English Title : How to buy meat, milk and chicken?
Author : กองบรรณาธิการกสิกร
Sourceกสิกร ปีที่ 85 ฉบับที่ 3 (พ.ค. - มิ.ย. 2555) หน้า 45-49
Abstract : เนื้อสุกรที่ดีจะมีสีชมพูปนแดงเรื่อๆ นุ่ม ผิวเป็นมัน เนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นเหม็นหรือเป็นเมือกลื่น ไม่ช้ำเลือด ไม่แห้ง ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าหรือมีสีเขียว และส่วนที่เป็นมันแข็ง ควรเป็นสีขาวขุ่น ถ้าเป็นเนื้อสุกรแช่เย็น ควรดูวันที่ผลิตบนบรรจุภัณฑ์ซึ่งไม่ควรเกิน 3 วัน นับจากวันที่ผลิตถึงวันที่ซื้อ การเลือกซื้อเนื้อโค/กระบือ ควรมีสีแดงคล้ำเล็กน้อย มีไขมันแทรกกระจายอยู่ในชิ้นเนื้อ ถ้าเป็นเนื้อที่ติดมันควรมีสีขาวครีมในโคอายุน้อย ถ้าสีเหลืองมักเป็นโคแก่ หรือ โคนมที่อายุพ้นวัยให้นมแล้วความแตกต่างระหว่างเนื้อโคกับเนื้อกระบือ เนื้อโคมีสีแดงสด เนื้อแน่นละเอียด มันโคสีเหลือง เนื้อกระบือมีลายเส้นของกล้ามเนื้อหยาบ เนื้อเหนียวกว่าและมีสีคล้ำกว่าเนื้อโค มันที่ติดเนื้อกระบือจะมีสีขาว การเลือกซื้อไก่/เป็ด ควรมีเนื้อแน่น ผิวตึงไม่เหี่ยวย่น สีเนื้อสด ไม่ซีดหรือมีจ้ำเขียวๆ ใต้ปีกขาตรงลำคอที่ต่อกับลำตัวต้องไม่มีสีคล้ำๆลูกตาไม่ลึกบุ๋ม ไม่มีกลิ่นเหม็น ส่วนเนื้อเป็ดควรเลือกเป็ดที่อ้วนและหากปากและตีนเป็ดมีสีเหลืองแสดงว่าเป็ดอ่อน ถ้ามีสีดำแสดงว่าเป็นเป็ดแก่เนื้อจะเหนียวและมีกลิ่นสาบมากการเลือกซื้อนม ควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์นม โดยการอ่านข้อมูลบนฉลาก ซึ่งฉลากผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มทุกประเภทต้องแสดงคุณค่าทางอาหาร ชื่อ และที่ตั้งผู้ผลิต หรือผู้แบ่งบรรจุ ภาชนะบรรจุต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่รั่ว ไม่ซึม ไม่บวม ไม่ฉีกขาด หลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์นมจากร้านค้าที่มีการจำหน่ายนมพร้อมดื่มที่ไม่เหมาะสม เช่น ตู้แช่ หรือสถานที่เก็บไม่เหมาะสม การเลือกซื้อไข่ เปลือกไข่ต้องสะอาด ผิวเรียบ แข็ง ไม่บางหรือนิ่ม ไม่มีรอยแตกหรือบุบ ไข่ที่สด เปลือกไข่จะมีผิวคล้ายแป้งฉาบอยู่ หากเปลือกไข่ลื่นมักแสดงว่าเป็นไข่เก่า ขนาดของไข่จะเป็นตัวบ่งชี้คุณค่าทางอาหารในไข่ เพราะไข่ฟองโตย่อมมีสารอาหารมากกว่าไข่ฟองเล็ก ไข่ที่สดใหม่หากส่องดูกับแสงแดดจะมีสีออกแดงเล็กน้อย โปร่งแสง เห็นไข่แดงกับไข่ขาวแยกกันอย่างชัดเจน ไข่ที่เสียจะทึบแสง ไข่แดงกระจายตัว ควรเก็บไข่ไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 5 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า แต่ไม่ควรแช่แข็ง การวางไข่ให้เอาด้านแหลมลง เพราะไข่แดงซึ่งมีน้ำหนักเบาจะลอยขึ้น จะได้ไม่กระทบกับเปลือกไข่

Subjectนม--การเลือกซื้อ,นม--การเก็บและรักษา, ไข่--การเลือกซื้อ, ไข่--การเก็บและรักษา, เนื้อสัตว์--การเลือกซื้อ, เนื้อสัตว์--การเก็บและรักษา

