นับตั้งแต่อดีตก่อนมีการใช้ปฏิทินสากล การใช้ตำแหน่งของดวงดาวบนท้องฟ้าเป็นสิ่งกำหนดวันสำคัญ ได้ถูกใช้กันมาอย่างยาวนาน เช่น เทศกาลสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย ก็ได้มีการใช้ดวงดาวบนท้องฟ้าเป็นสิ่งกำหนดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันด้วยเช่นกัน และยังทำให้เราได้รู้อีกว่า โลกของเราได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบวงโคจร และได้เริ่มต้นวงโคจรรอบใหม่อีกครั้ง
.
เรารู้ว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะ ใช้ระยะเวลาประมาณ 365 วัน หรือ 1 ปี บนท้องฟ้าดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราประมาณ 1° ต่อวัน โดยมีทิศทางจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ตรงข้ามกับการหมุนของทรงกลมท้องฟ้า ซึ่งเรียกระนาบการโคจรนี้ว่า “สุริยวิถี”
.
สุริยวิถีเป็นแถบสมมติบนท้องฟ้า โดยเป็นระนาบเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปีท่ามกลางดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง ทำให้ท้องฟ้าในแต่ละเดือนเมื่อมองจากโลกจะมีกลุ่มดาวที่แตกต่างกัน เป็นกลุ่มดาวต่างๆ ตามระนาบวงโคจร
.
การแบ่งเส้นสุริยวิถีออกเป็นจักรราศี มีเริ่มต้นในยุคบาบิโลเนีย ช่วงครึ่งแรกของ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้คนบนโลกเมื่อครั้งอดีต สามารถใช้ข้อมูลการโคจรของดวงดาวนี้ บันทึกเรื่องราวระบุวัน – เวลาต่างๆ ได้
.
เริ่มตั้งแต่ 1. กลุ่มดาวแกะ (ราศีเมษ) 2. กลุ่มดาววัว (ราศีพฤษภ) 3.กลุ่มดาวคนคู่
.
(ราศีเมถุน) 4.กลุ่มดาวปู (ราศีกรกฎ) 5.กลุ่มดาวสิงโต (ราศีสิงห์) 6.กลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี (ราศีกันย์) 7.กลุ่มดาวคันชั่ง (ราศีตุล) 8.กลุ่มดาวแมงป่อง (ราศีพิจิก) 9.กลุ่มดาวคนยิงธนู (ราศีธนู) 10.กลุ่มดาวมกร หรือ แพะทะเล (ราศีมังกร) 11.กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (ราศีกุมภ์) และ 12. กลุ่มดาวปลาคู่ (ราศีมีน) กลุ่มดาวฉากหลังสุดท้าย ก่อนที่จะครบวงโคจร และเริ่มต้นการโคจรรอบใหม่อีกครั้งที่กลุ่มดาวแกะ
.
cในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของไทยเรานั้น ได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน “มหาสงกรานต์” ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษอีกครั้ง หลังจากที่ผ่านราศีอื่นๆ มาแล้วจนครบ 12 เดือน หรือตามสุริยวิถีคือพระอาทิตย์จะขึ้นและตกดินโดยมีกลุ่มดาวแกะเป็นฉากหลัง โดยพระอาทิตย์จะย้ายราศีในวันที่ 13 เมษายน ถือเป็นช่วงที่โลกได้สิ้นสุดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ราศีมีน กลุ่มดาวปลาคู่ ลำดับที่ 12 และเข้าสู่วงโคจรรอบใหม่อีกครั้ง เมื่อดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษ กลุ่มดาวแกะ ลำดับที่ 1
.
และคำว่าสงกรานต์ในภาษาสันสกฤต ยังมีความหายว่า "ผ่าน" หรือ "เคลื่อนย้ายเข้าไป จึงทำให้ช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้น ถือเป็นการสิ้นสุดการโคจร 1 รอบ และเริ่มต้นการโคจรรอบดวงอาทิตย์ใหม่อีกครั้ง
.
ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9670000032294