- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1750
Author : แก้ว กังสดาลอำไพ
Source : ฉลาดซื้อ 26, 222 (ส.ค. 2562) 64-66
Abstract : นักวิทยาศาสตร์พยายามคิดค้นกระบวนการแก้ไขหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องเข้าข่ายเป็นการสร้างสิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) เพื่อเลี่ยงปัญหาที่ค้างคาใจของสังคมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตจีเอ็มโอ ซึ่งเป็นยีนแปลกปลอมที่หลงเหลือในเซลล์สิ่งมีชีวิตหลังถูกดัดแปรพันธุกรรม นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทำการค้นพบวิธีใหม่ ด้วยการใช้หลักการของเทคนิค Crispr มาใช้กับสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์กินเป็นอาหาร เพื่อแก้ไขจีโนมให้เปลี่ยนจากเดิมไปเป็นตามที่ผู้แก้ไขต้องการ โดยไม่มีการใส่ชิ้นส่วนของ DNA ที่เตรียมขึ้นในห้องปฏิบัติการเข้าไปเหมือนกรณีจีเอ็มโอทั่วไป ซึ่งวิธีนี้มีความปลอดภัยพอๆกับสิ่งมีชีวิตที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม แต่การแก้ไขจีโนมด้วยวิธีนี้ ไม่ควรตัดหรือเพิ่มยีนมากเกินไป เพราะอาจมีผลรุนแรงต่อการแสดงออกของลักษณะสิ่งมีชีวิตนั้น
Subject : อาหาร. อาหารตัดแต่งพันธุกรรม.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1885
Author : แก้ว กังสดาลอำไพ
Source : ฉลาดซื้อ 26, 221 (ก.ค. 2562) 64-66
Abstract : อาหารจีเอ็มโอ หรือ อาหารแก้ไขจีโนม เป็นอาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่มีการดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งอาหารในลักษณะนี้จะใช้หลักการการเปลี่ยนส่วนใดส่วนหนึ่งของ DNA ทำให้ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนไป โดยใช้เทคนิค Crispr ซึ่งสิ่งสำคัญของเทคนิคนี้ คือ จะต้องรู้ตำแหน่งของจีโนมหรือยีนที่ต้องแก้ไข และทำให้โปรตีนต่างๆที่ห่อหุ้ม DNA ของเซลล์สิ่งมีชีวิตหลุดออกก่อน แล้วจึงใช้เอนไซม์ตัดสาย DNA ออก จากนั้นนำชิ้นส่วน DNA ที่เตรียมขึ้นในห้องปฏิบัติการเข้าไปแทนที่ในส่วนที่ตัดออก แล้วเชื่อมต่อชิ้น DNA ใหม่กับส่วนของ DNA เดิมด้วยเอนไซม์ DNA ligase จะได้ DNA สายใหม่ ทำให้การแสดงออกของสิ่งมีชีวิตนั้นมีลักษณะใหม่ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงอาหารให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้ว ยังถูกนำมาใช้แก้ไขข้อบกพร่องของการก่อโรคทางพันธุกรรมในมนุษย์ตลอดจนการบำบัดและป้องกันการแพร่กระจายของโรค
Subject : อาหาร. อาหารตัดแต่งพันธุกรรม.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2323
Author : ภาสกิจ วัณนาวิบูล
Source : หมอชาวบ้าน 41, 486 (ต.ค. 2562) 30-34
Abstract : เก๋ากี้เป็นสมุนไพรและใช้ปรุงประกอบในอาหารหรือเครื่องดื่ม มีชื่อว่าโกจิเบอร์รี่หรือวอล์ฟเบอรี่ (Goji-berry or wolfberry) มีบทบันทึกในคัมภีร์แพทย์แผนจีนโบราณ จัดให้เก๋ากี้เป็นยาและอาหารเกรดสูง กินได้นานต่อเนื่องไม่มีพิษ สรรพคุณทางการแพทย์แผนจีน ช่วยรักษาสุขภาพทำให้อายุยืนยาว รักษาสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย บำรุงสายตา ปกป้องรักษาตับ รักษาอาการคอแห้ง เบาหวานระยะแรก ทั้งนี้ ต้องกินเก๋ากี้ที่มีคุณภาพและกินให้ถูกวิธี ปริมาณควรอยู่ที่ 15-30 กรัมต่อวัน ควรกินอย่างน้อย 3 เดือน เพราะระยะเวลาน้อยเกินไปจะไม่เห็นผล ไม่ควรกินพร้อมน้ำชา เพราะจะลดสรรพคุณทางยา และอย่าเก็บไว้นานเกินไป คุณภาพจะเสื่อมได้ มีข้อควรระวังคือ ห้ามกินปริมาณมากในผู้ป่วยร้อนในง่าย มีความดันสูง หงุดหงิด มีไข้สูง เพราะเก๋ากี้มีฤทธิ์อุ่นกินมากจะทำให้เกิดความร้อนในร่างกาย
Subject : โกจิเบอร์รี่. โกจิเบอร์รี่ -- สมุนไพร. โกจิเบอร์รี่ -- สารอาหาร.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1973
Author : ศศพินทุ์ ดิษนิล, ริญ เจริญศิริ
Source : หมอชาวบ้าน 41, 487 (พ.ย. 2562) 38-41
Abstract : วิตามินดี ช่วยทำให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสที่อยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น สามารถดูดซึม นำไปใช้ประโยชน์ ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย จากการศึกษาพบว่าคนไทยขาดวิตามินดีทุกกลุ่ม ทุกวัย ในกลุ่มเด็กอายุ 3 - 12.9 ปี เด็กในเมืองขาดวิตามินดีมากกว่าเด็กชนบท (ร้อยละ 45.6 และ 27.7) กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-45 ปี ผู้หญิงขาดมากกว่าผู้ชาย (ร้อยละ 43.1 และ 13.9) กลุ่มผู้สูงอายุ 61-97 ปี บกพร่องวิตามินดีสูงถึง ร้อยละ 77.4 ขาดวิตามินดีร้อยละ 21.5 การป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดวิตามินดีนั้น ควรให้ความสำคัญ โดยการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดีเป็นประจำ ซึ่งปลาถือเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีนและยังพบว่าเป็นแหล่งของวิตามินดีด้วย ปลาตะเพียน ปลาทับทิม และปลานิล มีวิตามินดีสูง หนึ่งหน่วยบริโภค (55 กรัม หรือ 3-4 ช้อนโต๊ะ) จะได้รับวิตามินประมาณ 200 – 500 เท่า ของความต้องการวิตามินดีของร่างกายต่อวัน ในบทความมีวิธีทำและขั้นตอนการเตรียมปลาทับทิมห่อใบชะพลูอย่างละเอียด
Subject : ปลา. ปลาทับทิม. การปรุงอาหาร (ปลา). ปลา -- อาหาร. อาหาร. วิตามินดี.