Madagascar hissing cockroach mounted with a "backpack" of electronics pictured in Wako
ในอนาคตอันใกล้ หากเกิดแผ่นดินไหวทำให้อาคารถล่มและมีผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพัง หน่วยฉุกเฉินกลุ่มแรกที่สามารถเข้าถึงผู้ประสบภัยเหล่านั้นได้อาจจะเป็นฝูงแมลงสาบตัวจิ๋วที่หลายคนเกลียดและกลัว
.
นั่นเป็นสิ่งที่คณะนักวิจัยชาวญี่ปุ่นที่บริษัทวิจัย ไรเคน (Riken) วาดหวังไว้ว่าจะเกิดขึ้นได้จริง ด้วยการพัฒนา "แมลงสาบไซบอร์ก" ขึ้นมา ด้วยการติดอุปกรณ์แปลงไฟฟ้าขนาดเล็กไว้บนหลังแมลงสาบเหล่านั้น และควบคุมการเคลื่อนไหวของพวกมันด้วยรีโมทคอนโทรล
.
Madagascar hissing cockroach mounted with a "backpack" of electronics pictured in Wako
เคนชิโร ฟุกุดะ และทีมงานของเขา กำลังมุ่งมั่นพัฒนาแมลงสาบไซบอร์กที่ห้องทดลอง Thin-Film Device ของบริษัทไรเคน โดยใช้วิธีติดแผ่นโซลาร์เซลล์ที่มีความหนาเพียง 4 ไมครอน หรือ 1/25 ของความกว้างของเส้นผมมนุษย์ ลงบนหลังของแมลงสาบที่ใช้ในการทดลองพร้อมกับอุปกรณ์คล้ายเป้สะพายหลังขนาดจิ๋ว
.
แผ่นโซลาร์เซลล์นี้จะใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับส่งสัญญาณกระตุ้นแมลงสาบให้ทำตามกลไกควบคุม โดยแมลงสาบตัวนั้นยังสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ทำให้สามารถนำไปใช้งานตามพื้นที่ประสบภัยต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าการใช้หุ่นยนต์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
.
การวิจัยนี้ใช้แมลงสาบพันธุ์มาดากัสการ์ฮิซซิ่ง เนื่องจากมีขนาดใหญ่พอสำหรับรองรับน้ำหนักของอุปกรณ์ ทำให้มันสามารถเคลื่อนไหวได้ และไม่มีปีกที่จะเป็นปัญหาต่อการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว โดยอุปกรณ์สะพายหลังแมลงสาบนี้สามารถถอดออกได้เพื่อให้พวกมันใช้ชีวิตได้ตามปกติหลังเสร็จภารกิจแล้ว
.
Madagascar hissing cockroach mounted with a "backpack" of electronics pictured in Wako
ขั้นต่อไปคือการทำให้อุปกรณ์บนหลังแมลงสาบมีขนาดเล็กลงเพื่อให้พวกมันเคลื่อนไหวได้สะดวกยิ่งขึ้น และเพิ่มพื้นที่ให้สามารถติดตั้งเซนเซอร์และกล้องขนาดจิ๋วได้
.
แม้งานวิจัยชิ้นนี้ยังมีหนทางอีกยาวไกล แต่ฟุกุดะเชื่อว่า ผลงานชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อภารกิจกู้ภัยในอนาคต และแผ่นฟิล์มโซลาร์เซลล์นี้ยังอาจนำไปใช้ในทางการแพทย์ได้อีกด้วย
ที่มา : voathai https://www.voathai.com/a/6760920.html