“สวนปะการังใต้ทะเล” หรือ “underwater garden” ที่เเสนสวยงามแห่งนี้ ค้นพบโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลีย และตั้งอยู่ลึกลงไปใต้ทะเลถึง 2 กิโลเมตร นี่เป็นการค้นพบขณะที่ทีมงานออกไปสำรวจท้องทะเลเพื่อการวิจัยนอกชายฝั่งทางใต้ของแทสมาเนีย

บริษัทในสเปนเปิดตัวรองเท้าแบบใหม่เพื่อแวดล้อม ผลิตจากใบของผลไม้ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งหมายความว่ารองเท้าคู่ต่อไปของคุณ อาจทำมาจากใบสัปปะรดก็เป็นได้

บริษัท Ananas Anam ในสเปน ใช้เวลา 8 ปีในการวิจัยสิ่งทอชนิดใหม่ที่ผลิตจากใบสับปะรด โดยตั้งชื่อว่า Pinatex
คุณคาร์เมน ไฮโฮซ่า ผู้ก่อตั้งบริษัท Ananas Anam กล่าวว่า Pinatex คือวัสดุสิ่งทอแบบใหม่ที่ผลิตจากเส้นใยของใบสับปะรด ซึ่งปกติแล้วใบสับประรดนั้นจะถูกทิ้งเป็นของเหลือใช้หลังจากเก็บเกี่ยวผลสัปปะรดไปแล้ว
คุณคาร์เมน ร่วมมือกับเกษตรกรผู้ปลูกสัปปะรดในฟิลิปปินส์ เพื่อนำใบสับปะรดที่เหลือทิ้งมาสกัดเอาเส้นใยออกมา ซึ่งเส้นใยนั้นจะมีความเหนียว แข็งแรง และยืดหยุ่นสูง
Pinatex เริ่มเปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2015 และได้ถูกนำไปใช้โดยบริษัทผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มต่างๆ ราว 500 แห่ง รวมทั้งบริษัทแฟชั่นชื่อดังอย่าง Hugo Boss ที่นำไปผลิตเป็นรองเท้ากีฬาจากเส้นใยพืช
คุณ ทิมโมธี เทอร์เนอร์-ซัตตัน ผอ.ฝ่ายออกแบบของบริษัทเสื้อผ้า อัลเทียร์ (Altiir) บอกว่า ลูกค้าที่เห็นผลิตภัณฑ์ใหม่จากเส้นใยพืชนี้ต่างแสดงความสนใจในรูปลักษณ์และเอกลักษณ์ของรองเท้ารุ่นใหม่นี้ ซึ่งดูภายนอกเหมืองกับหนังสัตว์ แต่เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้ว่าแตกต่างไปจากหนังธรรมดา
คนที่เคยสวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่ผลิตจาก Pinatex บอกว่าเสื้อผ้าที่ผลิตจากวัสดุนี้ยังเข้ารูปแม้ผ่านไปนานนับปี และยังแห้งเร็ว ทำความสะอาดง่ายเหมือนหนังสัตว์ นอกจากนี้ยังเป็นการนำขยะเหลือทิ้งไปใช้ทางการเกษตร แทนที่จะต้องใช้หนังสัตว์จริงๆ หรือหนังเทียมที่ต้องใช้กรรมวิธีการผลิตซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
โดยทางบริษัทมีแผนจะขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆ รวมถึง ตลาดเฟอร์นิเจอร์ และเบาะรถยนต์ด้วย

ที่มา : Voice of America 02  มกราคม 2562  [https://www.voathai.com/a/pineapple-clothing/4725224.html]

กลุ่มสื่อจีน รายงาน (24 ธ.ค.) พบกระบวนการที่ทองแดง เมื่อถูกเผาไหม้ด้วยแก๊สอาร์กอนจะสร้างอนุภาคที่มีคุณสมบัติคล้ายกับทองคำ

กระแสความตื่นตัวของคนทั่วโลกเกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติกมาแรงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ และคำหนึ่งที่มักได้ยินคู่กันมาตลอดก็คือคำว่า Single-use plastic หรือพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งกลายเป็นเป้าหมายหลักของการรณรงค์เพื่อลดปริมาณการใช้