นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม ได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในนครศรีธรรมราช พร้อมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อขยายพันธุ์ให้มากขึ้นและพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการแถลงข่าว เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2562 ถึงการค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม (Mitrephora (Blume) Hook.f. & Thomson) ซึ่งได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ.2562 ณ อาคาร ๔๖ ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการภารกิจจัดสรรงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมแถลงข่าว
คณะนักวิจัยนำโดย ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู สังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมด้วย น.ส.อานิสรา ดำทองดี นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนายกิติศักดิ์ อ๋องย่อง นักวิจัยอิสระ ได้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของพรรณไม้วงศ์กระดังงา (Annocaceae) ในประเทศไทยที่หายากและยังไม่เป็นที่รู้จัก เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหนังสือพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทย (Flora of Thailand) และได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือชื่อใหม่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่
พืชชนิดนี้มีลักษณะเด่น คือ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 2 เมตร มีดอกขนาดเล็กที่สุดในสกุล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร สีขาวเด่น และเปลี่ยนเป็นสีครีมเมื่อดอกมีอายุมากขึ้น มีกลิ่นหอมปานกลางคล้ายกลิ่นดอกโมก กลีบดอกชั้นในประกบกันเป็นรูปโดม โคนกลีบคอด เผยให้เห็นช่องว่างระหว่างกลีบ ผลเมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม
ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงสนพระทัยการศึกษาวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์เคมี วิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสหสาขาวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โดยทรงริเริ่มการก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ในสาขาดังกล่าว อันมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติ กอปรกับเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้กราบทูลขอพระราชทานนามไทย “พรหมจุฬาภรณ์” สำหรับพืชชนิดใหม่ของโลกชนิดนี้ และกราบทูลขอพระราชทานนามระบุชนิด “chulabhorniana” เพื่อเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitrephora chulabhorniana Damth., Aongyong & Chaowasku ซึ่งได้รับพระราชทานนามทั้งสองอันเป็นเกียรติแก่คณะผู้วิจัยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง
‘พรหมจุฬาภรณ์’ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Brittonia เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 เป็นพันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งยวด พบเพียงไม่กี่ต้นบริเวณป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่นอกเขตอนุรักษ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบบนิเวศเขาหินปูนนั้นเป็นระบบนิเวศที่เปราะบาง และมักพบสิ่งมีชีวิตที่จำเพาะ กล่าวคือ ไม่พบที่อื่นใดอีก เมื่อถูกคุกคามมีโอกาสสูญพันธุ์สูง เขาหินปูนแห่งนี้จึงมีโอกาสถูกคุกคามในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากการขยายตัวของสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งการระเบิดหินปูนเพื่อการใช้ประโยชน์
จึงสมควรอย่างยิ่งที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งคนไทยทุกคนต้องช่วยกันหวงแหนเขาหินปูน เพื่ออนุรักษ์ไม่ให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและจากโลก นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพโดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อช่วยขยายพันธุ์ต้นพรหมจุฬาภรณ์ให้มีจำนวนมากขึ้น และนำไปปลูกอนุรักษ์ไว้ในสวนพฤกษศาสตร์ หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นการลดโอกาสการสูญพันธุ์ของต้นพรหมจุฬาภรณ์
ดร.ธนวัฒน์ระบุว่าการค้นพบ “พรหมจุฬาภรณ์” จัดได้ว่าเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาต่อยอดในสาขาต่างๆ เปรียบเสมือนกับต้นน้ำที่ค่อยๆ ไหลไปยังกลางน้ำและปลายน้ำ นั่นคือการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน หากขาดพื้นฐานแล้วประเทศชาติย่อมขาดโอกาสในการพัฒนาต่อยอด การพัฒนายารักษาโรคจากพืชสมุนไพรก็เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
