- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1575
Author : ทิพา วรเนตรสุดาทิพย์.
Source : อาหาร 50, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 47-50
Abstract : บัวบก (Asiatic Pennywort หรือ Gotu kola) จัดเป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งและจัดเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งการรับประทานสดโดยตรง การใช้ประกอบอาหาร การแปรรูปเป็นเครื่องดื่มและใช้สารสกัด เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางหลายชนิด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Centella asiatica (L.) Urb. อยู่ในวงศ์ Apiaceae หรือ Umbelliferae บัวบกมีสารสำคัญ คือ สาร medecassic acid สาร Asiatic acid สาร madecassoside และสาร asiaticoside สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็ว ใช้รักษาโรคผิวหนังและแก้น้ำร้อนลวก มีสารที่มีรสขม คือ สาร vellarine รักษาโรคซิฟิลิส โรคเรื้อน และลดความดัน มีฤทธิ์ฝาด สมานแผลได้ดี สรรพคุณทั้งต้นบัวบกมีรสหอมเย็น แก้ช้ำใน แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ รักษาแผล แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้โรคปวดศีรษะข้างเดียว บัวบกเป็นผักพื้นบ้านที่มีสารสำคัญหลายชนิดที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย และมีสรรพคุณทางยา บัวบกจึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับการรักษาโรคต่างๆ และบำรุงร่างกายได้ ทั้งนี้ ในการรับประทานต้องคำนึงถึงปริมาณที่เหมาะสมเพื่อเป็นการเกิดประโยชน์สูงสุดกับร่างกายและหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจได้รับ.
Subject : บัวบก. บัวบก -- คุณค่าทางโภชนาการ.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1678
Author : พิสุทธิ์ บุตรสุวรรณ.
Source : อาหาร 50, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 37-46
Abstract : บัวหิมะ จัดเป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาบริโภคเป็นอาหาร ประกอบด้วยสารสำคัญหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ฟรักโทโอลิโกแซ็กคาไรด์ อินูลิน และสารฟีนอลิก ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ความเข้มข้นของสารสำคัญเหล่านี้ จะแตกต่างกันไปตามปัจจัยในการปลูกและสภาวะการเก็บรักษาสารสำคัญในบัวหิมะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงลดระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งช่วยในการยับยั้งและต่อต้านโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ไม่มีผลข้างเคียงสำหรับการบริโภคตามคำแนะนำ อาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือท้องเสียในกรณีที่บริโภคเกินขนาดแต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต และแม้จะมีคุณประโยชน์มากมายแต่การทดลองในมนุษย์ยังมีค่อนข้างน้อย การบริโภคสามารถบริโภคผลสด หรือนำไปแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ชาผงน้ำเชื่อม แคปซูล หรือเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารชนิดอื่นได้.
Subject : บัวหิมะ
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1742
Author : วนิดา ปานอุทัย.
Source : อาหาร 50, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 29-37
Abstract : ผำ จัดเป็นพืชน้ำขนาดเล็กโดยอยู่ในสกุล (genus) Wolffia มีการนำมารับประทานเป็นอาหารพื้นถิ่นในบางประเทศในแถบเอเชีย และจัดอยู่ในพืชน้ำขนาดเล็กกลุ่มเดียวกับแหนเป็ด (duckweed) โดยสามารถจัดจำแนกเป็น 11 ชนิด มีปริมาณโปรตีนอยู่ในช่วง 10-20 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งปริมาณคาร์โบไฮเดรต 1-5 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณไขมันประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นสูงกว่าหรือใกล้เคียงปริมาณที่ต้องการของเด็กเล็กก่อนวัยเรียนตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก มีปริมาณไขมันต่ำและสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณไขมันทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่ม n-3 มากกว่า n-6 นอกจากนี้ผำยังสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จึงมีศักยภาพสูงในการนำไปประยุกต์เป็นแหล่งอาหารและโภชนาการของมนุษย์.
Subject : ผำ -- คุณค่าทางโภชนาการ
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1668
Author : ศันสนีย์ อุดมระติ.
Source : อาหาร 50, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 15-21
Abstract : ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์และมีหลากหลายของพันธุ์ข้าว ทั้งข้าวสี (pigmented varieties)และข้าวขาว (non- pigmented varieties) โดยข้าวสีจัดออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มข้าวสีม่วงดำ เช่น ข้าวเหนียวดำลืมผัว ข้าวก่ำ ข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่ ข้าวหอมนิล ข้าวมะลินิลสุรินทร์ ข้าวไรซ์เบอรรี และกลุ่มข้าวสีแดง เช่น ข้าวทับทิมชุมแพ ข้าวสังข์หยด ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวทับทิมโกเมน การรับประทานข้าวสีให้ได้รับคุณประโยชน์สูงสุดต้องรับประทานในรูปข้าวกล้อง เนื่องจากบริเวณชั้นเปลือกหุ้มเมล็ดยังอุดมด้วยวิตามินแร่ธาตุ ไขมัน ใยอาหาร และสารพฤกษเคมี ที่เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive compounds) เช่น แกมมา-ออริซานอล (gamma-oryzanol) สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) และฟลาโวนอยด์ (flavonoids) การบริโภคข้าวสีช่วยป้องกันและลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ ลดคอเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง.
Subject : ข้าว -- คุณค่าทางโภชนาการ. ข้าว – สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ.