- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1974
English Title : Launch of violet fancy corn 111, new innovation of Thai farmland
Author : ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 25 ฉบับที่ 544 (กุมภาพันธ์ 2556) หน้า 79-81
Abstract : ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์แฟนซีสีม่วง 111 มีสารแอนโธไซยานินส์ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด มีวิตามิน B3 วิตามินอี Omega 6 และ 9 มากกว่าข้าวโพดอื่น ข้าวโพดสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลายประเภท เช่น ข้าวโพดอ่อนบรรจุกระป๋อง ข้าวโพดฝักอ่อนหมักเป็นน้ำส้มสายชูธรรมชาติ น้ำนมข้าวโพด ตั้งฉ่ายจากเปลือกข้าวโพดอ่อนหรือขั้วข้าวโพด ชาไหมข้าวโพด ซึ่งการแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหารเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ข้าวโพดได้ สำหรับสารแอนโธไซยานินส์ ในเมล็ดข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์แฟนซีสีม่วง 111 มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งคุณสมบัตินี้มีสูงกว่าวิตามินซีหลายพันเท่า ช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็ง ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรคและสมานแผล เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีขึ้น ส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ลดภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพิ่มความสามารถในการมองเห็น ชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ชะลอความเสื่อมของเซลล์ เคล็ดลับในการทำให้ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงพันธุ์แฟนซีสีม่วง 111 น่ารับประทาน และคงคุณค่าทางอาหารอย่างเต็มเปี่ยมมีขั้นตอนง่าย ๆ คือ ให้นำฝักข้าวโพดสีม่วงปอกเปลือกหุ้มออก โดยให้เหลือเปลือกหุ้มฝักประมาณ 2-3 ชั้น เพื่อรักษาสารแอนโธไซยานินส์ให้คงอยู่ในเมล็ดและทำให้เมล็ดมีความเต่งตึงน่ารับประทาน และนำฝักข้าวโพดไปนึ่งแทนการต้ม ใช้เวลาประมาณ 25-30 นาที นำออกมารับประทานได้ ทั้งนี้สารแอนโธไซยานินส์ จะละลายได้ดีในความเย็น ดังนั้นควรปล่อยให้ฝักข้าวโพดคลายความร้อนเล็กน้อยก่อนรับประทาน จะทำให้สีม่วงไม่ติดมือ รสชาติ และคุณค่าทางอาหารยังคงเดิม
Subject : ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง--แง่โภชนาการ, ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง--ผลิตภัณฑ์
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2039
English Title : Na-Kha-Yad unleaded Catfish slatternly popular in Switzerland
Author : อัสวิน ภักฆวรรณ
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 25 ฉบับที่ 544 (กุมภาพันธ์ 2556) หน้า 117
Abstract : บ้านโงกน้ำ ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ได้ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินชีวิตโดยการเลี้ยงปลาดุกไว้รับประทาน และเมื่อมีปลาดุกจำนวนมาก จึงรวมกลุ่มผลิตปลาดุกร้าซึ่งเป็นการถนอมอาหารไว้รับประทานได้นาน ๆ และนำไปจำหน่าย การทำปลาดุกร้ามีส่วนผสมคือ ปลาดุก 5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย และเกลืออย่างละ 2.2 มิลลิกรัม วิธีการทำเริ่มจากนำปลาดุกที่ตัดหัว ควักไส้ออก มาล้างให้สะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำนาน 3 ชั่วโมง ผสมเกลือกับน้ำตาล และยัดเกลือที่ผสมแล้วในท้องปลา คลุกตัวปลา บรรจุในโอ่งเคลือบ หมักไว้ 2 คืน จึงนำไป