“ต้นไม้ก็มีชีวิตจิตใจ” เรามักจะได้ยินคำนี้บ่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันได้มีงานวิจัยเพิ่มเติมและยืนยันในเรื่องนี้แล้วว่า นอกจากจะมีชีวิตจิตใจแล้ว พืชยังสามรถส่งเสียงได้อีกด้วย ตอกย้ำเรื่องการมีชีวิตจิตใจของพืชมากยิ่งขึ้นอีก

.

การค้นพบว่าต้นไม้สามารถส่งเสียงได้นั้น ได้มีการค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์อิสราเอล ที่ได้ศึกษาและพบว่าพืชที่ขาดน้ำมีการส่งเสียงออกมา ซึ่งมีระดับความดังพอๆ กับเสียงพูดคุยทั่วไปของคน แต่ก็อยู่ในช่วงคลื่นเสียงที่สูงเกินกว่าหูมนุษย์จะได้ยิน ยังไงก็ตามพวกเขาชี้ว่าอาจไม่ใช่เสียงของความเจ็บปวดหรือร้องขอความช่วยเหลือ

.

นักวิทยาศาสตร์ด้านวิวัฒนาการ

.

Lilach Hadany กล่าวว่า .... “รายงานนี้ยังไม่ไปถึงขั้นที่บอกได้ว่า คุณหั่นมะเขือเทศแล้วมันจะร้องลั่น แต่เป็นการค้นพบว่าพืชได้ส่งเสียงข้อมูลเฉพาะอะไรบางอย่างออกมาและยังไม่แน่ใจด้วยว่าอย่างตั้งใจหรือไม่”

.

ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองโดยติดตั้งไมโครโฟนอัลตราโซนิกกับพืชที่มีชีวิตอยู่ เช่น ต้นมะเขือเทศ ต้นยาสูบ และพืชที่กินน้ำน้อยอื่น ๆ เปรียบเทียบกัน เพื่ออยากจะรู้ว่าพวกมันสามารถสร้างเสียงในอากาศหรือการสั่นสะเทือนใดๆ ที่เคลื่อนที่ผ่านอากาศได้หรือไม่

.

ผลลัพธ์ในการศึกษาคือ ภายในกล่องที่ปิดสนิท ต้นมะเขือเทศที่ไม่ได้กินน้ำจะปล่อยเสียงในคลื่นอัลตราโซนิกประมาณ 35 ครั้งต่อชั่วโมง ต้นยาสูบนั้นน้อยกว่าและเบามาก ขณะที่พืชที่กินน้ำน้อยส่วนใหญ่จะเงียบ และพวกเขาได้ลองอีกนิดด้วยการตัดก้านต้นมะเขือก็พบว่ามันส่งเสียงดังขึ้นมาอีกนิดตอนโดนตัด

.

รายงานการค้นพบระบุว่าเสียงที่ส่งออกมานั้นดังพอๆ กับการสนทนาทั่วไป แต่สูงกว่าที่มนุษย์จะได้ยิน และพืชแต่ละชนิดก็มีเสียงที่แตกต่างกันไปจน เอไอ สามารถบอกความต่างได้ ยังไงก็ตาม พวกเขาไม่แน่ใจว่าอะไรเป็นสาเหตุ

.

มันอาจเป็นแค่ฟองสบู่เคลื่อนตัวภายในเนื้อเยื่อของพืชก็ได้ คล้ายกับเสียงหักนิ้วกร๊อบในคน Tom Bennett นักชีววิทยาพืชแห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ในอังกฤษกล่าวว่า “ไม่ได้หมายความว่าพวกเขากำลังร้องขอความช่วยเหลือ”

.

แต่มันอาจมีผลอย่างอื่นคือ สิ่งมีชีวิตอื่น แมลงหรือแม้แต่พืชชนิดอื่นอาจดักฟังเสียงดังกล่าวอยู่ ทีมวิจัยสงสัยว่าแมลงบางตัวเช่น แมลงเม่า หนู หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ สามารถรับรู้เสียงนี้และใช้ประโยชน์จากมัน

.

Ravishankar Palanivelu นักชีววิทยาด้านการพัฒนาพืชแห่งมหาวิทยาลัยแอริโซนาบอกว่าเสียงที่คล้ายกันนี้ก็เกิดขึ้นกับในข้าวสาลี ข้าวโพด และองุ่น ดูเหมือนว่านี่จะไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มันเกิดขึ้นในพืชหลายชนิดที่เติบโตในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันมากมาย

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9660000030501