ตลอดการเป็นประธานอาเซียนของไทยในปี 2562 ในสิ่งที่ไทยในฐานะประธานอาเซียนจะนํามาใช้ตลอดปีคือ การใช้แนวทางการจัดประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Meeting ควบคู่ไปกับประเด็นสําคัญที่ รัฐบาลพูดถึงมาตลอดคือการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
นายธฤต จรุงวัฒน์ อดีตเอกอัครราชทูต และหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอาเซียน 2019 ของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรับผิดขอบดูแลภาพรวมของการจัดการประชุ่มอาเซียนตลอดปีนี้ เล่าให้ฟังถึงที่มาของแนวคิดดัง กล่าวว่า ปัจจุบันขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยข้อมูลที่น่าตกใจคือ 6 ใน 10 ประเทศที่มีขยะพลาสติกในทะเลมากที่สุดในโลกคือประเทศสมาช็กอาเซียนขณะที่หนึ่งในแนวคิดหลักภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของไทยคือการสร้างความยั่งยืนซึ่งรวมถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศด้วย
ท่านทูตธฤตบอกว่า ตลอดปี 2562 นี้ไทยจะต้องเป็นเจ้าภาพการประทุ่มอาเซียนมากกว่า 180 การประชุมและจะมีผู้เดินทางมาเข้าร่วมการประทุ่มทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชนไม่ต่ํากว่า 10,000 คน ซึ่งย่อมทําให้เกิดขยะพลาสติกและการใช้กระดาษจํานวนมากกระทรวงการต่างประเทศจึงได้หารือร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแนวทางการจัดการประชุ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักการ 3Rs ได้แก่ การลดใช้วัสดุสิ่งของที่จะกลายเป็นขยะ (Reduce) การ ใช้วัสดุสิ่งของที่สามารถใช้งานได้หลายครั้ง (Reuse) และการนําวัสดุสิ่งของที่เป็นขยะมาผลิตเป็นสิ่งของใช้ ประโยชน์ใหม่ (Recycle)
การผลักดันให้การประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นได้จริงเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ เอสซีจี ที่สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประชุมซึ่งผลิตจากกระดาษรีไซเคิลหรือกระดาษชานอ้อย บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด สนับสนุนวัสดุที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพหรือเส้นใยพลาสติกรีไซเคิล กลุ่มเซ็นทรัลที่ช่วยสนับสนุนผลิตภัณฑ์ซุ้มขั้นที่จัดมาเป็นที่ระลึกให้กับผู้เข้าร่วมประชุมและสื่อมวลชน บริษัท Magnolia Quality Development Corporation จํากัด ที่จะนําป้ายพลาสติกไวนิลเหลือใช้จากการจัดประชุม มาตัดเย็บเป็นกระเป๋าใส่ของเพื่อลดขยะและสร้างคุณค่าใหม่ให้กับสิ่งที่นํามาใช้เหล่านี้
ไม่เพียงเท่านั้นแม้แต่การเลือกใช้สถานที่จัดการประชุมและโรงแรมที่พักก็ต้องมีการได้รับการรับรองมาตรฐาน การพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน และการดําเนินมาตรการที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การคัดแยกขยะ ใช้ขวดแก้วแทนขวดพลาสติก
กระทั่งกล่องบรรจุอาหารสําหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประทุ่มทั้งหมดก็ต้องไม่ใช้กล่องโฟม แต่หันมาใช้ กล่องใส่อาหารและซื้อนส้อมที่ผลิตจากวัสดุที่ย่อยสลายง่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงสามารถใช้ได้ ซ้ําอีก เพราะเพียงแค่กล่องอาหารสําหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 ถึง 23 มิถุนายนนี้ ก็มีมากถึง 40,000 กล่อง นั่นหมายถึงว่าหากไม่ใช้วัสดุเช่นนี้จะ สร้างขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นกว่าแสนชิ้น
การจัดการประชุ่มอาเซียนตลอดปีของไทยยังงดใช้วัสดุที่ทําจากโฟมในการตกแต่งห้องประทุ่ม แต่มีการนํา เอากระดาษมาจัดทําเป็นตราสัญลักษณ์ของการประทุ่มแทน ซึ่งสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและสามารถนําไป ใช้ได้ใหม่ในการประชุมครั้งต่อไป ขณะที่ข้าวของบางอย่าง อาทิ เก้าอี้ที่ทําขึ้นจากกระดาษก็ได้นําไปมอบให้ กับโรงเรียนในท้องถิ่นหรือจังหวัดที่มีการจัดประชุ่มเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ต่ออีกด้วย
ในประเด็นของการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังนั้น ท่านทูตธฤตบอกว่า สิ่งของที่นํามาแจกให้กับผู้เข้าร่วมประชุมรวม ถึงสื่อมวลฑ์นนอกจากจะเน้นวัสดุรีไซเคิลแล้วยังเน้นการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีการนําเอาข้าวของ ต่างๆ ที่ผลิตขึ้นจากชุ่มชนทั่วประเทศมาผลิตเป็นของที่ระลึก อาทิ ป้ายห้อยกระเป๋าที่ผลิตจากผ้าทอไทลื้อใน จ.เชียงราย และกระเป๋า
นอกจากนี้ยังมีช็อกโกแลตที่ผลิตขึ้นมาแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมประชุมยังทําขึ้นโดยมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึก อบรมคนพิการแห่งเอเชียแปซิฟิก (เอพีซีดี) ที่มีการตั้ง 60 Plus+ Bakery & Cafe Project ขึ้นเพื่อฝึกอบรม และสร้างอาชีพสําหรับผู้พิการ เพื่อให้พวกเขากลายเป็นผู้มีงานท่า
เช่นเดียวกับภายในสถานที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 ที่ได้มีการนําคาเฟ่อเมซอนมาเสิร์ฟ เครื่องดื่มให้กับผู้เข้าร่วมประชุม แต่สิ่งที่พิเศษคือบาริสต้าเป็นผู้พิการทางการได้ยินที่มีความ สามารถในการซงเครื่องดื่มได้ไม่แพ้ใคร โดยผู้ประชุมจะสื่อสารกับน้องๆ บาริสต้าได้ผ่านการทํา สัญลักษณ์มือตามป้ายที่วางไว้ด้านหน้า สร้างรอยยิ้มและความประทับใจให้ผู้ร่วมงานสมกับความ ตั้งใจที่จะ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ได้เป็นอย่างดี
ที่มา : www.asean2019.go.th 27 มิถุนายน 2562 [www.asean2019.go.th]