- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1886
Author : สันต์ หัตถีรัตน์.
Source : หมอชาวบ้าน 41, 485 (ก.ย. 2562) 26-29
Abstract : ไข่ 1 ฟอง มีโปรตีนประมาณ 6 กรัม มีไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นไขมันดีประมาณ 5 กรัม มีคอเลสเตอรอล ประมาณ 0.2 กรัม โซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบีหลายชนิด วิตามินดี และสาระสำคัญอื่นๆ เช่น ลูทีน และซีแซนทีน ที่ช่วยป้องกันไม่ให้จอตาส่วนสำคัญเสื่อมตามอายุ ไข่แดงเป็นอาหารที่มี choline สูงสุด ซึ่งจำเป็นต่อพัฒนาการของสมองและระบบประสาทเซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถสร้างคอเลสเตอรอล และคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ของฮอร์โมนหลายชนิดและสารในกลุ่มสตีรอยด์ (steroids) ของกรดน้ำดี (bile aeid) จึงไม่ควรกังวลเรื่องการกินไข่แดงที่มีคอเลสเตอรอลสูงจนเกินเหตุ หากทดลองกินไข่วันละ 1-2 ฟอง แล้ว ระดับคอเลสเตอรอลไม่สูงขึ้นหรือสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็สามารถกินไข่ได้ตามปกติ.
Subject : ไข่. ไข่ – แง่โภชนาการ.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2262
Author : สุรเกียรติ อาชานานุภาพ.
Source : หมอชาวบ้าน 41, 485 (ก.ย. 2562) 22-25
Abstract : คีโตเจนิกไดเอ็ต คือ อาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำ เป็นอาหารที่ทำให้เกิดสารคีโตน (ketone) สะสมในเลือด ซึ่งสารนี้เกิดจากการเผาผลาญอาหารจำพวกไขมัน อาหารคีโตมีผลในการกระตุ้นการเผาผลาญของร่างกาย ทำให้อิ่มเร็ว ลดความอยาก ทำให้ลดน้ำหนักได้ดีและเร็ว ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับบำบัดรักษาผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 อาหารคีโตมีสรรพคุณในการรักษาโรคลมชักบางชนิดที่พบในเด็ก นอกจากนี้ยังมีการวิจัย การนำอาหารคีโตมาบำบัดรักษาโรคระบบประสาทและสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ มะเร็งสมอง โรคสิว ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ทั้งนี้อาหารคีโตอาจทำให้มีอาการข้างเคียงในบางคน เช่น ภาวะขาดน้ำและสูญเสียเกลือแร่ ท้องผูกหรือท้องเดิน น้ำตาลในเลือดต่ำ ลมหายใจและปัสสาวะมีกลิ่นคล้ายผลไม้ ผลในระยะยาวอาจทำให้ขาดสารอาหาร กรดยูริกในเลือดสูง เป็นนิ่วในไตมีภาวะกระดูกพรุน ปัจจุบันแพทย์แนะนำให้ใช้อาหารคีโต เป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดรักษาเด็กที่เป็นโรคลมชัก ผู้ที่เป็นโรคอ้วนและเบาหวานประเภทที่ 2.
Subject : อาหาร. อาหารลดน้ำหนัก. การกำหนดอาหาร. คีโตเจนิกไดเอ็ต. Ketogenic chet. diet.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1828
Author : ธวัชชัย ลักเซ้ง.
Source : หมอชาวบ้าน 41, 485 (ก.ย. 2562) 12-19
Abstract : คีโตเจนิกไดเอ็ต หรือที่เรียกว่า การกินคีโต เป็นโภชนาการรูปแบบหนึ่งที่กินไขมันมากกว่าปกติ กินโปรตีนปานกลาง และจำกัดคาร์โบไฮเดรตให้น้อยที่สุด หลักการของการกินแบบคีโตตามมาตรฐาน จะกินไขมัน 75 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 20 เปอร์เซ็นต์ และจำกัดคาร์โบไฮเดรตประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่เกิน 20 กรัม ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน การกินคีโตมีข้อดี เช่น สามารถลดน้ำหนักได้เร็ว ทำให้สมาธิดีขึ้น ช่วยบรรเทาโรคลมชัก โรคอ้วน โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ โรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามการกินคีโตก็มีข้อเสียเช่นกัน อาทิ ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ท้องผูก ท้องเสีย ความแข็งแรงและประสิทธิภาพทางกายลดลง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน โรคไต หรือโรคประจำตัวเรื้อรังอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนตัดสินใจกินคีโต.
Subject : อาหาร. อาหารลดน้ำหนัก. การกำหนดอาหาร. คีโตเจนิกไดเอ็ต. Ketogenic diet. diet.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1920
English Title : Influence of thermal treatment on dehulling soybean
Author : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, คณะผู้วิจัย ; โชติกา วิริยะรัตนศักดิ์, สุวิช ศิริวัฒนโยธิน และชัยรัตน์ ตั้งดวงดี.
