Asst. Prof. Dr. HELMUT JOSEF DURRAST อาจารย์ประจำหลักสูตรฟิสิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาค คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการได้ติดตามข้อมูลและเฝ้าระวังสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เผยข้อมูลที่น่าเป็นห่วงในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นค่า PM 2.5 สูงเข้าขั้นวิกฤต ในพื้นที่จังหวัดสงขลารวมถึงภาคใต้ตอนล่าง โดยได้เผยข้อมูลสำคัญจากการติดตามเรดาห์ตลอด 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ชี้ฝุ่นควันการเผาไหม้จากบริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นปัจจัยสำคัญ พร้อมแนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้ประชาชนให้ป้องกันอันตรายจาก PM 2.5 ให้เตือนประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาและภาคใต้ตอนล่าง งดออกกำลังการกลางแจ้งเฝ้าระวังผู้สูงอายุควรสวมหน้ากากอนามัย โดยจากการเก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา จากเรดาห์ย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลาพบค่า PM 2.5 ที่ 80 และสูงสุดอยู่ที่ 153 ซึ่งถือว่าเข้าขั้นวิกฤต รวมถึงเรดาห์บริเวณพื้นที่คอหงส์ พบ ค่า PM 2.5 ที่ 87 และสูงสุดอยู่ที่ 178 ซึ่งแรงลมมีผลต่อสำคัญต่อสภาพอากาศ โดยเมื่อดูข้อมูลรวมของเดือนกรกฎาคม จะเห็นว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น คุณภาพอากาศจากข้อมูลจะอยู่ในโซนสีแดง ซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกเตือนประชาชนในพื้นที่

.

ทั้งนี้ Asst. Prof. Dr. HELMUT JOSEF DURRAST ได้กล่าวพร้อมข้อมูลเรื่องลม จะเห็นจากการเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา ว่าในช่วงนี้ แรงลมพัดจากทางประเทศอินโดนีเซีย ผ่านอ่าวไทยไปทางใต้ตอนบน เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากเรดาห์ จะเห็นชัดเจนว่าภาคใต้ตอนล่างนั้น ลมพัดน้อย ปริมาณการระบายออกของ PM2.5 ยังคงอยู่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อประชาชน ซึ่งปริมาณฝุ่นควันในโซนสีแดง เราสามารถสังเกตใต้ผ่านสายตา ซึ่งจากการได้ถ่ายภาพมุมสูงจากเขาเล่ จุดชมวิวมุมสูง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาในช่วงเที่ยงของวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา ปริมาณหมอกควันสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าและเข้าขั้นวิกฤต ซึ่งต้องเฝ้าระวังแรงลม และสภาพอากาศ ทุก ๆ ระยะ ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่าวิกฤตดังกล่าวจะบรรเทาลงได้ในช่วงเวลาใด เนื่องจากตัวแปรสำคัญคือ การเผาไหม้จากบริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

.

โดยผลกระทบการเผาไหม้จากบริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งกระทบไปยังประเทศมาเลเซีย และ สิงคโปร์ เนื่องจากช่องโหว่ด้านกฎระเบียบทำให้ยากสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะลดการจุดไฟเพื่อแผ้วถางพื้นที่เกษตรกรรมของอินโดนีเซีย โดยจากการเก็บข้อมูลในหน่วยงานรัฐบาลที่ได้รับผลกระทบพบว่า ไฟดังกล่าวได้เผาพื้นที่หลายล้านไร่ในอินโดนีเซีย และส่งหมอกควันปกคลุมหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นประวัติการณ์

.

​ด้าน Asst. Prof. Dr. HELMUT JOSEF DURRAST แนะนำให้ประชาชนเฝ้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าว ผ่านทางเว็บไซต์ https://waqi.info/ ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อประเมินคุณภาพอากาศในแต่ละวัน

.

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9670000063258