- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1623
Author : Greg Bonnefin, แปลโดย Watchariya Ruangpanit.
Source : FOOD FOCUS THAILAND 13, 147 (มิ.ย. 2561) 52-53
Abstract : แป้งชุบทอด (Batter) แป้งทอดกรอบ (Breader) และเกร็ดขนมปัง (Breadcrumb) ถูกนำไปใช้ในการเสริมสร้างรสชาติและลักษณะปรากฏในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์แป้งชุบทอด สามารถสร้างและรักษาคุณลักษณะที่ดีของผลิตภัณฑ์ในด้านต่างๆได้แก่ รสชาติ เนื้อสัมผัส และลักษณะปรากฏ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์แป้งชุบทอดยังมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ได้แก่ ช่วยควบคุมความชื้นและน้ำมัน รักษาสภาพความคงตัวของผลิตภัณฑ์ในระหว่างกระบวนการแช่แข็ง-ละลาย และยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ การผลิตอาหารชุบทอดที่ดีและมีคุณภาพ ผู้ผลิตต้องเข้าใจกระบวนการชุบทอด กระบวนการหมักเป็นอย่างดี เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์อาหารชุบทอดที่อร่อยและมีลักษณะปรากฏที่สวยงาม.
Subject : ผลิตภัณฑ์. อาหารชุบทอด.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1791
Author : ซอสถั่วเหลืองญี่ปุ่นแท้ตามมาตรฐาน JAS
Source : FOOD FOCUS THAILAND 13, 146 (May 2018) 34-35
Abstract : ตามาตรฐาน JAS ; Japanes AgricuHural Standard หรือมาตรฐานการเกษตรของญี่ปุ่น ระบุว่า ซอสถั่วเหลืองญี่ปุ่น หรือ โชยุ มีหลายประเภท อาทิ โออิคุชิโชยุ (Koikuchi shoyu) ซอสถั่วเหลืองทั่วไป อุซุคุจิโชยุ (Usukuchi shoyu) ซอสถั่วเหลืองชนิดสีอ่อน ทามาริโชยุ (Tamari shoyu) ซอสถั่วเหลืองที่ใช้ข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบในปริมาณต่ำ ซาอิชิโคมิโชยุ (Saishikomi shoyu) ซอสถั่วเหลืองที่ถูกนำกลับมาหมักซ้ำ ชิโรโชยุ (Shiro shoyu) และคิอากิ (kiage) ซอสถั่วเหลืองดิบ โดยซอสถั่วเหลืองแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกัน ใช้สำหรับอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งซอสถั่วเหลืองดิบหรือคิอาเกะ คือ โชยุที่ผลิตโดยไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน มีรสชาติและกลิ่นน้อยกว่าปกติ มีจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและเอนไซม์ที่ทำงานได้คงเหลืออยู่ เป็นประโยชน์ในการปรุงอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ที่หมักด้วยคิอาเกะ 30 นาที สามารถลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของเนื้อ และให้เนื้อสัมผัสที่นุ่ม.
Subject : ซอสถั่วเหลือง. -- ญี่ปุ่น. ซอสถั่วเหลือง. -- มาตรฐาน.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1524
Author : วีรสุทธิ์ โฮสูงเนิน.
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 30, 678 (ก.ย. 2561) 53-55
Abstract : ด้วงงวงมะพร้าว หรือด้วงสาคู เป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัยปีกมีสีน้ำตาลดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ ในประเทศไทยพบมากที่ภาคใต้ ด้วงสาคูเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เพราะมีรสชาติอร่อยมีคุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีนสูงและสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น ทอด คั่วเกลือ แกงหรือผัด ซึ่งในบทความมีรายละเอียดขั้นตอน วัตถุดิบและวิธีการเลี้ยงด้วงสาคูสำหรับผู้สนใจด้วย.
Subject : ด้วง. -- หนองบัวลำภู. ด้วง. -- การตลาด.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 3374
Author : ศิริธร ศิริอมรพรรณ.
Source : ประชาคมวิจัย 23, 138 (มี.ค.-เม.ย. 2561) 6-9
Abstract : ผลิตภัณฑ์ชาจากใบข้าวอ่อน เป็นการใช้ประโยชน์จากส่วนของข้าวโดยนำใบข้าวจากต้นอ่อนข้าว(ต้นกล้า)มาผลิตเป็นชา โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งใช้ข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105 ที่มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์จากสาร 2AP(2-Acetyl-1-Pyrroline) และสารพฤกษเคมีผลิตภัณฑ์ชาใบข้าวหอมมะลิอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญ คือ คลอโรฟิลล์ มีคุณสมบัติช่วยลดความดัน ปรับระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบ สารในกลุ่มฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติช่วยต้านและลดสารอนุมูลอิสระ และกรดฟินอลิกที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันเป็นสารช่วยต้านโรคมะเร็ง เบาหวาน และโรคหัวใจ.
Subject : ชา -- ข้าวหอมมะลิ. ผลิตภัณฑ์.