พลาสติกที่โดนความร้อนแล้วจะกลายมาเป็นน้ำมันดีเซล ที่ผู้พัฒนากล่าวว่าสามารถใช้เป็นเครื่องปั่นไฟหรือมอเตอร์เรือได้ประมาณ 65% เป็นน้ำมันเบนซินที่ใช้ในการทำความร้อน และเป็นน้ำมันดีเซลที่สามารถจุดไฟให้ตะเกียงอีก 18% เป็นก๊าซที่ให้ความร้อนอีก 10% (Gas for heating ) และเป็นคาร์บอนสำหรับทำสีเทียนและสีย้อมอีก 7%

Costes กล่าวว่าขบวนการณ์นี้ทำงานโดยทำให้โมเลกุลพลาสติกแตกออกมาและเปลี่ยนสภาพไปเป็น Hydrocarbon ซึ่ง Hydrocarbons เหล่านี้จะถูกแยกภายหลังให้เป็นน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และ ก๊าซที่ถูกแยกออกมาจะถูกกักเก็บไว้ที่ด้านบนสุดของเครื่องด้วย
Costes ได้ทำงานกับองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่าง Earth wake เพื่อพัฒนาเครื่องจักรนี้ และหวังว่าจะนำออกมาขายในราคา 50,000 ยูโร
ในขณะนี้ เครื่องจักรของเขาสามารถเปลี่ยนพลาสติกเป็นน้ำมันได้ 10 ตันต่อเดือน ทีมกล่าวว่า การที่พลาสติก 1 กิโลสามารถนำมาสร้างน้ำมัน 1 ลิตร มันจะส่งผลดีต่อประเทศที่กำลังพัฒนาที่ต้องเผชิญทั้งปัญหาพลาสติกและราคาน้ำมันมากๆ
พวกเขายังหวังจะสร้างเครื่องที่ใหญ่ขึ้นขนาดเท่าตู้คอนเทนเนอร์ที่จะผลิตน้ำมันออกมาได้ถึงชั่วโมงละ 40 ลิตร
Francois Danel จาก Earth Wake กล่าวว่า “เราอยากสร้างโมเดลที่ยั่งยืนจะได้มีการนำมาใช้และนำไปผลิตต่ออีกเรื่อยๆในอนาคต”
เขากล่าวอีกว่า “อยากให้เครื่องนี้เป็นเครื่องมือทั้งเพื่อด้านเศรษฐกิจและสังคม เพราะหน้าที่ของมันคือเก็บขยะพลาสติกเพื่อนำมาเพิ่มมูลค่าและสร้างงานในเวลาเดียวกัน”
Samuel Le Bihan ผู้ก่อตั้ง Earth Wake กล่าวว่า ถ้าพลาสติกพวกนี้มีค่าขึ้นมา คนจะไม่ทิ้งมัน พวกเขาจะเก็บมันไว้ เหมือนกับขวดพลาสติกต่างๆ
สิ่งสำคัญในการจัดการขยะพลาสติกคือต้องลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่ต้นทาง และจัดการกับขยะที่เราทิ้งลงไปในทะเล แต่ถึงเราจะสามารถจัดการขยะในทะเลได้ เราก็ยังมีพลาสติกอีกหลายตันที่ยังคงต้องจัดการอยู่
นี่ถือเป็นอีกหนึ่งการคิดค้นพัฒนาทางออกสำหรับขยะที่ย่อยสลายไม่ได้อย่างขยะพลาสติก
อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการแปลงขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมัน โดยมีหลายที่ที่ได้ทดลองทำออกมาจริงๆ แล้ว รวมถึงในไทยด้วยเช่นกัน
ซึ่งปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิต และการนำไปใช้ก็ต้องดูกันต่อไป

ที่มา : Dailynews online 11 กันยายน 2562 [https://www.dailynews.co.th/article/730661]