ตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพ ผลความคืบหน้าของการดำเนินงานต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกตัวหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ ได้แก่ CLIMATE CHANGE PERFORMANCE INDEX หรือ CCPI ซึ่งวัดในระดับของประเทศ ล่าสุดพบว่ายังไม่มีประเทศใดที่มีคะแนนโดยรวมโดดเด่น ในระดับที่จะได้รับรางวัล Top 3 ของโลก ทำให้สามอันดับดังกล่าวยังว่างอยู่

.
จากกราฟจะเห็นว่า เดนมาร์กเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการเป็นผู้นำเพื่อต่อต้านภาวะโลกร้อน โดยอยู่ในลำดับที่สี่ของผู้นำ CCPI ในปีนี้ ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้วจากการที่

.

-ประเทศได้เปลี่ยนการพึ่งพาพลังงานถ่านหินเป็นพลังงานลมและพลังงานชีวมวลสูงสุดของโลกในช่วงเวลาต่อเนื่องกันกว่าสองศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้ 30% ของแหล่งพลังงานของเดนมาร์กมาจากพลังงานหมุนเวียน

.

- กิจกรรมที่เป็นไปตามเป้าหมายการลดภาวะก๊าซเรือนกระจก มีความสอดคล้องกับพันธสัญญาปารีส ทำให้เดนมาร์กมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลงได้ 70% ภายในปี 2573 และเป็นศูนย์ภายในปี 2593

.

-เดนมาร์กได้เปิดตัว โครงการ Beyond Oil & Gas Alliance ในปีนี้ เพื่อที่จะออกจากกลุ่มการสกัดเชื้อเพลิงฟอสซิล

.

จะเห็นว่าประเทศพื้นที่ขนาดใหญ่แต่อยู่ในกลุ่มตรงกันข้ามกับเดนมาร์ก เช่น ออสเตรเลีย ตกลงมาถึง 4 อันดับ โดยเป็นอันดับที่ 58 ของ CCPI ในปีนี้ ถือว่าอยู่ในโซนล้าหลังกว่าประเทศกำลังพัฒนาอีกจำนวนมาก เป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีสัดส่วนสูง ความล้าหลังในการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งนโยบายต่อต้านสภาพภูมิอากาศที่อิงตามแผนการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งตั้งเป้าหมายสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยมลภาวะภายในปี 2040 ไม่เห็นภาพในทางรูปธรรม จากการที่ออสเตรเลียยังคงใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นว่า นโยบายที่ออกมาไม่เพียงพอในการรองรับภาพที่เกิดขึ้นจริง

.

นอกจากนั้น รัฐบาลยังไม่เลิกในการใช้ถ่านหินหรือก๊าซ ทำให้อัตราการเติบโตของกระแสไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนเป็นไปในอัตราที่ต่ำมาก และสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการใช้พลังงานหมุนเวียน มาทดแทนพลังงานจากฟอสซิลได้จริง อันเนื่องจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอ ควบคู่กับความไม่แน่นอน และขาดการปรับเปลี่ยนนโยบายให้เหมาะสม กับสถานการณ์ความรุนแรงของสภาวะโลกร้อน ที่เพิ่มระดับการคุกคามอย่างรวดเร็ว

.

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนอยู่ในระดับต่ำ และไม่สนับสนุนการลงทุนในการผลิตพลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานฟอสซิล รวมทั้งขาดการสนับสนุนอย่างเพียงพอและไม่ต่อเนื่องจากสาธารณชนสำหรับเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ของคาร์บอนยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม รองรับนโยบายในระดับชาติ

.

ส่วนประเทศไทย อันดับที่ 31 อยู่โซนกลางๆ ถือว่ายังค่อนข้างดี แต่ครั้งนี้ก็ตกลงมา 5 อันดับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหลายๆ ประเทศมีการขยับตัวที่ดีกว่าเรา อย่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อันดับดีกว่า เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

.

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000087814