จากกระแส “พายุหมุนเขตร้อนโนรู” ที่กำลังพัดผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระดับพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรง และกำลังจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย ด้วยความเสียหายจากปริมาณน้ำฝนและลมที่กระโชกแรง จึงทำให้ผู้คนให้ความสนใจในเรื่องพายุหมุนเขตร้อนกันมากขึ้น และด้วยความรุนแรงของพายุและผลกระทบที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน Science MGROnline จึงขอไปทำความรู้จักกับพายุหมุนเขตร้อนผ่านภาพวาด ที่สามารถเข้าใจถึงการเกิด ระดับความรุนแรง และชื่อเรียกพายุต่างๆ กัน

.

“พายุหมุนเขตร้อน” คือคำทั่วๆ ไปที่ใช้สาหรับเรียกพายุหมุนที่เกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อนบริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาพที่เจริญเติบโตเต็มที่จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่นักประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป

.

ความรุนแรงพายุขึ้นกับอัตราลดความกดอากาศและความเร็วลม ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้จัดแบ่งประเภทพายุหมุน ตามความเร็วใกล้ศูนย์กลางพายุ โดยได้เป็น 3 ประเภท คือ

.

1. ดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางน้อยกว่า 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 34 ถึง 64 นอต (63 ถึง 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

3. พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอร์ริเคน (Typhoon or Hurricane) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 นอต หรือมากกว่า หรือ ตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป

.

นอกจากระดับความรุนแรงของพายุแล้ว พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันตามแหล่งกำเนิด คือ หากเกิดขึ้นในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้ เรียก “ไต้ฝุ่น” (Typhoon) เกิดขึ้นที่ อ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เรียก “ไซโคลน” (Cyclone) เกิดขึ้นที่มหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน เรียก “เฮอร์ริเคน” (Hurricane) ในพื้นที่ทะเลฟิลิปปินส์ เรียก “บาเกียว” (Baguio) และในพื้นที่ทะเลออสเตรเลีย เรียก “วิลลี_วิลลี่” (Willi-Willi)

.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : กรมอุตุนิยมวิทยา / ภาพ : Facebook เตือนภัยพิบัติ (วิชาการ)

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9650000093070