- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 3140
English Title : Portable E-nose
Author : ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
Source : MODERN MANUFACTURING 13, 152 (ต.ค. 2558) 76-77 1685-7143
Abstract : จมูกมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้กลิ่นหลายประการ จึงเกิดแนวคิดในการจำลองระบบการรับกลิ่นเพื่อเลียนแบบจมูกมนุษย์ด้วยการสร้างอุปกรณ์ที่เรียกว่า จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Nose) โดยทีมนักวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนา “จมูกอิเล็กทรอนิกส์ ตรวจสอบกลิ่นแบบพกพา” โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ส่วนประกอบสำคัญ (Principle Component Analysis : PCA) ในการประมวลผลการวิเคราะห์วิธีนี้จะช่วยตัดปัจจัยที่มีตัวแปรความชื้นและอุณหภูมิ ออกไปจากองค์ประกอบที่คำนวณได้ ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อผลการตรวจสอบกลิ่น ปัจจุบันได้พัฒนาเครื่องต้นแบบจมูกอิเล็กทรอนิกส์ จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงกับอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อใช้ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (เมล็ดกาแฟ ชา น้ำพริกเผา ผลไม้อบแห้ง น้ำผักและผลไม้ กลิ่นสังเคราะห์ในผลิตภัณฑ์อาหาร) เครื่องหอม สินค้าอุปโภคบริโภค (ผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก) เป็นต้น ซึ่งเครื่องดังกล่าวมีความแม่นยำในการจำแนกกลิ่นได้มากกว่าร้อยละ 80.
Subject : จมูกอิเล็กทรอนิกส์--อาหาร. อาหาร--การตรวจสอบคุณภาพ. อุตสาหกรรมอาหาร--การตรวจสอบคุณภาพ.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2256
Author : ดวงกมล, นามแฝง.
Source : เส้นทางเศรษฐี 23, 414 (มี.ค. 2560) 38-39
Abstract : มาดามแมงโก้ (MADAME MANGO) คือชื่อผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้อบแห้งของดีขึ้นชื่อจากตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มะม่วงที่นำมาแปรรูปเป็นมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ เบอร์ 4 แก่จัด ไม่สุกจนงอม เพื่อให้มีไฟเบอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ขั้นตอนการผลิตเริ่มจากคัดเลือกมะม่วงน้ำหนัก 250 กรัมต่อลูก ไปผ่านการอบแห้งด้วยเครื่องอบโดยอบแบบ Soft dried แล้วจึงนำมาบรรจุในหีบห่อ นอกจากมะม่วงอบแห้งแล้วยังมีผลิตภัณฑ์จากมะม่วงอีกหลายชนิด เช่น มะม่วงกวนรูปดอกกุหลาบ น้ำมะม่วงสด มะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่ม.
Subject : มะม่วงนํ้าดอกไม้--การแปรรูป--แง่โภชนาการ.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2318
Author : วันทนีย์ เกรียงสินยศ
Source : หมอชาวบ้าน 37, 442 (ก.พ. 2559) 19-23
Abstract : ไขมัน เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เป็นองค์ประกอบสำคัญในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น เอ ดี อี และเค แหล่งของไขมันที่ได้มากและง่ายที่สุด คือ ได้จากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ น้ำมันพืช และน้ำมันที่มาจากสัตว์ มีองค์ประกอบย่อยที่เรียกว่ากรดไขมัน คือ กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids) และกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) สัดส่วนของกรดไขมันที่แตกต่างกัน น้ำมันแต่ละชนิด ทำให้น้ำมันแต่ละชนิดมีความเหมาะสมในการประกอบอาหารแตกต่างกัน น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู เป็นน้ำมันที่ทนความร้อนได้ดี เหมาะกับการประกอบอาหารโดยวิธีการทอดที่ใช้น้ำมันมาก ๆ เช่น ทอดไก้ ทอดปาท่องโก๋ สำหรับการผัดที่ใช้เวลาน้อยและอุณหภูมิไม่สูงมาก ควรใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีควรใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่น้อย จำกัดปริมาณการกินอาหารทอด กินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ เน้นการกินผักและผลไม้มากขึ้น.
Subject : น้ำมันหมู--แง่อนามัย. น้ำมันพืช--กรดไขมัน. กรดไขมัน--ประเภท. น้ำมันมะพร้าว--แง่อนามัย.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2227
Author : จีราพร แก่นทรัพย์
Source : กสิกร 89, 1 (ม.ค.-ก.พ. 2559) 48-52
Abstract : ซอสถั่วเหลือง (ซีอิ๊ว) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ใช้สำหรับปรุงรส ได้จากการย่อยสลายโปรตีนของถั่วเหลืองหรือส่วนผสมของถั่วเหลืองและข้าวสาลีโดยการหมักด้วยจุลินทรีย์ จะแต่งรสหรือสีหรือไม่ก็ได้ ตามชนิดของผลิตภัณฑ์ แล้วนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนการบรรจุ ซีอิ๊วแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ซีอิ๊วหมัก ซีอิ๊วเคมี และซีอิ๊วกึ่งเคมี ซึ่งซีอิ๊วเป็นเครื่องปรุงรสที่เป็นที่นิยมในแถบเอเชีย มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาล มีรสเค็มและมีกลิ่นเฉพาะ ซีอิ๊วช่วยเพิ่มกลิ่นรสและสีให้กับเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก และอาหารอื่นๆ ซีอ๊วในอาหารจีนและอาหารไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ซีอิ๊วขาว มีรสเค็มเหมาะสำหรับอาหารผัด การทำน้ำจิ้ม และซีอิ๊วดำ มีรสหวาน เหมาะสำหรับอาหารตุ๋น หมัก ผัด และการทำน้ำจิ้ม ซีอิ๊วในญี่ปุ่น เรียกว่า โชยุ แบ่งเป็น 5 ประเภทตามส่วนประกอบและขั้นตอนการผลิต ได้แก่ โคคิคุชิ (Koikuchi) อุซุคุชิ (Usukuchi) ทะมะริ (Tamari) ชิโระ (Shiro) และ ไชชิโคมิ (Saishikomi) ในอาหารอินโดนีเซีย ซีอิ๊วที่เรียกว่า Kecap มี 2 ชนิดคือ ซอสหวาน (Kecap manis) และซอสเค็ม (Kecap asin) จะเห็นได้ว่า ซอสถั่วเหลืองมีหลายชนิดแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมด้านอาหารของแต่ละประเทศ หากต้องปรุงอาหาร ควรเลือกชนิดของซอสถั่วเหลืองให้เหมาะกับอาหารเพื่อรสชาติที่ดีกว่า.
Subject : ซอสถั่วเหลือง--ประวัติ.