เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate – HTAPC) ร่วมกับ ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ “การถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหามลพิษอากาศรายภาคส่วนประเทศไทย อดีต – ปัจจุบัน – อนาคต” เพื่อใช้เป็นตัวอย่างและบทเรียนเพื่อนำไปพิจารณาปรับใช้ในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษอากาศจากวันนี้ต่อไปในอนาคต และแก้ไขปัญหามลพิษอากาศในประเทศไทยให้ได้มาซึ่งอากาศสะอาดสำหรับประชาชนต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน ซึ่งมี ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ และ นายไพสิฐ พาณิชย์กุล ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ กล่าวต้อนรับในการเสวนาครั้งนี้ ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

ปัญหามลพิษในน้ำ ไม่เพียงส่งผลต่อมนุษย์เราที่ต้องใช้น้ำในการดำรงชีวิต ยังรวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พัฒนา "เซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้าตรวจวัดโลหะหนัก" ตัวช่วยตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของ 4 โลหะอันตรายอย่าง แคดเมียม, ตะกั่ว, ปรอท และสารหนู ในน้ำและพืชสมุนไพร ตอบโจทย์การใช้งานภาคสนามและห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก ชูจุดเด่น ตรวจพร้อมกันได้หลายชนิดโลหะ รู้ผลเชิงปริมาณใน 1 นาที ต้นแบบเซ็นเซอร์พร้อมต่อยอดใช้งาน รับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้าน Green Economy เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน “ไทย-จีน” ลงนามความร่วมมือด้านอวกาศและสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ ณ กรุงปักกิ่ง

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT เผยในวันที่ 8 เมษายน 2567 จะเกิดพายุสุริยะขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบกับโลก ซึ่งวันดังกล่าวตรงกับวันที่เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง แท้จริงแล้ว เบื้องต้นยังไม่มีรายงานถึงพายุสุริยะในวันดังกล่าว และ ปรากฏการณ์สุริยุปราคา ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการเกิดพายุสุริยะ