ในปัจจุบันด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้เราได้ยินข่าวการเกิดพายุหมุนเขตร้อนที่มีระดับความรุนแรงมากขึ้น และได้ยินคำว่า “ซูเปอร์ไต้ฝุ่น” บ่อยมากขึ้น อย่างในช่วงนี้ที่มี “พายุไต้ฝุ่น นันมาดอล" ที่กำลังพัดถล่มทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้จัดให้อยู่ในประเภท “พายุที่มีกำลังรุนแรง” และได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีความเร็วลมสูงสุดถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้พายุลูกนี้ได้กลายเป็นพายุในระดับซูเปอร์ไต้ฝุ่น ที่มีขนาดใหญ่และรุนแรงมาก และยังมีความกดอากาศตรงกลาง 910 เฮกโตปาสคาล ความเร็วลมสูงสุดที่ 252 กม./ชม. ซึ่งในสถิติ ยังไม่มีพายุไต้ฝุ่น ที่มีความกดอากาศต่ำกว่า 925 เฮกโตปาสคาล ในแผ่นดินญี่ปุ่นมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1951 ทำให้พายุลูกนี้ถูกจัดอันดับให้มีความรุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปี

.

ด้วยความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นของพายุหมุนเขตร้อนในปัจจุบัน Science MGROnline จึงขอไปทำความรู้จักกับพายุหมุนเขตร้อน และระดับความรุนแรงของพายุกัน
“พายุหมุนเขตร้อน” คือคำทั่วๆ ไปที่ใช้สาหรับเรียกพายุหมุนที่เกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อนบริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาพที่เจริญเติบโตเต็มที่จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่นักประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก มีลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ ส่วนซีกโลกใต้ลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทางเดียวกับเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุดบางครั้งมีความเร็วลมเกินกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความกดอากาศต่ำสุดที่บริเวณศูนย์กลางบางครั้งต่ำกว่า 900 เฮกโตปาสคาล มีลักษณะอากาศร้ายเกิดขึ้น มีฝนตกหนักมาก บางครั้งมีพายุฟ้าคะนอง ฝนและเมฆมีลักษณะไม่เหมือนกันนักในแต่ละลูก ส่วนใหญ่เป็นแนวโค้งหมุนเข้าหาศูนย์กลาง มีเมฆคิวมูลัส และคิวมูโลนิบัสที่มีฝนอยู่ด้วย เกิดคลื่นสูงใหญ่ในทะเลและน้าขึ้นสูง หากพายุมีกำลังแรงจะให้ตรงบริเวณศูนย์กลางพายุมีลักษณะคล้ายกับตาเป็นวงกลมมองเห็นได้จากภาพถ่ายดาวเทียมเรียกว่า "ตาพายุ" เส้นผ่าศูนย์กลางตาพายุมีขนาดเพียงแค่ไม่กี่สิบกิโลเมตรเท่านั้น ภายในตาพายุนี้อากาศแจ่มใส มีเมฆบ้างเล็กน้อย ลมพัดอ่อน

.

ความรุนแรงพายุขึ้นกับอัตราลดความกดอากาศและความเร็วลม ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้จัดแบ่งประเภทพายุหมุน ตามความเร็วใกล้ศูนย์กลางพายุ โดยได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางน้อยกว่า 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 34 ถึง 64 นอต (63 ถึง 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

3. พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอร์ริเคน (Typhoon or Hurricane) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 นอต หรือมากกว่า หรือ ตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป

.

แต่เมื่อพายุหมุนเขตร้อนพัฒนาจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น ไซโคลน หรือ เฮอร์ริเคน จะมีการจัดระดับความรุนแรงภายในขึ้นอีกครั้ง โดยพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือที่เรียกว่า “ไต้ฝุ่น” จะถูกจัดระดับความรุนแรงตามเกณฑ์ของคณะกรรมการไต้ฝุ่นและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (ESCAP/WMO) รวมถึงกรมอุตุนิยมวิทยาของแต่ละประเทศในภูมิภาคดังกล่าว

.

โดยพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือที่เรียกว่า “ไต้ฝุ่น” จะถูกจัดระดับความรุนแรงตามเกณฑ์ของคณะกรรมการไต้ฝุ่นและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (ESCAP/WMO) รวมถึงกรมอุตุนิยมวิทยาของแต่ละประเทศในภูมิภาค

.

และทาง กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะแบ่งประเภทของพายุไต้ฝุ่นออกเป็น 3 ประเภท ตามความเร็วลมสูงสุดใน 10 นาที ถ้าต่ำกว่า 156 กม./ชม. จะถูกจัดเป็นประเภท “พายุไต้ฝุ่น” ความเร็วลมอยู่ระหว่าง 157–193 กม./ชม. จะถูกจัดประเภทเป็น “พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงมาก” และถ้าความเร็วลมมากกว่า 194 กม./ชม. จะถูกจัดเป็น “พายุไต้ฝุ่นรุนแรง”

.

ในส่วนของพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในซีกโลกเหนือแทบมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เราเรียกกันว่า “เฮอร์ริเคน” จะถูกจัดระดับความรุนแรงด้วย “มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์ – ซิมป์สัน”

.

โดยความเร็วลมของพายุเฮอร์ริเคน แบ่งตามสเกลเฮอร์ริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน เป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับ 1 มีความเร็วลมอยู่ที่ 119-153 กม./ชม. ระดับ 2 มีความเร็วลมอยู่ที่ 154-177 กม./ชม. ระดับ 3 มีความเร็วลมอยู่ที่ 178-209 กม./ชม. ระดับ 4 มีความเร็วลมอยู่ที่ 210-249 กม./ชม และ ระดับ 5 มีความเร็วลมอยู่ที่ 250 กม./ชม. ขึ้นไป

.

นอกจากระดับความรุนแรงของพายุแล้ว พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันตามแหล่งกำเนิด คือ หากเกิดขึ้นในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้ เรียก “ไต้ฝุ่น” (Typhoon) เกิดขึ้นที่ อ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เรียก “ไซโคลน” (Cyclone) เกิดขึ้นที่มหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน เรียก “เฮอร์ริเคน” (Hurricane) ในพื้นที่ทะเลฟิลิปปินส์ เรียก “บาเกียว” (Baguio) และในพื้นที่ทะเลออสเตรเลีย เรียก “วิลลี_วิลลี่” (Willi-Willi)

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9650000089705