เพจเฟซบุ๊กกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับขยะอาหารเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนช่วยกันคนละไม้ละมือ ด้วยการเก็บรักษาพืชผักให้ถูกวิธีว่า
“ผักทุกชนิดมีโภชนาการแตกต่างกัน ในขณะเดียวกันอายุและการเก็บรักษาก็แตกต่างกัน ผักบางชนิด เช่น แครอทและฟักทองสามารถอยู่ได้นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนในขณะที่บางอย่างอาจเหี่ยวเฉาภายในสองวัน
การเก็บรักษาผักเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกครัวเรือน เพราะไม่พียงแค่ช่วยยืดอายุผักไว้ให้กินได้นานขึ้น ยังเป็นอีกทางรอดหนึ่งของโลกที่จะช่วยลดขยะเศษอาหาร
.องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประมาณการว่า ในแต่ละปีมีขยะอาหาร 1,300 ล้านตัน ซึ่ง 45% ของผักและผลไม้ที่ผลิตได้กลายเป็นขยะเศษอาหาร
.ปลายทางของขยะอาหารจะถูกนำไปที่หลุมฝังกลบ เมื่ออาหารสลายตัวโดยไม่ใช้ออกซิเจนมันจะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก
.ดังนั้น ก่อนการซื้อผัก หรือวัตถุดิบอื่นๆ ควรทำการวางแผนมื้ออาหารล่วงหน้า เก็บอาหารให้ถูกที่และถูกวิธีเพื่อยืดอายุ รวมไปถึงบริโภคในปริมาณพอดีๆ เท่าที่จะกินหมด ง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็ช่วยโลกเราได้”
ไม่ใช่แค่ “ขยะพลาสติก” ที่จะวนกลับมาหาเราด้วยการกลายร่างเป็น “ไมโครพลาสติก” ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา แต่ “ขยะอาหาร” ที่ก่อให้เกิด “ก๊าซเรือนกระจก” ก็วนกลับมาหาเราด้วยภาวะโลกร้อนที่เราต้องเผชิญเช่นกัน
ที่มา : Manager online 13 กรกฏาคม 2563 [https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9630000071486]