- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2185
Author : นรินทร์ เจริญพันธ์.
Source : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 27, 5 (ก.ย.- ต.ค. 2562) 915-923
Abstract : ปลายข้าวเป็นผลพลอยได้จากการสีข้าวมีโปรตีนสูง ไขมัน และใยอาหารต่ำ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพือศึกษาอัตราส่วนที เหมาะสมของแป้งจากปลายข้าวและเนื้อลำไยสดต่อคุณภาพของเค้ก วิเคราะห์ค่าปริมาตร วัดค่าวอเตอร์แอคทีวิตี้ ค่าสี และการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคที ไม่ผ่านการฝึกฝนจ่านวน 30 คน พบว่า ค่าปริมาตรของเค้กแปรผันตรงกับปริมาณแป้งจากปลายข้าว โดยสูตรที มีปริมาณเนื้อล่าไยสดปั่นละเอียดมากทีสุด มีค่าวอเตอร์แอคทีวิตี้สูง และค่าความสว่าง (L*) ที สุดต่ำ สูตรที่เหมาะสมในการผลิตเค้กประกอบด้วยแป้งปลายข้าวหอมมะลิไทย เนื้อลำไยสด นมสด ผงฟู ยีสต์ เนยสดชนิดเค็ม น้ำตาลทรายขาว และไข่ไก่เท่ากับ 75, 25, 60, 1.5, 1.5, 20, 40 และ 20 กรัม ตามลำดับ โดยคะแนนเฉลียจากการประเมินทางประสาทสัมผัสด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวมสูงทีสุด เมื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เค้กลูกชุบ และทดสอบความชอบกับผู้บริโภคที ไม่ผ่านการฝึกฝนจ่านวน 100 คน พบว่า มีคะแนนเฉลียด้านความชอบรวม (7.88 คะแนน) อยู่ในระดับชอบปานกลาง โดยภาพรวมเค้กลูกชุบจากแป้งปลายข้าวหอมมะลิไทยเป็นผลิตภัณฑ์ทีน่าสนใจ สามารถน่าไปพัฒนาต่อยอดสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรม.
Subject : มหาวิทยาลัยบูรพา คณะเทคโนโลยีการเกษตร -- วิจัย. เค้ก. เค้กข้าว. ข้าว – การใช้ปรุงอาหาร. ข้าว – การแปรรูป. อาหาร – การประเมินลักษณะทางประสาทสัมผัส.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2221
Author : อาจารย์เจษฎ์, นามแฝง
Source : นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับที่ 93 (ธ.ค. 2563) 48-49
Abstract : หมึกสายวงน้ำเงิน หรือหมึกบลูริง (blue-ringed octopus) เป็นหมึกในสกุล Hapalochlaena อันดับหมึกยักษ์ จัดเป็นหมึกขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีจุดเด่นคือ สีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วงสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม หมึกสายวงน้ำเงินนั้นมีพิษที่ผสมอยู่ในน้ำลายที่ร้ายแรงมาก เกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในต่อมน้ำลายของมัน เป็นแบคทีเรียสกุล Bacillus และ Pseudomonas ซึ่งมีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าถึง 20 เท่า นับเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ผู้ที่ถูกกัดจะตายภายใน 2-3 นาที สารพิษของหมึกสายวงน้ำเงินนั้น เรียกว่า เทโทรโดทอกซิน (tetrodotoxin) เป็นพิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้าออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยจะเข้าไปขัดขวางการสั่งงานของสมองที่จะไปยังกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิต คนที่ถูกพิษจะมีอาการคล้ายเป็นอัมพาตหายใจไม่ออกเนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่สามารถนำอากาศเข้าสู่ปอดได้จึงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต การปฐมพยาบาลต้องหาวิธีนำอากาศเข้าสู่ปอด เช่น เป่าปาก จากนั้นต้องรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน เพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าช่วยชีวิตเป็นผล ผู้ป่วยจะฟื้นเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง เว้นแต่ว่าจะขาดอากาศนานเกินไปจนสมองตาย ในน่านน้ำของประเทศไทยนั้นมีหมึกสายวงน้ำเงินอย่างน้อย 1 สปีชีส์ จากทั้งหมด 3-4 สปีชีส์ คือ Hapalochlaena maculosa สามารถพบได้ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ต่อมพิษของหมึกชนิดนี้จะอยู่ที่ปากในต่อมน้ำลาย ไม่ได้กระจายทั่วไปตามลำตัว ผู้ที่ได้พิษนั้นมักเกิดจากการถูกมันกัดไม่ใช่จากการสัมผัสโดนตัว โดยพิษของหมึกชนิดนี้จะไม่สลายเมื่อถูกความร้อน หากนำไปปรุงอาหารจนสุกแล้วรับประทานเข้าไปก็เสี่ยงได้รับอันตรายเช่นกัน จึงไม่ควรซื้อมาปรุงเป็นอาหารรับประทานเด็ดขาด.
