ประเทศไทยพร้อมเปิดบ้านรับนานาชาติ โชว์ศักยภาพการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในงานสัปดาห์แห่งความยั่งยืน SustainAsia Week 2024 ภายใต้แนวคิด “Low Carbon &Sustainable ASEAN Economy” ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2567 จัดเต็มการแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีด้านพลังงานและการขนส่งยุคใหม่สุดล้ำ และการประชุมสัมมนาวิชาการเกาะติดเทรนด์สุดฮอตของโลก โดยหนึ่งในไฮไลท์ คือ การจัดประชุม “Asia CCUS Network Forum” ครั้งที่ 4 เพื่อผลักดันเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศในภูมิภาค พร้อมเปิดเวที “โครงการขับเคลื่อน มองไกล เพื่อชุมชนที่ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีพลังงานสะอาด” หนุนท้องถิ่นมีส่วนร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ

.

ปัจจุบัน รัฐบาลไทยนำโดยนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน โดยมุ่งมั่นผลักดันประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาดตามข้อตกลงของการประชุมระดับผู้นำของรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28) เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ.2065

.

ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล ประธานการจัดงาน SustainAsia Week 2024 และ Sustainable Energy Technology Asia 2024 หรือ SETA2024 กล่าวว่า การจัดงาน SustainAsia Week 2024 เป็นโอกาสที่ไทยและนานาชาติจะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดและไฟฟ้าสีเขียว เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ลดมลพิษ และสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและเศรษฐกิจ โดยมีบริษัท แกท อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงพลังงาน สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรุงเทพมหานคร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้จัดเตรียมงานมหกรรมด้านพลังงานครั้งยิ่งใหญ่นี้

.

SustainAsia Week 2024 เป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ในยุคที่อุตสาหกรรมพลังงานกำลังเผชิญกับความท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิต และผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ทั้งนี้ หลังปี ค.ศ. 2040 เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนฯ (CCS) และเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอน การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บก๊าซคาร์บอนฯ (CCUS) จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมายดังกล่าว

.

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia : ERIA) ระบุว่าชาติสมาชิกอาเซียนมีการใช้เทคโนโลยี CCS ใน 85% โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน และ 91% ในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ไปจนถึงปีค.ศ.2050 ดังนั้น การใช้เทคโนโลยี CCS จึงจำเป็นสำหรับประเทศที่ต้องการบรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน ปัจจุบัน มีการดำเนินโครงการ CCS หลายโครงการในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น อินโดนีเซียและมาเลเซีย ทั้งนี้ โครงการสาธิตเทคโนโลยี CCS ที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้เรียนรู้ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและโอกาสทางธุรกิจด้วย ซึ่งคาดการณ์ว่า โครงการสาธิตเทคโนโลยี CCS จะค่อยๆ เปลี่ยนผ่านสู่โครงการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงปี ค.ศ. 2025 - 2030

.

ทั้งนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างด้วยตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี CCUS จึงได้จัดงาน Asia CCUS Network Forum ครั้งที่ 4 (ACNF4) ขึ้นภายใต้ SustainAsia Week 2024 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia : ERIA) สถาบันเศรษฐศาสตร์พลังงาน ประเทศญี่ปุ่น IEEJ (Institute of Energy Economics, Japan) และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) โดยภายในงานจะมีการหารือในประเด็นสำคัญ ได้แก่ การกำหนดกรอบการทำงานด้านกฎระเบียบและกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจ CCS) และ CCUS มุมมองเชิงเศรษฐกิจและนโยบายด้านการรีไซเคิลคาร์บอน และความร่วมมือกับหน่วยงาน Carbon Management Challenge เพื่อส่งเสริมให้นานาประเทศเพิ่มการใช้เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน นอกจากนี้ ในงานดังกล่าวจะมีการลงนาม MOU/MOC ระหว่างหน่วยงานของญี่ปุ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากชาติสมาชิกอาเซียนด้วย

.

