เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูกแบบพกพาขนาดเล็กแม่นยำและปลอดภัยต่อผู้วัดใช้แสงตรวจวัดได้เองและสะดวกต่อการใช้งานเหมาะต่อการใช้งานเป็นประจำช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจที่โรงพยาบาล

รองศาสตราจารย์อนรรฆ ขันธะชวนะอาจารย์คณะวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมชีวภาพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีพัฒนาเครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูกแบบพกพาโดยใช้แสงเป็นการวัดความหนาแน่นของกระดูกอธิบายแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่าปกติการวัดความหนาแน่นของกระดูกจะใช้เครื่องเอกซเรย์ซึ่งมีขนาดใหญ่และอันตรายต่อผู้วัด
"เราจึงคิดค้นเครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูกแบบพกพาโดยใช้แสงเพื่อเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกที่มีความแม่นยำและปลอดภัยอีกทั้งสามารถพกพาได้เนื่องจากมีขนาดเล็กเครื่องวัดความหนาแน่นกระดูกนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เป็นประจำโดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลเป็นการลดค่ารักษาพยาบาล"ทีมวิจัยระบุ
นายณรงค์เดชสุรัชนีนพดล นักวิจัยห้องปฎิบัติการวัสดุฉลาดSmartlabมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีหนึ่งในทีมพัฒนาเครื่องวัดความหนาแน่นกระดูกกล่าวว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีปัญหากับโรคกระดูกพรุนและปัญหาไม่ได้มีเพียงแค่นี้การที่ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะรับทราบได้ว่าตนเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่นั้นต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลอย่างเดียวและค่าบริการการแพทย์ปัจจุบันยังอยู่ที่ราคาหลักพันบาทอีกด้วย
นายณรงค์เดชกล่าวต่อว่าแรงบันดาลใจมาจากความคิดที่ว่าจะเป็นการดีหากสามารถพกพาได้และใช้งานได้สะดวกจึงได้คิดค้นเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกแบบพกพาโดยใช้แสงซึ่งหลักการของเครื่องตัวนี้ใช้หลักการของแสงโดยวัดค่าของมวลกระดูกออกมาในช่วงความยาวของคลื่นเฉพาะ
“ตัวนี้ข้อดีของเครื่องคือเราสามารถตรวจสอบว่าเรามีความเสี่ยงหรือเปล่าที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนก่อนที่จะไปพบแพทย์จริงๆสามารถวัดเองได้ที่บ้านค่าที่ถูกวัดออกมาจะเป็นแถบสเกลที่บอกว่าเราเริ่มมีความเสี่ยงหรือยังหรือว่าเราปกติอยู่ครับถ้าเราเริ่มมีความเสี่ยงอยู่เราก็สามารถพบแพทย์ได้ครับผมและตัวเครื่องนี้ในปัจจุบันการพัฒนาของเราได้เน้นระบบปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอเข้ามาช่วย”
"สำหรับเอไอของเครื่องมีค่ามาตราฐานของผู้ป่วยในอาเซียนค่าที่วัดได้กับค่าผู้ป่วยในอาเซียนก็จะเทียบกันว่าเราเป็นเคสปกติ หรือเริ่มมีความเสี่ยงซึ่งในการพัฒนาถัดไปทีมวิจัยตั้งเป้าจะทำให้เอไอฉลาดมากยิ่งขึ้นก็คือเวลาเราตรวจสอบครั้งแรกครั้งที่สองก็จะเริ่มคุ้นเคยกับเราว่าปกติแล้วมวลกระดูกเรามีค่ามาตราฐานประมาณนี่นะ”นักวิจัยกล่าว
นายณรงค์เดชเผยว่าการพัฒนาเครื่องมือวัดความหนาแน่นกระดูกนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในไทยคือ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัยต่างชาติคือ มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นที่คานาซาวาซึ่งตอนนี้บริษัทในญี่ปุ่นได้รับเครื่องวัดความหนาแน่นกระดูกนี้ไปพัฒนาต่อและมีบริษัทไทยที่เป็นหุ้นส่วนกับญี่ปุ่นโดยกำลังเริ่มต้นนำมาผลิตในไทยคาดว่าประมาณปีนี้สามารถขายได้รวมถึงขายได้ในราคาที่ถูก
ผลงานนี้ได้ร่วมจัดแสดงภายในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี2562นั้นจัดขึ้นระหว่างวันที่2-6กุมภาพันธ์2562ณศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)ในฐานะเลขานุร่วมการสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและหน่วยงานในระบบวิจัยและเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยซึ่งมีผลงานประดิษฐ์คิดค้นทั้งในประเทศและนานาชาติมาร่วมจัดแสดงกว่า 1,500ผลงาน

ที่่มา : Manager online 06 กุมภาพันธ์ 2562  [https://mgronline.com/science/detail/9620000012600]