Subject : อาหาร. ปลาหมึก. การปรุงอาหาร (ปลาหมึก). ปลาหมึก -- พิษ. เทโทรโดท็อกซิน. แบคทีเรีย. บาซิลลัส. ซูโดโมนาส. Tetrodotoxin. Bacteria. Bacillus (Bacteria). Pseudomonas.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2083
Author : กุศล เอี่ยมทรัพย์.
Source : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว 35, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563) 44-47
Abstract : จังหวัดกำแพงเพชรมีกล้วยไข่เป็นผลไม้เอกลักษณ์ประจำจังหวัดที่อร่อยขึ้นชื่อที่สุดจนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกลดลงอย่างมาก เนื่องจากสาเหตุลมพายุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จึงได้ทำการทดลองลดความสูงของกล้วยไข่จากการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุน 1 บาทต่อต้น แต่ลดความเสียหายจากลมพายุได้ดี และยังสามารถปลูกชิดกันได้มากขึ้น นอกจากนี้ วว. ยังได้ทำการวิจัยเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผลกล้วยไข่ โดยใช้สารกลุ่มจิบเบอเรลลิน พบว่า สามารถเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผลกล้วยไข่ได้ 50-70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการวิจัยนี้สามารถแก้ปัญหาและทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย.
Subject : กล้วย. กล้วย -- การปลูก -- กำแพงเพชร. จิบเบอเรลลิน. Gibberellins.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2348
Source : นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับที่ 95 (ก.พ. 2564) 15-16
Abstract : ไมโครกรีน คือ ต้นอ่อนของผักที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ โดยจุดเด่นของไมโครกรีนคือปริมาณสารอาหารและพฤกษเคมีที่สูง เช่น วิตามินซี แคโรทีนอยด์ สารประกอบฟีนอล และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี ดีบุก และโมลิบดีนัม นอกจากนี้ยังมีสารต้านมะเร็งสูงกว่าผักโตเต็มวัยทั่วไป ทำให้แนวโน้มความนิยมในการบริโภคผักกำลังเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มหันมาบริโภคไมโครกรีนเพิ่มขึ้นเพราะไม่ต้องบริโภคผักโตเต็มวัยในปริมาณมาก เพื่อให้ได้สารอาหารเท่าที่ต้องการ ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันว่าไมโครกรีนมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพมาก โดยเฉพาะต้นอ่อนของผักในตระกูลกะหล่ำ เช่น บรอกโคลี คะน้า กะหล่ำปลี หัวไชเท้า ไควาเระ มัสตาร์ด เนื่องจากมีสารต้านมะเร็ง (glucosinolate) ที่มีเฉพาะในผักตระกูลกะหล่ำเท่านั้น และปัจจุบันมีการศึกษาผักพื้นบ้านของไทยมาเพราะเป็นไมโครกรีน เช่น กระเจี๊ยบแดง ผักขี้หูด ซึ่งผักเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารไม่แพ้ไมโครกรีนต่างประเทศ ถือเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตรกรและผู้บริโภค.
Subject : ผัก. ผัก -- แง่โภชนาการ. สารอาหาร. อาหาร. การปลูกพืช. ผัก – การปลูก.