WAVE ส่งบริษัทลูก “เวฟ บีซีจี” จับมือ กรมวิชาการเกษตร ร่วมเปิดตัว โครงการนำร่อง "คาร์บอนเครดิตพืชเกษตร 5 ชนิด" พร้อมแนะนำ ”ต้นซิลเวอร์โอ้ค” พืซเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเกษตรกรรมยั่งยืนและคาร์บอนเครดิต ในงานนิทรรศการ “ครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตร

.

นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ เอ็กโพเนนเที่ยล จำกัด(มหาชน) หรือ WAVE เปิดเผยว่า บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม WAVE ได้จับมือกับ กรมวิชาการเกษตร เปิดตัว "โครงการนำร่องคาร์บอนเครดิตพืชเกษตร 5 ชนิด" ได้แก่ อ้อย มันสัมปะหลัง ยางพารา ไม้ผล(ทุเรียนและมะม่วง) และ ร่วมกันเปิดตัว ”ต้นซิลเวอร์โอ้ค” พืซเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเกษตรกรรมยั่งยืนและคาร์บอนเครดิต เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง ครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตร ภายใต้ แนวคิด “วิชาการนำ เทคโนโลยีล้ำ เกษตรกรรมใต้ยั่งยืน” และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชในภาคใต้

.

สำหรับงานครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตร จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-27 เมษายน 2566 ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยมีนางสาว มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี และมีนายภาสกร บุญญลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวต้อนรับและพาเยี่ยมชมแปลงสาธิตการปลูกพืชผล พืชไร่ แบบ Good Agriculture Practice(GAP) ในพืชนำร่องทั้ง 5 ชนิด

.

นอกจากนี้ยังได้มีการสำรวจแปลงปลูกต้น ซิลเวอร์โอ๊ค โดยโครงการ Doa Green Together แปลงต้นแบบการบริหารจัดการคาร์บอนเคดริตในการผลิตพืช จาก บริษัทเวฟ บีซีจี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการคาร์บอนเครดิตครบวงจร และทางบริษัทได้ค้นพบว่าต้นไม้ที่สามารถลดคาร์บอนได้ดีมากมากก็คือ ต้น Silver Oak

.

สำหรับ ต้น Silver Oak เป็นต้นไม้พื้นถิ่นอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นไม้โตไว สามารถฟอกอากาศเสีย เช่นฝุ่น หรือ มลพิษได้ รวมทั้งส่ามารถสร้างออกซิเจนและร่มเงาลดอุณหภูมิจากอากาศร้อนๆได้เป็นอย่างดี และสามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าต้นสัก 5 ถึง 7 เท่า ขึ้นอยู่ตามพื้นที่ทะเลทรายแห้งแล้งและในเมือง สามารถอยู่ในที่อุณภูมิสูงและต่ำได้ เหมาะกับสภาพอากาศในประไทยเป็นอย่างมากและได้มีการปลูกมาแล้วกว่า 30 ปี ในพื้นที่ตามแนวภูเขาต่างๆ

.

“ต้น Silver Oak เป็นพืชที่ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้ และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่เกษตกรชาวไทยได้ ซึ่งการในปลูกต้นไม้สร้างคาร์บอนเครดิตในแปลงเดี่ยวๆหรือจะปลูกแซมร่วมกับพืชเกษตรนั้น ก็ยังสามารถนำไปซื้อขาย สร้างรายได้และสร้างความยั่งยืน มั่นคง ให้แก่เกษตกรได้”นายเจมส์กล่าว

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000042483