Source : วิทยานิพนธ์. (2558) 31 หน้า
Abstract : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนที่ถั่วเหลืองได้รับในระหว่างการอบแห้งและประสิทธิภาพการกะเทาะเปลือกและคุณภาพของแป้งถั่วเหลือง ตัวอย่างถั่วเหลืองที่ใช้ในการทดลองในนี้คือ สายพันธุ์เชียงใหม่ 60 ที่มีอายุ 120 วัน ถั่วเหลืองจะผ่านการนึ่งด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 100 °C เป็นเวลา 0 5 10 และ 15 นาที ก่อนนำไปอบแห้งที่อุณหภูมิคงที่ที่ 60 100 130 และ 160 °C จนกระทั่งความชื้นสุดท้ายของถัวเหลืองประมาณร้อยละ 6.38 โดยน้ำหนักแห้ง ในระหว่างการนึ่งและอบแห้งทำการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในเมล็ดถั่วเหลืองและคำนวณปริมาณความร้อนที่ถั่วเหลืองได้รับนอกจากนี้ศึกษาประสิทธิผลการกระเทาะเปลือกและสมบัติของแป้งถั่วเหลืองที่ได้ ผลการศึกษาพบว่า ถั่วเหลืองได้รับความร้อนเพิ่มมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิในการอบแห้งเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการนึ่งไม่ส่งผลต่อพลังงานความร้อนที่ถั่วเหลืองได้รับ การนึ่งด้วยไอน้ำสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกะเทาะเปลือได้เมื่อกระทำร่วมกับการอบแห้งที่อุณหภูิ 60 และ 100 °C ในทางกลับกันการนึ่งด้วยไอน้ำไม่มีผลต่อประสิทธิผลการกะเทาะเปลือกเมื่อใช้อุรหภูิมอบแห้ง 130 และ 160 °C การศึกษาคุรภาพของแป้งถั่วเหลืองที่ผ่านการอบแห้งที่สภาวะที่แตกต่างกันแสดงให้เห็นว่า เมื่ออุณหภูมิการอบแห้งเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้แห้งถั่วเหลืองมีค่าดัชนีการละลายของไนโตรเจนที่ลดลงเนื่องจากการเสื่อมเสียสภาพทางธรรมชาติของโปรตีน อย่างไรก็ตามสภาวะการให้ความร้อนในกระบวนการผลิตแป้ง (เวลาในการนึ่ง และอุณหภูมิในการอบแห้งของเมล็ดถั่วเหลือง) ส่งผลต่อความสามารถในการดูดซับน้ำและน้ำมันของแป้งถั่วเหลืองที่ไม่แตกต่างกัน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนที่เมล็ดถั่วเหลืองได้รับและประสิทธิาภาพการกะเทาะเปลือกและคุณภาพของแป้งถั่วเหลืองแสดงให้เห็นว่า การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนที่เมล็ดถั่วเหลืองได้รับและประสิทธิภาพการกะเทาะเปลือกและคุณภาพของแป้งถั่วเหลืองแสดงให้เห็นว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนที่เมล็ดถั่วเหลืองได้รับและประสิทธิภาพการกะเทาะเปลือก นอกจากนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนที่เมล็ดถั่วเหลืองได้รับและคุณภาพของแป้งถั่วเหลือง.
This study aimed at investigating the relationship between heat gain and dehulling effectiveness of soybean and properties of soy flour. Soybean sample was soybean named Chiang Mai 60, which was harvested 120 days after planting. Soybean was steamed at 100 °C for 0, 5, 10 and 15 minutes, and subsequently isothermally dried at 60, 100, 130 abd 160 °C until miisture content of sample was 6.38 % dry basis. During steaming and drying, temperature profile within soybean was determined, and heat gain was also calculate. Furthermore, dehulling effectiveness and properties of soy flour were investigated. The results show that and increase in drying temperature resulted in increasing heat gain. However, steaming step did not affect heat gain On the other hand, steaming step improved dehulling effectiveness of soybean dried at 130 and 160 °C . The results on the properties of soy flour revealed that both steaming and drying resulted in the reduction of nitrogen solubility index because of thermal denaturation of protein, which were the major component of soy flour. Nevertheless, both steaming and drying did not significantly affected water and oil absorption efficiencies of soy flour. There were no relationship between heat gain and heat gain and dehulling effectiveness of soybean and properties of soy flour.
Subject : ถั่วเหลือง -- การอบแห้ง. อาหาร -- การอบแห้ง. ถั่วเหลือง -- วิจัย. การอบแห้ง -- วิจัย. Drying -- Research. Soybean -- Research. Soybean -- Drying. Food -- Drying.