การตรวจหาเชื้อซาลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ดิบ เป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกเนื้อไก่ในยุคปัจจุบัน ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเกณฑ์มาตรฐานเนื้อไก่ของกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ที่หลายประเทศใช้ในปัจจุบัน ระบุว่าหากตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลาแม้เพียงเซลล์เดียว ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ดิบทั้งหมดในตู้คอนเทนเนอร์นั้นจะต้องถูกส่งกลับ และอาจส่งผลให้โรงงานต้องหยุดสายการผลิต เพื่อฆ่าเชื้อทำความสะอาด และจะต้องผ่านการตรวจเพื่อรับรองจากหน่วยงานที่รับผิดชอบจนแน่ใจ จึงจะสามารถเริ่มการผลิตได้อีกครั้ง ซึ่งนั่นถือเป็นความสูญเสียของผู้ประกอบการแต่ละราย และอาจรวมถึงความเชื่อมั่นของคู่ค้าและภาพลักษณ์ของประเทศต่อผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ของไทยในภาพรวม

เมื่อจักรวาลหรือเอกภพถือกำเนิดขึ้นใหม่ ๆ หลังเหตุการณ์บิ๊กแบงเพียง 1,000 ล้านปี ห้วงเวลาในขณะนั้นเดินไปข้างหน้าอย่างเชื่องช้ากว่าการเดินของเข็มนาฬิกาในปัจจุบันถึง 5 เท่า

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) หรือ คณะวิทย์ มธ. ห่วงสถานการณ์ ‘ขยะอาหาร’ (Food Waste) ในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่อเข้าขั้นวิกฤติและอาจเริ่มส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยผลการศึกษาพบ 2 ปัจจัยสำคัญสร้าง ‘ขยะอาหาร’ (Food Waste) คือ การสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการบริโภคไม่หมดจนต้องทิ้ง ชี้ ‘ธุรกิจบุฟเฟต์’ มีโอกาสทำให้เกิดขยะอาหาร จากการเตรียมอาหารปริมาณมากเพื่อดึงดูดลูกค้า แต่มากเกินความต้องการและเหลือทิ้งในที่สุด พร้อมแนะ 4 แนวทางลด ‘ขยะอาหาร’ (Food Waste) คือ 1. ลดความยาวของห่วงโซ่อาหาร 2. เพิ่มคุณประโยชน์ให้อาหารที่ใกล้เป็นของเสีย 3. การนำขยะอาหารไปใช้ให้เกิดคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มขึ้น 4. การกำจัดทิ้งอย่างถูกวิธี ขณะเดียวกัน คณะวิทย์ฯ มธ. เร่งส่งเสริมคนรุ่นใหม่ เข้าถึงโอกาสของ Future Trend ด้านอาหาร ซึ่งเป็นแนวทางอาชีพที่กำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้น ตอบโจทย์ยุคที่ประชากรโลกต้องการเข้าถึงความมั่นคงทางอาหาร และการจัดการของเหลือจากอาหารได้อย่างยั่งยืน เนื่องในเดือนสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมโลก

กระทรวง อว.จัดตั้ง Thai University Consortium (TUC) ขับเคลื่อนระบบลายมือชื่อดิจิทัล - รองรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มอบ ประกาศนียบัตร Digital ID by TUC-CA Ready Award แก่หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา 114 แห่ง