APTOPIX Virus Outbreak Long COVID

ระหว่างที่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกทะลุ 500 ล้านคนทั่วโลกนับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรก สร้างความกังวลถึงภาวะอาการโควิดระยะยาว หรือ Long Covid ในกลุ่มผู้ติดเชื้อ

.

ล่าสุดการศึกษาชิ้นล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet เมื่อวันพฤหัสบดี พบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ราว 1 ใน 8 คน มีอาการโควิดระยะยาว หรือ Long Covid อย่างน้อยหนึ่งอาการ ซึ่งเป็นการวิจัยชิ้นแรกที่มุ่งศึกษาผลระยะยาวจากโควิด-19 และยังเป็นการวิจัยชิ้นสำคัญที่ศึกษาผลกระทบในกลุ่มผู้ไม่ติดเชื้อด้วย

.

ทีมวิจัยสอบถามชาวเนเธอร์แลนด์ว่า 76,400 คน ให้กรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะอาการโควิดระยะยาว 23 อาการ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2020 ถึงเดือนสิงหาคม 2021 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละรายจะต้องส่งข้อมูลต่อเนื่องถึง 24 ครั้ง

.

ในช่วงระยะยาวดังกล่าว มีผู้ที่อยู่ในการสำรวจมากกว่า 4,200 คน ที่พบติดโควิด-19 คิดเป็น 5.5% และมากกว่า 21% ในกลุ่มผู้ติดเชื้อในการสำรวจนี้ มีอาการโควิดระยะยาวอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ในระยะ 3-5 เดือนหลังจากพบติดเชื้อโควิด-19

.

อย่างไรก็ตาม เกือบ 9% ในการสำรวจ ซึ่งไม่พบติดโควิด-19 กลับพบกลุ่มอาการ Long Covid เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน นั่นเท่ากับว่า 1 ใน 8 หรือประมาณ 12.7% ของผู้ที่ติดโควิด เผชิญกับภาวะอาการ Long Covid ในระยะยาว

.

นอกจากนี้ ในการวิจัยนี้ยังเก็บข้อมูลอาการผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังติดเชื้อ เพื่อให้นักวิจัยสามารถระบุได้ถึงจุดเชื่อมโยงของอาการที่เกี่ยวกับโควิด-19 ได้

.

ในการศึกษานี้ พบว่า กลุ่มอาการทั่วโลกของ Long Covid ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปวดกล้ามเนื้อ สูญเสียการได้กลิ่นและรู้รส รวมทั้งภาวะเหนื่อยล้าอ่อนแรง อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานี้ ยังไม่ได้รวมถึงกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งเดลตา และโอมิครอน

.

อแรนกา บัลเลอร์ริง จาก Dutch University of Groningen ผู้เขียนวิจัยนี้ บอกว่า ภาวะโควิดระยะยาวเป็น “ปัญหาเร่งด่วนกับยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น” เมื่อดูจากภาวะอาการของกลุ่มที่ไม่พบติดเชื้อในการสำรวจ กับกลุ่มที่ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เราสามารถอธิบายอาการที่อาจเป็นผลมาจากโรคไม่ติดต่อทางสุขภาพอันเกี่ยวเนื่องกับโรคระบาด เช่น ความเครียดที่เกิดจากข้อจำกัดด้านสาธารณสุขและความไม่แน่นอนต่าง ๆ ได้

.

ซึ่งจูดิธ รอสมาเลน ผู้เขียนวิจัยอีกราย แนะว่า การศึกษาวิจัยที่ต่อยอดเกี่ยวกับภาวะอาการ Long Covid ควรพิจารณาปัจจัยอาการด้านสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล ภาวะสมองล้า ล้า หรือ brain fog นอนไม่หลับ และภาวะเหนื่อยล้าไม่สบายตัวหลังออกแรงเพียงเล็กน้อย

.

ด้านคริสโตเฟอร์ ไบรท์ลิงก์ และเรเชล เอแวนส์ ผู้เชี่ยวชาญจาก Leicester University ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้ บอกว่าการศึกษานี้เป็นก้าวย่างที่สำคัญจากการวิจัยภาวะ Long Covid ชิ้นก่อน ๆ เพราะมีการศึกษาถึงผลกระทบด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ที่ไม่ติดเชื้อเข้าไปด้วย

ที่มา : voathai https://www.voathai.com/a/long-covid-symptoms-affect-1-in-8-study-suggests-/6688882.html