Zero Waste ตอกย้ำถึงหลักการ ‘ชนชั้นขยะ’ ว่าเป็นตัวกำหนดกำหนดบทบาทในวงจรขยะ ช่วยการกำจัดขยะในจุฬาฯ เป็นระบบมากขึ้น ทำให้ปัญหาขยะพลาสติกในจุฬาฯ ถือเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปัญหาขยะพลาสติกที่อื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่มีทางไปต่อ จะรียูส รีไซเคิลก็ไม่ได้ จะจัดการให้เป็นระบบก็ยังไม่ครบวงจรนัก
.
ชนชั้นขยะที่พูดถึง มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ‘Waste Hierarchy’ เป็นโมเดลพีระมิดหัวคว่ำที่แบ่งขยะออกเป็นชั้นๆ ชวนเราให้คำนึงถึงการสร้างขยะก่อนทิ้ง (ดูภาพประกอบ)🤔เริ่มตั้งแต่การไม่สร้างขยะ ไปจนถึงการจัดการขยะที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลยอย่างการเผาและฝังกลบ
.
โมเดลนี้เป็นสิ่งที่หน่วยงานรัฐ และองค์กรต่างประเทศหลายๆ แห่ง นำมาปรับใช้เพื่อลดการสร้างขยะที่นำไปสู่การฝังกลบน้อยลง และเพิ่มการรียูส รีไซเคิลให้มากขึ้น จุฬาฯ เองก็ปรับใช้โมเดลนี้ในมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว
.
หากยังนึกไม่ออกว่าการมีอยู่ของชนชั้นขยะคืออะไร?🧐 ลองมาทำความเข้าใจชั้นต่างๆ ในพีระมิด (ดูภาพประกอบ) และโครงการต่างๆ ในจุฬาฯ ที่มีเพื่อรองรับการจัดการขยะอย่างจริงจัง ทั้งนี้ นิสิตจุฬาฯ น้องรุ่นใหม่ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในรั้วจุฬา ก็จะได้รับข้อมูลเชิญชวนให้ทำความรู้จักกับระบบแยกขยะในจุฬาฯ
.
“ถึงตอนนี้ ผลแอดมิชชั่นประกาศแล้ว น้องๆ รุ่นใหม่ก็กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในรั้วจุฬาฯ ลองมาทำความรู้จักกับระบบแยกขยะในจุฬาฯ กัน ทุกคนจะได้แบ่งแยกชนชั้นขยะกันได้ถูกต้องมากขึ้น และส่งผลแบบบวกๆ ให้กับตัวเราเอง คนข้างๆ ไปจนถึงสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน”
.
แนวทางการจัดการขยะให้มีชนชั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร
ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการ ‘Chula Zero Waste’ ในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยเชี่ยวชาญ ประจำสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า
.
“คนทิ้งส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจว่าขยะหนึ่งชิ้นที่เขาสร้าง จะส่งผลกระทบอะไรกับโลก กับตัวเขาเอง ขั้นตอนในการออกกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องยาก มีหลายขั้นตอน รัฐบาลมักใช้เวลาไปกับการแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ไม่ได้คิดที่จะทำงานเชิงรุกเรื่องนี้”
.
เมื่อการจัดการขยะในประเทศยังห่างไกลจากคำว่า ‘เป็นระบบ’ คนทิ้งมองว่ารัฐไม่จัดระบบแยก-ทิ้ง-เผา ให้ดีพอ ส่วนรัฐบาลก็มองว่าประชาชนอาจยังไม่พร้อมกับระบบจัดการขยะที่ต้องใช้ความเด็ดขาด มีกฎหมายบังคับควบคุม ด้วยความคิดที่ว่า ‘ถ้ายังไม่มีใครคิดจะทำจริงจัง ก็ขอเริ่มก่อนเอง’
.
‘Chula Zero Waste’ ใช้หลัก Waste Hierearchy หรือชนชั้นขยะเข้ามาออกแบบการจัดการขยะ พร้อมกับมีจุดมุ่งหมายให้ชาวจุฬาฯ เห็นความสำคัญของการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทางมากขึ้น รวมถึงส่งขยะไปฝังกลบให้น้อยที่สุด โดยทำงานร่วมกับสำนักบริหารระบบกายภาพ รวมถึงคณะต่างๆ และหน่วยงานอื่นๆ ที่พร้อมเล่นกับระบบไปด้วยกัน
.
ตั้งแต่ปี 2560 พื้นที่ทดลองเล็กๆ นี้ ค่อยๆ สร้างระบบการจัดการขยะที่แข็งแรง ใช้งานได้จริง ไปพร้อมๆ กับปลูกฝังความรับผิดชอบต่อขยะลงในใจผู้คนในรั้วมหาวิทยาลัย จากภาพเล็ก ขยับขยายไปสู่ภาพใหญ่ และส่งต่อองค์ความรู้นี้ให้องค์กรภายนอก ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย ชุมชน เมือง ไปจนถึงภาครัฐ นำไปจัดการขยะในพื้นที่ของตัวเอง
.
ชมคลิป ชนชั้น (ขยะ)ของนิสิตจุฬาฯ https://www.facebook.com/reel/1649068442574814
.
ที่มา : mgronline https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9670000055573