เราทราบดีกันว่ามหาสมุทรในยุคปัจจุบันกำลังเผชิญกับอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นจนทำให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวทั่วโลก นอกจากภัยจากความร้อน นักวิทยาศาสตร์ได้มีการเผยข้อมูลใหม่ว่ามหาสมุทรไม่ได้เผชิญแค่ความร้อนอย่างเดียว แต่ยังต้องเผชิญกับความเป็นกรดและการสูญเสียออกซิเจน ซึ่งเป็น 3 ภัยคุกคามที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก

.

ความน่ากังวลของ 3 ภัยคุกคามที่มีต่อมหาสมุทรได้ถูกตีพิมพ์ใน วารสาร AGU Advances ข้อมูลได้เผยการวิเคราะห์ว่า การเกิดความร้อน ความเป็นกรด การลดของออกซิเจนในน้ำ สามารถสร้างผลกระทบต่อน้ำในมหาสมุทรได้นานถึง 30 วัน โดยมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือได้รับผลกระทบเป็นพิเศษจากภัยคุกคามที่ปะปนกัน และพื้นที่ 1 ใน 5 ของมหาสมุทรโลกมีภัยพิบัติที่รุนแรงกว่าปี 1960 ถึง 6 เท่า

.

ผู้เขียนหลักของงานวิจัยนี้ได้เตือนว่ามหาสมุทรของโลกกำลังถูกผลักดันเข้าสู่สภาวะใหม่ที่รุนแรงเนื่องจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ “เราได้เห็นและสัมผัสถึงผลกระทบของสิ่งนี้แล้ว” Joel Wong นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซือริช (ETH Zurich) มหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้อ้างถึงปรากฏารณ์ ‘ก้อนความร้อน’ (Heat Blob) ซึ่งเป็นพื้นที่ความร้อนขนาดใหญ่เกิดขึ้นในมหาสมุทร ความร้อนที่ทำให้สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกต้องสูญพันธุ์

.

“เหตุการณ์รุนแรงที่รุนแรงเช่นนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต และจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและการประมงทั่วโลก” … Joel Wong กล่าวเสริม

.

ในปัจจุบันกิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุหลัก ทั้งการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า วิกฤตสภาพอากาศที่โถมกระหน่ำโลก และผู้ได้รับผลกระทบมากสุดคือมหาสมุทรของโลกเรานั้นเอง สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่คอยรองรับทุกสิ่งทุกอย่างทั้งความร้อนจากดวงอาทิตย์ ก๊าซเรือนกระจก และมลพิษจำนวนมากที่เราลักลอบปล่อยลงทะเล ผลกระทบจากสิ่งเหล่านั้นกำลังค่อยๆ เผยผลกระทบที่ไม่คาดฝันออกมาให้เราเห็น เช่น ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวที่สร้างความเสียหายให้กับแนวปะการังในพื้นที่มหาสมุทรทั่วโลก

.

Andrea Dutton นักธรณีวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน the University of Wisconsin–Madison ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวิจัยใหม่นี้ กล่าวว่า

.

"ความร้อนไม่อยู่ในแผนภูมิเลยจริงๆ เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจที่ได้เห็นเราไม่สามารถอธิบายอุณหภูมิที่เราเห็นในมหาสมุทรแอตแลนติกได้ครบถ้วน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลว่าทำไมฤดูพายุเฮอริเคนจึงเป็นข้อกังวลในปีนี้ มันค่อนข้างน่ากลัว”

.

“มหาสมุทรไม่ได้เป็นเพียงฉากหลังที่สวยงามสำหรับการเซลฟี่ของคุณในช่วงฤดูร้อน แต่เราพึ่งพามันเพื่อชีวิตของเรา การตระหนักถึงสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก” …. Dutton กล่าวเสริม

.

ภัยคุมคามที่น่ากังวลนี้ ทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศตื่นตระหนกกับความร้อนที่เพิ่มขึ้นในมหาสมุทร ความร้อนในน้ำที่พุ่งสูงขึ้นอย่างผิดปกติในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ภัยคุกคามทั้ง 3 ทำให้มหาสมุทรสูญเสียความสามารถของมันมากขึ้นไปอีก ทำให้กลายเป็นแหล่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์แทนที่จะดูดซับเหมือนในช่วงเวลาที่ผ่านมา

.

ความร้อนสุดขั้วที่เพิ่มขึ้นนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายกันกับช่วงปลายยุคเพอร์เมียนเมื่อประมาณ 252 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกประสบการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ 4.5 พันล้านปี

.

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9670000049298