ก่อนหน้านี้ในการสำรวจแม่น้ำบนโลกของเหล่านักวิทยาศาสตร์ ได้มีการค้นพบ แม่น้ำรีอูเนกรู แม่น้ำสาขาฝั่งซ้ายที่ใหญ่ที่สุดของแม่น้ำแอมะซอน ทวีปอเมริกาใต้ ที่มีจุดกำเนิดในประเทศโคลอมเบีย และได้รับการกล่านขานว่าเป็นแม่น้ำสีดำที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ในการสำรวจปัจจุบัน ของ ทีมนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซูริค (ETH Zurich) สวิตเซอร์แลนด์ ได้มีการค้นพบแม่น้ำสายใหม่ที่ดำสนิทยิ่งกว่าถึง 1.5 เท่า

.

แม่น้ำสีดำสนิทนี้ คือ แม่น้ำรูกิ (Ruki River) ที่ไหลพาดผ่านประเทศคองโก ทวีปแอฟริกา ในการสำรวจและเก็บข้อมูล นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า บางช่วงของแม่น้ำรูกิ ที่ไหลใกล้กับเขตเอมบานดากา มีความดำสนิทมาก ถึงขั้นที่เมื่อจุ่มมือลงไปในน้ำ แล้ว ไม่สามารถเห็นมือที่อยู่ตรงหน้าได้

.

สาเหตุที่ทำให้แม่น้ำแห่งนี้มีน้ำสีดำสนิท เนื่องจากระดับของอินทรีย์วัตถุที่อุดมไปด้วยคาร์บอนละลายในน้ำในปริมาณที่สูงมาก โดยมาจากป่าดิบชื้นโดยรอบ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ที่เน่าเปื่อย และซากสัตว์ที่ไหลลงมายังแม่น้ำจนเกิดการหมักหมม ประกอบกับภูมิศาสตร์ที่มีสภาพพื้นที่ตั้งเป็นพื้นดินราบเรียบ ทำให้เมื่อฝนตกน้ำจะขังและหมักหมมสารอินทรีย์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นไปอีก

.

ดร.ทราวิส เดร็ก ผู้นำการวิจัยโครงการ กล่าวว่า แม่น้ำรูกิคือชาป่าตามธรรมชาติที่หมักด้วยพืชที่อุดมไปด้วยคาร์บอน ผลลัพธ์ก็คือน้ำมีสีที่ดำยิ่งกว่า รีแม่น้ำรีอูเนกรู แม่น้ำสาขาของแม่น้ำแอมะซอน ที่ทวีปอเมริกาใต้

.

“สารอินทรีย์จากพืชผักที่ละลายในแม่น้ำแห่งนี้ดูดกลืนแสงสว่าง และยิ่ง (สารอินทรีย์ในน้ำ) เข้มข้นเท่าไหร่ มันจะยิ่งมีสีดำมากขึ้นเท่านั้น”

.

เมื่อถ่ายภาพจากด้านบนจะเห็นว่าน้ำมีสีดำไม่มาก เนื่องจากแสงสะท้อนที่มาจากท้องฟ้า แต่หากไปดูในระยะใกล้จะเห็นว่าสีของมันเข้มมาก และในบางช่วงของแม่น้ำ ก็มืดจนไม่สามารถมองเห็นมือของตัวเองที่จุ่มลงในน้ำต่อหน้าหน้าได้

.

การค้นพบในครั้งนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Limnology and Oceanography ที่ได้เผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า แม่น้ำรูกิมีสัดส่วนเพียง 5% ของลุ่มน้ำคองโก แต่ปริมาณคาร์บอนที่ละลายอยู่ในลุ่มน้ำคองโกทั้งหมด มาจากแม่น้ำรูกิถึง 20% และความมืดของแม่น้ำแห่งนี้ ทำให้แม่น้ำมีระบบนิเวศที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปลาหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งหลายชนิดไม่มีที่ไหนเลย

.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : www.ethz.ch , www-weforum-org.translate.goog FB : Science Think

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9660000114126