“ขยะหน้ากากอนามัย แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง” (Single use plastic) ในแต่ละวันทั่วโลกมีปริมาณการใช้จำนวนหลายล้านชิ้น   

และจนถึงตอนนี้ยังมีอัตราการใช้เพิ่มมากขึ้นไม่หยุด ปริมาณมากตามการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยิ่งถ้านับจากตอนเริ่มต้นแพร่ระบาดในประเทศจีน ยิ่งมีปริมาณมหาศาลจนหลายหน่วยงานหวั่นว่าจะก่อปัญหาซ้ำเติม หากผู้ใช้ทิ้งปะปนกับขยะทั่วไปอย่างไม่ถูกต้อง เนื่องจากเป็นขยะติดเชื้อ (Infectious waste)
ขยะติดเชื้อ หมายถึงขยะที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ด้วย เช่นเดียวกับขยะจากโรงพยาบาล คลินิก สถานอนามัย เช่น เข็มฉีดยา สำลี ผ้าก๊อซ หน้ากากอนามัยที่บุคลากรทางการแพทย์ / คนไข้สวม ดังนั้น หลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่พยายามรณรงค์ให้คนตระหนักถึงการทิ้งอย่างถูกต้องด้วย ก็เพื่อความปลอดภัยของทั้งคนและสิ่งแวดล้อม
อย่างกทม. จะมีรถสำหรับเก็บขยะติดเชื้อโดยเฉพาะมารับขยะตามสถานพยาบาล เป็นรถที่มีการควบคุมอุณหภูมิและปิดอย่างมิดชิดเพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อโรคไม่แพร่กระจายแน่นอน ส่วนเจ้าหน้าที่ก็จะใส่ชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) อย่างดีเพื่อป้องกันเชื้อโรค มีทั้งแว่นตา มาสก์ ถุงมือยาง รองเท้าบูตครบ และจะเก็บขยะไปเข้าเตาเผาขยะติดเชื้อ      การกำจัดขยะติดเชื้อ ทั้งหน้ากากอนามัย เข็มฉีดยา และอุปกรณ์การแพทย์ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 โรงงานกำจัดมูลฝอย อ่อนนุช และหนองแขมเป็นที่รับขยะติดเชื้อในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีมาตรการเข้มงวดมากขึ้น โดยให้เจ้าหน้าที่สวมชุดป้องกันทุกส่วน ฉีดยาฆ่าเชื้อ ทุกขั้นตอน แล้วนำไปเผาด้วยความร้อน 760 - 900 องศา จากนั้นเข้าห้องเผาที่ 2 กำจัดควันและสารเคมี ใช้ความร้อน 1,000 องศา เพื่อยืนยันว่าไม่มีหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม
     กรณีที่เราไม่ป่วย แต่ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตัวเองเฉยๆ และไม่ได้ทำงานในโรงพยาบาล คลินิก สถานพยาบาลต่างๆ หน้ากากที่เราใส่จะไม่นับเป็นขยะติดเชื้อแต่เป็นขยะทั่วไป เราต้องรวมหน้ากากอนามัยใส่ถุงแยกจากขยะอื่นๆ ถ้าเป็นถุงใสได้ยิ่งดีเพราะจะมองเห็นว่ามีอะไรอยู่ข้างใน หรือเขียนไว้ที่ถุงว่าเป็นหน้ากากอนามัยก็ได้ มัดถุงให้แน่นแล้วทิ้งในถังขยะทั่วไป หรือถังขยะที่มีฝาปิด ทำให้เจ้าหน้าที่ที่มาเก็บขยะก็จะได้แยกไว้ในถังขยะท้ายรถและเอาไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป 
เพราะการทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี ก็ช่วยให้พี่ๆ เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น และยังเป็นวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้เพื่อลดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ด้วย
     นาทีนี้หลายๆ คนคงต้องใส่หน้ากากอนามัยกันแทบตลอดเวลาเพื่อป้องกันตัวเองจาก COVID-19 แต่สงสัยไหมว่า ใช้เสร็จแล้วจะทิ้งยังไงดีถึงจะปลอดภัย 100% รวมถึงมั่นใจได้ว่าไม่สะสมเชื้อโรคและไม่หลุดรอดไปเป็นขยะในทะเลด้วย
     ก่อนอื่นต้องขอบอกว่า หน้ากากอนามัยไม่ใช่ขยะอันตรายนะ! อย่าไปทิ้งถังนั้นละ เพราะขยะอันตราย (Solid hazardous waste) คือขยะที่มีสารเคมี สารไวไฟ สารพิษอยู่ เช่น ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดน้ำยาทำความสะอาด
ส่วนขยะติดเชื้อ (Infectious waste) คือขยะที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ ส่วนมากเป็นขยะจากโรงพยาบาล คลินิก สถานอนามัย เช่น เข็มฉีดยา สำลี ผ้าก๊อซ หน้ากากอนามัยที่บุคลากรทางการแพทย์ / คนไข้สวม
     เพราะฉะนั้นถ้าเป็นหน้ากากอนามัยที่ใช้ในโรงพยาบาล คลินิก สถานพยาบาลต่างๆ หรือเราป่วยแล้วใส่หน้ากากอนามัย ก็จะจัดเป็นขยะติดเชื้อ พอถอดแล้วให้ทิ้งลงถังขยะติดเชื้อเลย (วิธีถอดคือเอามือจับที่ห่วงคล้องหู ไม่จับตัวหน้ากาก หรือถ้าจำเป็นต้องจับจริงๆ ให้จับแค่ขอบหน้ากาก) หรือบ้านใครไม่มีถังขยะติดเชื้อก็รวมไปส่งได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้านหรือโรงพยาบาล
      ยิ่งในช่วงวิกฤติไวรัส COVID-19 มากขึ้นเท่าไหร่ วิธีการป้องกันตัวเองเบื้องต้นที่หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขแนะนำ คือ การสวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกจากบ้าน ไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน และไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ หรือควรใช้เพียงวันต่อวันเท่านั้น ทำให้แต่ละวันเราผลิตขยะติดเชื้อเหล่านั้นกันอย่างต่ำคนละ 1 ชิ้นต่อวัน...

ที่มา : Manager online 6 เมษายน 2563  [https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9630000035228]