ทั้งนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างด้วยตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี CCUS จึงได้จัดงาน Asia CCUS Network Forum ครั้งที่ 4 (ACNF4) ขึ้นภายใต้ SustainAsia Week 2024 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia : ERIA) สถาบันเศรษฐศาสตร์พลังงาน ประเทศญี่ปุ่น IEEJ (Institute of Energy Economics, Japan) และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) โดยภายในงานจะมีการหารือในประเด็นสำคัญ ได้แก่ การกำหนดกรอบการทำงานด้านกฎระเบียบและกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจ CCS) และ CCUS มุมมองเชิงเศรษฐกิจและนโยบายด้านการรีไซเคิลคาร์บอน และความร่วมมือกับหน่วยงาน Carbon Management Challenge เพื่อส่งเสริมให้นานาประเทศเพิ่มการใช้เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน นอกจากนี้ ในงานดังกล่าวจะมีการลงนาม MOU/MOC ระหว่างหน่วยงานของญี่ปุ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากชาติสมาชิกอาเซียนด้วย

.

อีกหนึ่งเวทีที่น่าสนใจ คือ โครงการขับเคลื่อน มองไกล เพื่อชุมชนที่ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีพลังงานสะอาด (Empowering Communities: Engaging Citizens in Local Sustainability Initiatives) ที่จะจัดภายใต้งาน SustainAsia Week 2024 เช่นกัน โดยผู้จัดงานเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้นำในระดับท้องถิ่น จึงได้จัดทำโปรแกรมให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อการ ตระหนัก เรียนรู้ และการสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้จริง ในการใช้เทคโนโลยีทันสมัยเพื่อพลังงานสะอาด เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนไปพร้อมกับทุกภาคส่วนในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างแท้จริง

.

นอกจากนั้น ยังมีงานสำคัญด้านพลังงานที่จะจัดควบคู่กันในมหกรรม SustainAsia Week 2024 และ SETA2024 ได้แก่ งานแสดงเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และระบบการกักเก็บพลังงาน หรือ SSA2024 (SOLAR+STORAGE ASIA 2024) งานขนส่งและยานยนต์อนาคตแห่งเอเชีย หรือ SMA2024 (Sustainable Mobility Asia 2024) และ งาน Zero Carbon Expo 2024 โดยมีพื้นที่แสดงนิทรรศการและเวทีการประชุมสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อที่อยู่ในความสนใจหลากหลายประเด็น อาทิ การประชุม Leadership Asian Energy Summit และศาลานิทรรศการ SCG Pavilion ที่จะมีบริษัทในเครือ SCG มาตั้งบูธแสดงและมีผู้บริหารของกลุ่มมากล่าวถึงแนวคิด Green Infrastructure เป็นต้น

.

นอกจากนี้ ยังชวนทุกคนก้าวไปพร้อมกันทั้งเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและสังคม ผ่านพื้นที่กิจกรรมภายใต้ชื่อ “LEAVE YOUR CARBON BEHIND, NOT PEOPLE” ที่รวบรวมกิจกรรมเพื่อให้ผู้ร่วมงานได้ทำความเข้าใจ จนไปสู่การลงมือทำ อาทิ พาทุกท่านไปสำรวจปริมาณการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในชีวิตประจำวัน เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนในแง่มุมของธุรกิจกับความยั่งยืน หรือการร่วมทำเวิร์คช้อปกับชุมชน เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ในโลกที่เผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมหรือเศรษฐกิจก็ตาม กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยหรือมีความเปราะบางทางสังคมจะได้รับผลกระทบก่อนเป็นกลุ่มแรกเสมอ พื้นที่กิจกรรมนี้จึงตอกย้ำความตั้งใจที่ว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถก้าวไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อม และผู้คนในสังคมได้อย่างยั่งยืนโดยไม่จำเป็นต้องทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงาน SustainAsia Week 2024 ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ รวมกว่า 15,000 คน จาก 55 ประเทศทั่วโลก เปิดโอกาสให้เกิดการเจรจาขยายเครือข่ายทางธุรกิจ และแสดงศักยภาพของประเทศไทยในตลาดพลังงานเพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก

.

ติดตามความเคลื่อนไหว และไม่พลาดโอกาสเชื่อมต่อทางธุรกิจและความร่วมมือกับผู้นำด้านพลังงานและความยั่งยืน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และดูรายละเอียดการจัดงานเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.setaasia.com www.SolarStorageAsia.com และ www.sustainasiaweek.com

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9670000054287