English Title : “Mango” Delicious and healthy
Author : ชนิกา คงสวัสดิ์
Sourceวารสาร อพวช ปีที่ 11 ฉบับที่ 121 (ก.ค. 2555) หน้า 22 - 23
Abstractมะม่วงเป็นผลไม้ที่นอกจากจะรับประทานได้อร่อยทั้งผลสุกและดิบแล้ว ยังช่วยในการบรรเทาและป้องกันโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ พิษในลำไส้ นิ่วในไต โรคโลหิตจาง โรคคอตีบ โรคไขข้ออักเสบ นอกจากนี้เอนไซม์ magneferin, katechoi oxidase และ lactase ในมะม่วงยังมีคุณสมบัติในการย่อยโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ล้างพิษในลำไส้ และสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคซึ่งเป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วย กรดคาร์บอลิกเป็นสารอาหารที่ทำหน้าที่รักษาและสกัดกั้นเชื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ สาร magneferin จากใบอ่อนของมะม่วงสามารถรักษาอาการอักเสบต้านแบคทีเรีย ป้องกันคราบแบคทีเรียในฟัน

Subjectมะม่วง--สรรพคุณทางยา

English Title : “Chlorophyll” The value of green
Author : นิสากร ปานประสงค์
SourceUPDATE ปีที่ 27 ฉบับที่ 299 (ก.ย. 2555) หน้า 27 - 31
Abstract“คลอโรฟิลล์” เป็นรงควัตถุสีเขียวพบในส่วนคลอโรพลาสต์ของเซลล์พืช ทำหน้าที่เป็นตัวรับแสงมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชเพื่อการเจริญเติบโต ในปัจจุบันคลอโรฟิลล์ถูกนำมาผลิตเป็น สารเสริมอาหาร สารเสริมสุขภาพหลายชนิด เช่น น้ำคลอโรฟิลล์ ซึ่งคลอโรฟิลล์จะมีบทบาทในการต้านมะเร็ง บำรุงโลหิต ลดน้ำหนัก ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ล้างพิษ กระตุ้นให้เกิดการย่อยที่มีประสิทธิภาพ มีสรรพคุณรักษาบาดแผล หากต้องการได้รับคลอฟิลล์ธรรมชาติเข้าสู่ร่างกายอย่างเต็มที่ต้องรับประทานผักใบเขียวในรูปผักสด หรือใช้เวลาในการปรุงสั้นที่สุด ซึ่งผักที่มีปริมาณคลอโรฟิลล์สูงสุดคือ ผักขม (spinach) มีคลอโรฟิลล์อยู่ในช่วง 300-600 มิลลิกรัมต่อผักหนึ่งออนซ์ และนอกจากการรับประทานผักสดแล้วการรับประทานน้ำผักก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เราได้รับประโยชน์จากคลอโรฟิลล์ในผักใบเขียว รวมทั้งได้รับใยอาหาร วิตามิน และสารอาหารอื่นๆ ที่อยู่ในพืชผักเหล่านั้นอีกด้วย

Subjectคลอโรฟิลล์--คุณสมบัติ, คลอโรฟิลล์--สรรพคุณทางยา, คลอโรฟิลล์--แง่อนามัย, คลอโรฟิลล์--การค้นพบ

English Title : Health allusions on food labels
Author : กองบรรณาธิการฉลาดซื้อ
Sourceฉลาดซื้อ ปีที่ 19 ฉบับที่ 39 (ก.ย. 2555) หน้า 32 - 36
Abstract : คำกล่าวอ้างที่ปรากฏบนฉลากอาหาร มีผลอย่างมากที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ สารอาหารที่มีการกล่าวอ้างถึงต้องมีอยู่ในบัญชีสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน โดยผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างต้องมีสารอาหารนั้นยู่ในระดับที่จัดว่า “เป็นแหล่งของ” ของสารอาหารนั้นในปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงและปริมาณที่แสดงบนฉลาก มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้และการกล่าวอ้างจะต้องไม่มีข้อความระบุหรือมีความหมายให้เข้าใจว่าการบริโภคสารอาหารนั้นจะสามารถป้องกันหรือบำบัดรักษาโรคได้ เช่น “แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน” การจะระบุเช่นนี้ได้ ต้องมีแคลเซียมอย่างน้อย ร้อยละ 10 เพราะเมื่อผู้บริโภคเห็นข้อความนี้แล้วจะเข้าใจทันทีว่าผลิตภัณฑ์นี้มีแคลเซียมอยู่มาก คำกล่าวอ้างที่ดึงดูดใจนั้นมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ความเข้าใจในเรื่องฉลากจึงสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจเพื่อยกระดับผู้บริโภคให้เท่าทันเกมของผู้ประกอบการ

Subjectฉลากโภชนาการ, ฉลากอาหาร