งประมาณร้อยละ 0.5- 0.7 โดยน้ำหนักแห้ง นอกจากนี้ ความชื้นของผลิตภัณฑ์ชาที่ได้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1-3 ของ น้ำหนักแห้ง ซึ่งน้อยกว่าค่าความชื้นมาตรฐาน (7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง) จากข้อมูลสามารถสรุปได้ว่าการที่จะทำให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูญเสียไปน้อยที่สุดนั้น ควร ที่จะพิจารณาถึงสภาวะในการทำงานในขั้นตอนการคั่ว ซึ่งควรที่จะคั่วในสภาวะที่ใช้เวลาน้อย อุณหภูมิต่ำ ทั้งนี้ควรที่จะพิจารณาถึงกลิ่นและรสชาติด้วย นอกจากนี้ ชาที่ผ่านกระบวนอบแห้งควร ที่จะมีความชื้นอยู่ที่ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ โดยการลดเวลาการอบแห้ง ซึ่งจะเป็นการช่วยลด พลังงานในการอบแห้ง

SubjectGreen tea. Antioxidants. ชาเขียว. แอนติออกซิแดนท์. สารต้านอนุมูลอิสระ. ชาเขียว -- การผลิต.

English TitleElectrospinning of ultrafine cellulose acetate-egg albumen blend fibers

Authorมนัสชื่น ปฐพีจำรัสวงศ์

Sourceวิทยานิพนธ์. (2007) 61 หน้า

AbstractThis research was, for the first time, conducted to fabricate edible nanofibrous membrane from cellulose actate (CA) and egg albumen (EA) blend using electrospinning technique. The main objective of the work was to study the effects of solution properties including viscosity,surface tension and electrical conductivity on nanofiber formation and to investigate a potentiality in electrospinning of the blend. In this work, the blend nanofibers were electrospun from blend solutions of CA in 85 percent acetic acid and EA in 50 percent formic acid. The percentage ratio of CA to EA was varied form 100:0 to 91:9, 77:23, 68:33 and 0:100. The effect of the blending ratio on the solution properties and morphology of the electrospun particles (i.e., droplets, beads, beaded fibers or fibers) as examined by SEM were studied. In the case of the blend, the results showed that low entanglement with high surace tension properties attributed to EA component was the major cause of the failure of fiber formation. However, addition of both CA and surfactant,namely,Tween 40(~10- 23% w/v) could promote fiber formation. Addition of CA enhanced polymer entanglement in terms of a higher solution viscosity whilst addition of Tween 40 slightly lowered the electrical conductivity and substantially reduced the surface tension of the blends. Average diameters of the blend fibers were 265±48, 242±32, 384±54 and 410±38 nm corresponding to the percentage ratios of CA:EA of 100:0, 91:9, 77:23, and 67:33, respectively. SEM micrographs showed that the blend nanofibers became more continuous and had smoother surface as EA ratio increased from 9 to 33 percent. The components of the electrospun fibers, as examined by FTIR and TGA, indicated that the blend fibers were composed of both CA and EA. TGA data analysis also revealed that the constituent ration of EA in the electrospun blend fibers was higher than that of the blend solutions.

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแรกที่ทำการผลิตเยื่อแผ่นเส้นใยนาโนที่รับประทานได้จากส่วนผาสมของเซลลูโลสอะวิเตทและไข่ขาวด้วยวิธีการปั่นด้วยไฟฟ้าสถิต ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาผลของสมบัติของสารละลายได้แก่ความหนืด แรงตึงผิวและการนำไฟฟ้า ที่มีต่อการขึ้นรูปเส้นใยนาโนและศึกษาความเป็นไปได้ของวิธีการปั่นด้วยไฟฟ้าสถิตเพื่อผลิตเส้นใยจากสารผสมดังกล่าว โดยในงานวิจัยนี้เส้นใยนาโนผสมถูกผลิตด้วยวิธีการปั่นด้วยไฟฟ้าสถิตจากสารละลายเซลลูโลสอะซิเตทในกรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 85 และสารละลายไข่ขาวในกรดฟอร์มมิกความเข้มข้นร้อยละ 50 สัดส่วนสารผสมของเซลลูโลสอะซิเตทกับไข่ขาวถูกปรับแปรจาก 100:0 เป็น 91:9 77:23 67:33 และ 0:100 จากนั้นจึงได้ศึกษาผลของสัดส่วนผสมที่มีผลต่อสมบัติของสารละลาย และสัณฐานวิทยาของอนุภาคที่ได้ (คือหยด ลูกปัด ลูกปัดผสมเส้นใยหรือเส้นใย) ซึ่งตรวจสอบโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษาในกรณีของสารผสมแสดงให้เห็นว่า สมบัติการเกี่ยวพันที่มีค่าต่ำและแรงตึงผิวที่สูงของสารละลายอันเนื่องจากองค์ประกอบของไข่ขาว เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ขึ้นรูปเส้นใยไม่ได้ อย่างไรก็ดี การเพิ่มเซลลูโลสอะวิเตทร่วมกับการใช้สารลดแรงตึงผิวซึ่งคือ Tween 40 (ประมาณร้อยละ 10 ถึง 23) ทำให้ขึ้นรูปเส้นใยได้ การเติมเซลลูโลสอะซิเตทช่วยเพิ่มสมบัติเกี่ยวพันแก่พอลิเมอร์ซึ่งแสดงผลในรูปของค่าความหนืดที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การเติม Tween 40 ลดค่าการนำไฟฟ้าลงบ้างและลดค่าแรงตึงผิวลงมาก เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของเส้นใยผสมที่มีขนาดเท่ากับ 265±48, 242±32, 384±54 และ410±38 นาโนเมตร สำหรับสัดส่วนผสมของเซลลูโลสอะซิเตทกับไข่ขาวเป็น 100:0, 91:9,77:23, และ 67:33 ตามลำดับภาพถ่ายระดับจุลภาคที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดแสดงให้เห็นว่าเส้นใยนาโนผสมมีความต่อเนื่องและมีผิวที่เรียบมากขึ้นเมื่อสัดส่วนของไข่ขาวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9 เป็น 33 จากผลการตรวจสอบองค์ประกอบของเส้นใยผสมด้วย FTIR และ TGA ชี้ให้เห็นว่าเส้นใยที่ได้ประกอบด้วยเซลลูโลสอะซิเตทและไข่ขาว นอกจากนี้ผลวิเคราะห์ TGA ยังแสดงว่าสัดส่วนประกอบของไข่ขาวในเส้นใยที่ปั่นด้วยไฟฟ้าสถิตนั้นสูงกว่าในสารละลายผสม

SubjectNanofibers. Eggs. Electrostatics. ไข่ขาว. เส้นใยนาโน. ไฟฟ้าสถิต.