ตากแดดประมาณ 3 วัน ก่อนนำมาห่อด้วยกระดาษปรู๊ฟและบรรจุในถังพลาสติกมีฝาเกลียว ปิดให้มิดชิด หมักทิ้งไว้ 2 คืน แล้วนำมาแกะกระดาษออก นำปลาไปตากแดดครั้งที่สองนาน 2 วัน จากนั้นนำปลามาห่อด้วยกระดาษปรู๊ฟ เก็บในถังพลาสติก หมักไว้ 2 คืน ตากแดดอีก 5 ชั่วโมง และ เก็บในถังอีก2 คืน ก่อนนำบรรจุถุงสุญญากาศ ซึ่งปลาดุกร้าที่ได้สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 เดือน ปัจจุบันปลาดุกร้าของกลุ่มเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ชาวบ้านทั่วไป และส่งจำหน่ายไปไกลถึงประเทศสวิตเซอร์แลนด์
Subject : ปลาร้า--ปลาดุก--พัทลุง
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2127
English Title : Eating fresh fish or fish oil tablets is better
Author : สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
Source : หมอชาวบ้าน ปีที่ 34 ฉบับที่ 406 (กุมภาพันธ์ 2556) หน้า 10-18
Abstract : มนุษย์กินปลามาตั้งแต่โบราณ ประชากรที่กินปลามาก ลดโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดโอกาสเป็นอัมพาต โดยเฉพาะในผู้หญิงและลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ปลา นอกจากจะมีน้ำมันปลา (โอเมก้า 3) ยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์อีกมาก เช่น วิตามินดี วิตามินบี ซิลิเนียม แคลเซียม อาเจนนีน กลูตามีน และกรดอะมิโน (โปรตีน) การกินปลาจึงได้ประโยชน์มากกว่าการกินไขมันปลา (เป็นเม็ด) การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการกินปลาพบว่า การกินปลาทอด แซนด์วิชปลา เพิ่มโอกาสการเต้นผิดจังหวะรุนแรงของหัวใจห้องบน เพิ่มโอกาสหัวใจล้มเหลว และอัมพาตจากหลอดเลือดสมองตีบตัน ในประชากรสูงอายุ ในผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน ส่วนการกินปลาอบหรือต้ม กลับลดโอกาสดังกล่าว การกินปลาให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพควร หลีกเลี่ยงการกินปลาทอด และกินปลาเป็นอาหารหลักอย่างน้อย 2-3 มื้อต่อสัปดาห์ จะเป็นปลาทะเล หรือปลาน้ำจืดก็ได้
Subject : ปลา--แง่อนามัย, น้ำมันปลา--แง่อนามัย, กรดไขมันโอเมกา 3--น้ำมันปลา, ปลา-- แง่อนามัย--งานวิจัย, อาหารเสริม--น้ำมันปลา--แง่อนามัย, ปลา--การแปรรูป--แง่อนามัย, กรดไขมันโอเมก้า 3--แง่อนามัย, กรด
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2807
English Title : Why E-san sausage?
Author : พิชญาดา เจริญจิต
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 25 ฉบับที่ 544 (กุมภาพันธ์ 2556) หน้า 106-107
Abstract : ไส้กรอก เป็นภูมิปัญญาโบราณที่ใช้ในการถนอมอาหารจากเนื้อสัตว์ ไส้กรอกเป็นอาหารที่หลายชนชาติทำ จึงทำให้ไส้กรอกมีรสชาติ รูปร่างลักษณะหลากหลาย เช่น กุนเชียงของจีน ไส้กรอกปลาของญี่ปุ่น ไส้กรอกอีสาน ไส้อั่ว ไส้กรอกปลาแนม หม่ำ ไส้กรอกอีสานเป็นอาหารดั้งเดิมของชาวอีสาน ปัจจุบันมีการปรับส่วนผสมของเครื่องที่ยัดไส้ให้เข้ากับรสปากและชนิดอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น จึงมีไส้กรอกมากมายหลายชนิดตามความต้องการของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอกปลา ไส้กรอกวุ้นเส้น ไส้กรอกหม่ำ ไส้กรอกเห็ด เป็นต้น ไส้กรอกอีสานเป็นอาหารพื้นบ้านที่ทำง่าย เพียงนำเนื้อหมูบด ผสมกับกระเทียม และเกลือ นวดให้เข้ากันจนเหนียว แล้วนำมายัดใส่ในไส้หมู จากนั้นนำไส้กรอกที่ได้มาผูกเชือกเป็นข้อๆ แล้วแขวนผึ่งแดดประมาณ 1 วัน ก็สามารถนำมาทอด ปิ้ง รับประทานหรือจำหน่ายได้
Subject : ไส้กรอกอีสาน--การหมัก, ไส้กรอกอีสาน--การผลิต