- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1801
Author : พรทิพย์ ผลประเสริฐ
Source : วารสารอาหารและยา
Abstract : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์การใช้วัตถุเจือปนอาหารและการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายประเภทน้ำพริกแบบแห้งพร้อมบริโภค จากการสุ่มเก็บตัวอย่างจากสถานที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2556-2557 ส่งวิเคราะห์ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิเคราะห์ด้านเคมี หาสารกันรา (ซาลิซิลิค) วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก) และวิเคราะห์ทางด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค 4 ชนิด คือเชื้อ Clostridium perfringens, Staphylococcus aureus , Bacillus cereus และ Salmonella ผลการศึกษาพบการใช้วัตถุกันเสียในกลุ่มของกรดเบนโซอิกเกินมาตรฐานร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2556 และร้อยละ 14 ในปี พ.ศ. 2557 และพบการใช้กรดซอร์บิกเกินมาตรฐานร้อยละ 3.34 ในปี พ.ศ. 2556 และร้อยละ 14.00 ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 281 พ.ศ. 2557 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร กำหนดปริมาณการใช้ไม่เกิน 1,000 ppm และตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมดตรวจไม่พบการใช้กรดซาลิซิลิค ซึ่งเป็นสารเคมีที่ห้ามใช้ในอาหาร จากผลการวิเคราะห์พบจุลินทรีย์เกินมาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 364) พ.ศ. 2556 เรื่องมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค โดยพบเชื้อ B. cereus ร้อยละ 23.34 ในปี พ.ศ. 2556 และร้อยละ 34.00 ในปี พ.ศ. 2557 และพบเชื้อ C. perfringens ร้อยละ 10.00 ในปี พ.ศ. 2556 และร้อยละ 2.00 ในปี พ.ศ. 2557 และตัวอย่างทั้งหมดตรวจไม่พบเชื้อ S. aureus และ Salmonella ดังนั้นในเบื้องต้นผลการศึกษาครั้งนี้ไม่อาจสรุปความสัมพันธ์ต่อการใช้วัตถุกันเสียกับการพบเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมดังนี้ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของน้ำพริกรูปแบบต่างๆ และชนิดของวัตถุกันเสียที่เหมาะสมกับน้ำพริกแต่ละรูปแบบ เนื่องจากผลการศึกษาข้างต้นพบว่าแม้มีการใช้วัตถุกันเสียในปริมาณมากก็ยังพบเชื้อจุลินทรีย์แสดงให้เห็นว่าอาจใช้วัตถุกันเสียไม่เหมาะกับชนิดของน้ำพริกนั้นและควรจะให้สถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานที่ผลิตน้ำพริกแบบแห้งพร้อมบริโภค นอกจากนี้ควรเร่งดำเนินการตรวจเฝ้าระวังสถานที่ผลิตน้ำพริกแบบอื่นๆ ทุกพื้นที่ พร้อมเร่งรัดสถานที่ผลิตให้ได้เกณฑ์ Primary GMP ตามกฎหมายต่อไป.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1903
Author : กฤช เหลือลมัย
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน
Abstract : การทำซีอิ๊วขาวและเต้าเจี้ยว ตราช้อนทอง ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปแม่บ้านสันป่ายาง ใช้ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 โดยนำมาคัดขนาด คัดสี ก่อนนำไปต้ม และนำมาคั่วกับแป้งแล้วหมักกับเชื้อที่เรียกว่า โคจิ 2 วัน จากนั้นนำไปหมักน้ำละลายเกลือทะเลในโอ่งโดยใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน หากต้องการทำซีอิ๊วให้นำออกมาเจือจางน้ำเกลือ กรองแล้วนำไปต้ม หากต้องการทำเต้าเจี้ยวสามารถนำไปต้มได้เลยโดยใช้เวลาครึ่งชั่วโมงในการต้มฆ่าเชื้อ ซีอิ๊วขาวและเต้าเจี้ยวของกลุ่มแม่บ้านสันป่ายางนี้ผ่านการปรับปรุงสูตรเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 และได้รับตรารับรองมาตรฐาน อย. ใบปี พ.ศ. 2541.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1658
Author : โครงการสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน
Source : ฉลาดซื้อ
Abstract : ถั่วลิสง เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอุดมไปด้วยโปรตีน พลังงาน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตและแร่ธาตุหลายชนิด ถั่วลิสง มักมีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่สร้างขึ้นโดยเชื้อรา โดยเฉพาะแอสเพอร์จิพลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus) และแอสเพอร์จิสลัส พาราซิติดัส (Aspergillus parasiticus) อะฟลาท็อกซินโดยทั่วไปที่พบในถั่วลิสง มี 4 ชนิดคือ อะฟลาท็อกซิน บี1 (B1) บี2 (B2) จี1 (G1) และ จี2 (G2) หากรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในปริมาณมาก อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องเดิน อาเจียน ในเด็กเล็กเสี่ยงต่อการได้รับผลรุนแรงเฉียบพลัน อาจเกิดอาการชักและหมดสติเนื่องจากตับและสมองทำงานผิดปกติ หากร่างกายได้รับอะฟลาท็อกซินสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติ เกิดโรคมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งตับได้.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2896
Author : โครงการสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน
Source : ฉลาดซื้อ
Abstract : โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนมเปรี้ยว (fermented milk) หรือผลิตภัณฑ์นมที่หมักด้วยแบคทีเรียที่ผลิตกรดแล็กทิก (lactic acid bacteria , LAB) แบคทีเรียที่นิยมใช้หมักโยเกิร์ต คือ สเตรพโต ค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcous thermophilus) และ แล็กโทบาซิลลัส บัลการิคัส (Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus) และอาจเติมแบคทีเรียกลุ่มโพรไบโอติก เช่น บิฟีโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) โยเกิร์ตที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือเติมผลไม้ เรียกว่า โยเกิร์ตปรุงแต่ง (flavoured yoghurt) ในประเทศไทยมีโยเกิร์ต 2 ลักษณะคือ โยเกิร์ตชนิดแข็งตัว (Set yoghurt) จะมีเนื้อแน่นและโยเกิร์ตชนิดคน (Stirred yoghurt) เนื้อโยเกิร์ตเหลวไม่จับเป็นก้อน จุลินทรีย์กลุ่มแล็กทิกในโยเกิร์ตจะช่วยเรื่องสมดุลในระบบทางเดินอาหาร ช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค และช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น.