นักวิทยาศาสตร์ของอีเอสเอระบุว่า ดาวเทียมที่เตรียมจะปล่อยขึ้นโคจรโลกในปี 2026 จะตรวจจับและแสดงให้เห็นถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์เตือนมาหลายครั้งแล้วถึงช่องว่างระหว่างสิ่งที่แต่ละประเทศให้คำมั่นจะทำเพื่อลดโลกร้อน กับความเป็นจริง ดังนั้น แม้ที่ประชุม COP28 จะบรรลุข้อตกลงในการเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานทดแทน แต่เราจะทำให้มั่นใจได้อย่างไรว่า ทุกประเทศจะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ แล้วดาวเทียมจะเข้ามามีบทบาทในการติดตามการทำงานของแต่ละประเทศได้หรือไม่

.

ย้อนไปเมื่อปี 2016 ตอนที่ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นอีพี ได้เปิดเผยรายงานประจำปีว่าด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้บริษัท ฟ็อลคส์วาเกิน (Volkswagen) เผชิญข่าวอื้อฉาว ถึงการฉ้อฉลการทดสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์ในสหรัฐฯ ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ในรถยนต์ที่ทำให้เมื่อถูกทดสอบปริมาณการปล่อยก๊าซ รถยนต์ก็สามารถปรับสมรรถนะให้ได้ผลลัพธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ดีขึ้น

.

“หากบริษัทยานยนต์สามารถโกงโลกได้แบบนี้ เราจะทำอย่างไรให้มั่นใจประเทศและบริษัทต่าง ๆ รายงานผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างสุจริต” นาวิน สิงห์ คัดคา ผู้สื่อข่าวด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งคำถาม

.

“เราจะตรวจสอบจากท้องฟ้า” เจ้าหน้าที่ยูเอ็นดีพีคนหนึ่ง ตอบ พร้อมชี้นิ้วขึ้นเหนือศีรษะ “ดาวเทียมจะแสดงให้เราเห็นว่าใครกำลังทำอะไร และสิ่งที่พวกเขาอ้างถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของพวกเขานั้น ถูกต้องหรือไม่”

.

ปัจจุบัน มีดาวเทียมราว 20 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลกและมีภารกิจสังเกตการณ์ก๊าซเรือนกระจก แต่นักวิทยาศาสตร์จากสำนักงานด้านอวกาศรายใหญ่หลายแห่งบอกกับบีบีซีว่า เทคโนโลยีดาวเทียมเหล่านี้ ยังทำสิ่งที่มนุษย์ต้องการไม่ได้

ที่มา : BBC https://www.bbc.com/thai/articles/cn49y158pnro