"เนื่องจากพบว่าพืชสกุลมหาพรหมหลายชนิดมีสารเคมีทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง จึงเป็นที่น่าสนใจว่าต้นพรหมจุฬาภรณ์ก็อาจจะมีสารเคมีทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง และอาจพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งได้ในอนาคต ซึ่งการรักษาโรคมะเร็งและพัฒนายาต้านมะเร็งเป็นหนึ่งในพระปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย"
โดยนักวิจัยทั้งสองได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของเถ้ากัญชาที่ได้หลังการเผา และได้ประเมินฤทธิ์ทางประสาทของสารเคมีที่พบในเถ้า แล้วใช้ข้อมูลนี้ค้นหาเส้นทางการแพร่กระจายของกัญชาบนเส้นทางสายไหมจากจีนไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก
ความจริงกัญชาเป็นพืชที่ได้อุบัติบนโลกตั้งแต่เมื่อ 28 ล้านปีก่อน ในบริเวณที่อยู่ทางทิศตะวันออกของที่ราบสูงทิเบต ต่อมานักวิจัยได้วัดอายุของละอองเกสรดอกกัญชา ที่เกษตรกรชาวจีนได้ปลูกเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน เพื่อใช้ใยทำเชือก และทอผ้า แต่การจะรู้ว่ามนุษย์เริ่มใช้กัญชาเป็นสารควบคุมอารมณ์และจิตใจเป็นครั้งแรกเมื่อใดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้การวิจัยในอดีตจะพบว่าคนจีนนิยมสูบกัญชา เมื่อ 5,000 ปีก่อนก็ตาม เพราะนักวิจัยได้พบว่า กัญชานั้นมีความเข้มข้นของสาร tetrahydrocannabinol (THC) ซึ่งมีฤทธิ์ในการควบคุมอารมณ์ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นการพบสาร THC ในปริมาณน้อยในกัญชาที่นำมาวิเคราะห์ จึงแสดงว่า คนจีนในสมัยนั้นยังไม่ได้ใช้กัญชาเป็นสารสำราญ
ทว่าซากกัญชาที่พบบนภูเขา Pamir กลับมีความเข้มข้นของสาร THC มาก เพราะในบริเวณที่พบซากยังมีกระดูก จานไม้ ถ้วย พิณ และเตาเผาซึ่งทำด้วยไม้ จากรูปร่างและลวดลายที่ปรากฏบนสิ่งที่พบแสดงให้รู้ว่า ชนที่ทำพิธีกรรมเผาศพเป็นชนชาว Sogdian ที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศตะวันตกของจีน และอยู่ติดกับประเทศ Tajikistan ที่ผู้คนนับถือศาสนาเปอร์เซียนิกาย Zoroastrianism อีกทั้งชอบสูบกัญชา
ที่บริเวณสุสาน Jirzankal ยังมีการพบลูกปัดแก้ว ซึ่งเป็นอาภรณ์ประดับของชาวเอเชียตะวันตก และผ้าไหมจากจีน ซึ่งเป็นการยืนยันอีกว่า ได้มีการทำธุรกิจค้าขายเกิดขึ้นระหว่างชาว Sogdian กับชาวจีน การวิเคราะห์กระดูก 34 ชิ้นในสุสานยังแสดงให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของกระดูกที่พบ เป็นของคนที่มาจากพื้นที่อื่น ซึ่งได้อพยพมาที่นั่น และศพถูกนำไปฝังเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล โดยชิ้นส่วนของเตาเผาที่ทำด้วยไม้ได้ถูกเลื่อยออกไปเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปบดเป็นผง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ด้วยอุปกรณ์ gas chromatography กับ mass spectrometry เพื่อหาองค์ประกอบทางเคมี เช่น THC ในเถ้าที่เหลืออยู่
นักวิจัยทั้งสองยังได้พบอีกว่า เถ้าพืชที่ใช้ในการวิเคราะห์มีองค์ประกอบของ THC ในปริมาณมากกว่ากัญชาที่พบในป่า แต่น้อยกว่ากัญชาปัจจุบัน จึงได้ข้อสรุปว่า การเผากัญชาได้เกิดขึ้นในเตาที่คับแคบ เพื่อให้ผู้ที่มาในงานศพได้สูดดมควันที่มี THC เข้มข้นอย่างเต็มที่ นี่เป็นการพบครั้งแรกว่า คนจีนโบราณใช้กัญชาในการทำให้จิตใจสบาย
ความสูงของสถานที่เป็นสุสานอาจทำให้กัญชาที่ใช้เผามีความเข้มข้นของ THC ค่อนข้างมากได้ และสำหรับประเด็นที่ควันกัญชาสามารถทำให้จิตใจปลอดโปร่งนั้น นักวิจัยคนอื่นตั้งได้ข้อสังเกตว่า ควันกัญชายังอาจช่วยทำให้กลิ่นเน่าของศพลดความรุนแรงได้ ดังนั้น การเผากัญชาจึงอาจไม่ใช่เพียงเพื่อทำให้จิตใจคนสูดดมสบายเท่านั้น แต่ยังทำให้อากาศในบริเวณนั้นคลายความเหม็นอับได้ด้วย
นักวิจัยทั้งสองยังได้กล่าวเสริมว่า การพบเครื่องใช้ที่มีราคาแพงยังแสดงว่า มีแต่คนจีนชั้นสูงเท่านั้นที่มีโอกาสสูบกัญชา ข้อมูลยังแสดงอีกว่าการสูบกัญชาได้แพร่หลายจากจีนไปสู่อิหร่านตามเส้นทางสายไหม เหมือนดังที่ Herodotus ได้เขียนไว้ตั้งแต่ 440 ปีก่อนคริสตกาลว่า นักเร่ร่อนพเนจรในทะเลทรายชาว Scythian ที่เดินทางจาก Siberia ไปยุโรป มักสร้างเต็นท์และเผากัญชาเพื่อสูดดมควันให้สบายใจ และนักโบราณคดีชื่อ Andrei Belinski ก็ได้พบเมื่อปี 2013 ว่าในหลุมฝังศพอายุ 2,400 ปีของชาว Scythian มีภาชนะทองคำที่มีเถ้ากัญชาและฝิ่นอยู่ภายใน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนที่มีฐานะดีเท่านั้นจึงจะมีโอกาสได้สูดดมควัน “วิเศษ”

ที่มา : Manager online 18 สิงหาคม 2562 [https://mgronline.com/science/detail/9620000078898]